NEO MEMORiAL (ภาคการสอบ)
8.8
เขียนโดย สกิลพิมพ์เต่าคลาน
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 20.04 น.
25 ตอน
2 วิจารณ์
23.43K อ่าน
แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 22.16 น. โดย เจ้าของนิยาย
13) ทฤษฏีของเนโอ 1
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความฉันเคยถามครูจูดิธตอนที่เรานั่งทานข้าวด้วยกันว่าระหว่าง 'เหตุผลกับอารมณ์ เราควรให้น้ำหนักกับสิ่งไหน' ครูจูดิธบอกให้กินข้าวให้อิ่มก่อนแล้วเราจะคุยกัน ฉันจึงนั่งกินข้าวไปเรื่อยๆ จนเสร็จ ตอนที่ฉันกำลังดื่มน้ำส้ม เธอหยิบแก้วน้ำมาวางข้างหน้าฉัน และเทน้ำจากขวดลงไปในแก้วใบนั้นและถามว่าฉันจะดื่มน้ำไหม ฉันงงอยู่พักหนึ่งและตอบไปว่า
"ไม่ค่ะ"
เธอนั่งลงและพูดถึงประโยชน์ของน้ำต่อร่างกายให้ฉันฟังและถามอีกครั้งว่าจะดื่มไหม ซึ่งฉันก็ตอบว่าไม่ เธอจึงสาธยายถึงข้อเสียหากร่างกายขาดน้ำและถามอีกครั้ง ซึ่งฉันก็ยังยืนยันว่าไม่ แล้วเธอก็ถามว่าเพราะอะไรถึงไม่ดื่ม ฉันเลยตอบไปว่า
“ไม่อยากค่ะ” พลางมองแก้วน้ำส้มที่อยู่ในมือ
เธอพยักหน้าแล้วก้มไปหยิบถ้วยกระดาษเล็กๆ ที่ถูกเก็บไว้จนเก่ามาจากใต้โต๊ะ ขอบมีรอยแทะสองสามจุด มีคราบเปื้อนนิดๆ หน่อยๆ เธอเคาะเบาๆ ฉันเห็นฝุ่นร่วงลงบนโต๊ะ เธอก็วางมันลงข้างหน้าฉันแทนที่แก้วน้ำ แล้วก็เทน้ำจากแก้วลงในถ้วยกระดาษจนเต็ม เอื้อมมือมาหยิบแก้วน้ำส้มออกจากมือฉัน เธอพูดว่า
"เนโอ เธอบังเอิญถูกขังอยู่ในห้องๆ หนึ่งที่หลังคาเปิดโล่งมาสองวันแล้วและทั้งสองวันแดดก็จัดมาก เผาตัวเธอจนเกือบจะเกรียม เธอรู้ตัวว่าร่างการต้องการน้ำมาก และก็บังเอิญอีกครั้งที่มีน้ำหนึ่งถ้วยวางอยู่ใกล้ๆ เธออยากจะดื่มไหม?" ครูจูดิธชี้มาที่ถ้วยข้างหน้าฉัน ฉันคิดว่าถ้าเหตุการณ์มันเลวร้ายขนาดนั้น ฉันก็ควรดื่ม ฉันโน้มไปข้างหน้าเพื่อมองถ้วยน้ำนั้น
“อยากค่ะ”
ครูจูดิธเอามือกันถ้วยน้ำไว้พลางหัวเราะ
"เดี๋ยวซิ เธอยังไม่รู้เลยว่าน้ำถ้วยนี้เป็นมายังไงน่ะ" ฉันเลยตอบไปทำนองเอาไว้ถามทีหลังก็น่าจะได้ครูจูดิธส่ายศรีษะและชี้ให้ดูคราบเปื้อนและร่องรอยถูกแทะ
"เธอเห็นไหมมันเปื้อน? นี่ก็รอยแทะ นี่อีก นี่ด้วย" เธอทำคอหดและเขย่าตัวเบาๆ ประมาณว่ารับไม่ได้กับความไม่สะอาดของถ้วย ฉันเลยแกล้งทำเป็นโมโหและกำหมัดทุบโต๊ะเบาๆ
"แต่หนูกำลังจะตายนะคะ หนูต้องการน้ำถ้วยนี้"
