ยุคันตวาต (ลมสิ้นยุค)
9.4
เขียนโดย PingJa
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 23.49 น.
152 ตอน
11 วิจารณ์
129.41K อ่าน
แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 20.02 น. โดย เจ้าของนิยาย
145)
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ==============================================
วิพากษ์ประวัติศาสตร์...เรื่องจริงเบื้องหลังนิยาย
ตอนที่ ๑๒ ...ศึกเปิดตัวของแม่ทัพภูติพราย...
ปริทรรศน์แรก...เกิดอะไรขึ้นที่เมืองราชบุรีกันแน่?
ผมขอยกเหตุกาณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้มาจากหนังสือ ไทยรบพม่า ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งบรรยายช่วงเวลานี้ไว้อย่างคร่าวๆ คือเมื่อทางกรุงศรีอยุธยารู้ข่าว(ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าจริงหรือปลอม) ว่าทัพพม่าจะยกเข้ามาเสริมทางด่านเจดีย์ ๓ องค์อีกทาง พระเจ้าเอกทัศน์จึงมีราชโองการให้พระยาอภัยมนตรีเป็นแม่ทัพถือกำลังพล ๑๐,๐๐๐ นายยกไปตั้งรอท่าอยู่ที่กาญจนบุรี และเพื่อหยุดยั้งทัพพระเจ้าอลองพญาที่พึ่งจะตีเพชรบุรีแตกไป จึงมีราชโองการให้พระยาพระคลัง(น่าจะพระยาโกษาธิบดี) คุมกำลังพลอีก ๑๐,๐๐๐ ไปตั้งรับอยู่ ณ เมืองหน้าด่านราชบุรี ....(ซึ่งช่วงเวลานี้ต่างจากผมที่ให้ออกญารัตนาธิเบศร์ในว่าที่ออกญายมราชเป็นแม่ทัพ : ซึ่งเหตุผลคือผมชอบความโชคร้ายระดับอีเจี๊ยบของแกจริงๆ)
พักเดียวหลังจากกำลังของพระยาพระคลังและพระยาอภัยมนตรีมาถึง กองทัพหน้าภายใต้การนำของมังฆ้องนรธาก็เข้าประชิดเมือง แต่คราวนี้กองทัพกรุงศรีอยุธยาทำการต่อสู้อย่างสามารถ ถึงขนาดที่กองทัพหน้าของมังฆ้องนรธาเกือบจะแตกพ่ายอยู่รอมร่อแล้ว
แต่งานนี้ถ้าจะเรียกว่าซวยก็คงจะเรียกได้ เพราะก่อนที่กองทัพไทยจะตีกองทัพของมังฆ้องนรธาแตก (ซึ่งหากแตกพ่ายจริง อาจส่งผลให้พระเจ้าอลองพญาตัดสินพระทัยไม่ยกทัพต่อจนกระทั่งประชิดกรุงศรีอยุธยาก็ได้) กองทัพของเจ้าชายมังระกลับยกกำลังพลตามมาถึงทันและผนึกกำลังกับทัพหน้าจนสามารถตีโต้และทำให้ราชบุรีแตกพ่ายและถูกพม่ายึดครองได้ในที่สุด
กองทัพอยุธยาที่เหลือรอดหนีตายไปรวมกันที่สุพรรณบุรี
กองทัพพระเจ้าอลองพญาหยุดยั้งทัพอยู่ในราชบุรีเพื่อเตรียมกำลังพลอยู่ ๔ วัน
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่อไปจากนี้ขอยกไปในตอนถัดไปนะครับ
ปริทรรศน์ที่ ๒ ...ธงมยุราบนพื้นสีเหลือง ตราลัญจกรณ์แห่งอำนาจ
สำหรับผู้ที่เคยอ่านหนังสือ พม่าเสียเมือง ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ จะสังเกตเห็นว่าธงประจำชาติพม่าหรือธงประจำราชวงศ์อลองพญานั้นคือธงรูปนกยูงสีทอง ซึ่งตรานี้คือตราธงนี้คือธงธวัชที่พระเจ้าอลองพญาใช้ตั้งแต่เริ่มประกาศสงครามกับมอญ...ธงธวัชซึ่งสร้างฐานอำนาจอันชอบธรรมให้กับพระองค์