ครูจูดิธหัวเราะ ฉันก็หัวเราะตาม ครูจูดิธเก็บแก้วน้ำและถ้วยใบนั้นออกไปโดยที่ไม่ได้ตอบคำถามฉัน แต่เธอกลับบอกว่ามันเป็นการบ้านที่ฉันจะต้องไปเขียนเป็นรายงานมาส่ง ฉันจึงนั่งสรุปตามที่ฉันเข้าใจ
ความเป็นเหตุเป็นผลเป็นกระบวนการทางความคิดที่จะส่งผลให้เราตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ ส่วนความรู้สึกจะเป็นตัวกระตุ้นให้เราลงมือทำ ซึ่งบางทีมันอาจจะตรงข้ามกับความเป็นเหตุเป็นผลก็ได้
-กรณีแรก 'น้ำสะอาดหนึ่งแก้ว' ฉันรู้ว่าน้ำนั้นสะอาดและน้ำมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีเหตุผลที่ฉันควรจะดื่ม แต่ฉันไม่กระหาย ต่อให้ครูจูดิธจะบอกว่าน้ำมีประโยชน์มากมายแค่ไหน แต่เนื่องจากความอยากมีค่าติดลบ ผลก็คือฉันไม่ดื่มน้ำแก้วนั้น
-กรณีที่สอง ‘น้ำในถ้วยที่ไม่สะอาด’ ถ้าคิดตามหลักเหตุผล ฉันไม่ควรดื่มน้ำจากถ้วยนั้น เพราะมีโอกาสสูงมากที่น้ำจะถูกปนเปื้อนหรือน้ำไม่สะอาด และคิดต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ว่าฉันอาจจะท้องเสียหรือไม่สบาย เหตุผลร้อยแปดพันเก้าที่สนับสนุนความคิดที่ว่าฉันไม่ควรดื่ม แต่เนื่องจากฉันกระหายน้ำมาก ทำให้ความรู้สึกอยากเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุด สิ่งนี้มีแรงกระตุ้นมากกว่าความเป็นเหตุเป็นผล ส่งผลให้ฉันคว้าถ้วยน้ำนั้นมาดื่ม
นี่คือสิ่งที่ฉันเข้าใจ
"ไม่ค่ะ"
เธอนั่งลงและพูดถึงประโยชน์ของน้ำต่อร่างกายให้ฉันฟังและถามอีกครั้งว่าจะดื่มไหม ซึ่งฉันก็ตอบว่าไม่ เธอจึงสาธยายถึงข้อเสียหากร่างกายขาดน้ำและถามอีกครั้ง ซึ่งฉันก็ยังยืนยันว่าไม่ แล้วเธอก็ถามว่าเพราะอะไรถึงไม่ดื่ม ฉันเลยตอบไปว่า
“ไม่อยากค่ะ” พลางมองแก้วน้ำส้มที่อยู่ในมือ
เธอพยักหน้าแล้วก้มไปหยิบถ้วยกระดาษเล็กๆ ที่ถูกเก็บไว้จนเก่ามาจากใต้โต๊ะ ขอบมีรอยแทะสองสามจุด มีคราบเปื้อนนิดๆ หน่อยๆ เธอเคาะเบาๆ ฉันเห็นฝุ่นร่วงลงบนโต๊ะ เธอก็วางมันลงข้างหน้าฉันแทนที่แก้วน้ำ แล้วก็เทน้ำจากแก้วลงในถ้วยกระดาษจนเต็ม เอื้อมมือมาหยิบแก้วน้ำส้มออกจากมือฉัน เธอพูดว่า
"เนโอ เธอบังเอิญถูกขังอยู่ในห้องๆ หนึ่งที่หลังคาเปิดโล่งมาสองวันแล้วและทั้งสองวันแดดก็จัดมาก เผาตัวเธอจนเกือบจะเกรียม เธอรู้ตัวว่าร่างการต้องการน้ำมาก และก็บังเอิญอีกครั้งที่มีน้ำหนึ่งถ้วยวางอยู่ใกล้ๆ เธออยากจะดื่มไหม?" ครูจูดิธชี้มาที่ถ้วยข้างหน้าฉัน ฉันคิดว่าถ้าเหตุการณ์มันเลวร้ายขนาดนั้น ฉันก็ควรดื่ม ฉันโน้มไปข้างหน้าเพื่อมองถ้วยน้ำนั้น
“อยากค่ะ”
ครูจูดิธเอามือกันถ้วยน้ำไว้พลางหัวเราะ
"เดี๋ยวซิ เธอยังไม่รู้เลยว่าน้ำถ้วยนี้เป็นมายังไงน่ะ" ฉันเลยตอบไปทำนองเอาไว้ถามทีหลังก็น่าจะได้ครูจูดิธส่ายศรีษะและชี้ให้ดูคราบเปื้อนและร่องรอยถูกแทะ
"เธอเห็นไหมมันเปื้อน? นี่ก็รอยแทะ นี่อีก นี่ด้วย" เธอทำคอหดและเขย่าตัวเบาๆ ประมาณว่ารับไม่ได้กับความไม่สะอาดของถ้วย ฉันเลยแกล้งทำเป็นโมโหและกำหมัดทุบโต๊ะเบาๆ
"แต่หนูกำลังจะตายนะคะ หนูต้องการน้ำถ้วยนี้"
ครูจูดิธหัวเราะ ฉันก็หัวเราะตาม ครูจูดิธเก็บแก้วน้ำและถ้วยใบนั้นออกไปโดยที่ไม่ได้ตอบคำถามฉัน แต่เธอกลับบอกว่ามันเป็นการบ้านที่ฉันจะต้องไปเขียนเป็นรายงานมาส่ง ฉันจึงนั่งสรุปตามที่ฉันเข้าใจ
ความเป็นเหตุเป็นผลเป็นกระบวนการทางความคิดที่จะส่งผลให้เราตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ ส่วนความรู้สึกจะเป็นตัวกระตุ้นให้เราลงมือทำ ซึ่งบางทีมันอาจจะตรงข้ามกับความเป็นเหตุเป็นผลก็ได้
-กรณีแรก 'น้ำสะอาดหนึ่งแก้ว' ฉันรู้ว่าน้ำนั้นสะอาดและน้ำมีประโยชน์ต่อร่างกาย มีเหตุผลที่ฉันควรจะดื่ม แต่ฉันไม่กระหาย ต่อให้ครูจูดิธจะบอกว่าน้ำมีประโยชน์มากมายแค่ไหน แต่เนื่องจากความอยากมีค่าติดลบ ผลก็คือฉันไม่ดื่มน้ำแก้วนั้น
-กรณีที่สอง ‘น้ำในถ้วยที่ไม่สะอาด’ ถ้าคิดตามหลักเหตุผล ฉันไม่ควรดื่มน้ำจากถ้วยนั้น เพราะมีโอกาสสูงมากที่น้ำจะถูกปนเปื้อนหรือน้ำไม่สะอาด และคิดต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ว่าฉันอาจจะท้องเสียหรือไม่สบาย เหตุผลร้อยแปดพันเก้าที่สนับสนุนความคิดที่ว่าฉันไม่ควรดื่ม แต่เนื่องจากฉันกระหายน้ำมาก ทำให้ความรู้สึกอยากเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุด สิ่งนี้มีแรงกระตุ้นมากกว่าความเป็นเหตุเป็นผล ส่งผลให้ฉันคว้าถ้วยน้ำนั้นมาดื่ม
นี่คือสิ่งที่ฉันเข้าใจ
คำยืนยันของเจ้าของนิยาย
✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
8.5 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
9 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
9 /10
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