เพราะมันคือธงตราประจำตัวของพระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง ในสมัยที่ยังเป็น จะเด็ด (ชื่อตามนิยายผู้ชนะสิบทิศของยาขอบ) ขุนพลสำคัญของพระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำตะเบงชะเวตี้นั่นเอง
สำหรับเหตุผลที่จะเด็ดในเวลานั้นใช้ตราเป็นนกยูงบนพื้นธงสีเหลืองนั้น ยาขอบผู้แต่งผู้ชนะสิบทิศได้ให้เหตุผลว่า ในเวลานั้นสัตว์ประจำพระองค์ของกษัตริย์พม่าคือ หงส์บนพื้นสีทอง ...ซึ่งแม้ว่าจะเด็ดจะเป็นพี่น้องร่วมสายน้ำนมของทั้งตะละแม่จันทราและพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แต่จะเด็ดก็ยังถือว่าตนเป็นสามัญชน ไม่อาจเอื้อมใช้ตราประจำองค์ของกษัตริย์ได้ แต่ด้วยความถือในศักดิ์ของตน จึงเลือกที่จะใช้ นกยูง ซึ่งมีศักดิ์ต่ำว่า หงส์ แต่มีท่วงท่าสง่างามไม่แพ้กัน และ พื้นสีเหลือง แทน พื้นสีทอง เป็นตราประจำตัวของกองทัพตัวเองแทน
แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่าจะเด็ดได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งแทนที่พระองค์จะเปลี่ยนเป็นหงส์ พระองค์กลับยังคงใช้ตรานกยูงซึ่งเคยใช้ก่อนขึ้นครองราชย์ต่อไป ซึ่งหลังจากการศึกตลอดรัชกาลของพระเจ้าบุเรงนองจนกลายเป็นพระเจ้าชนะสิบทิศ ตรานกยูงพื้นเหลืองดังกล่าวก็กลายเป็นตำนานอันเกรียงไกรที่แม้แต่พระเจ้าอลองพญาเองยังต้องใช้ตราดังกล่าวเพื่อสร้างความชอบธรรมและความน่าเกรงขามให้กับพระองค์เองจนสามารถรวมพม่าและขับไล่มอญออกจากแผ่นดินจนสิ้นชาติในที่สุด
หลังจากรวมชาติพม่าสำเร็จ ตราธงมยุราจึงกลายเป็นตราประจำชาติของพม่าและตราประจำราชวงศ์อลองพญาสืบมา จนกระทั่งพม่าและราชวงศ์อลองพญาสิ้นชื่อลงอีกครั้งด้วยน้ำมือของกองทัพอังกฤษ ในรัชสมัยของ พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ของไทยนั่นเอง...
...ในขณะที่พม่าไม่อาจไหลตามความก้าวหน้าของโลกที่กำลังหมุนไปอย่างไม่หยุดยั้งได้ พระมหากษัตริย์ไทยกลับทรงมองการณ์ไกล ไม่เพียงแค่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม แต่ยังทรงพยายามสร้างมิตรกับประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น จนกระทั่งประเทศไทยรอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของเหล่าเจ้าอาณานิคมมาได้ ซึ่งมีเพียง ๒ ประเทศเท่านั้นที่ทำได้ นั่นคือประเทศญี่ปุ่นที่ปิดประเทศไม่คบค้ากับชาวต่างชาติมาตั้งแต่แรกแล้ว...กับประเทศไทยเท่านั้น...
...ขอกราบคารวะในพระปรีชาสามารถของพระองค์และบูรพกษัตริย์ไทยทุกพระองค์...
.........................................
ปัจฉิมลิขิต
สำหรับผู้ที่อ่านในตอนนี้อาจจะสงสัยว่าเมื่อก่อนมันไม่มีไอ้ตอนอะไรแบบนี้นี่หว่า ผมของอธิบาย ณ ช่วงนี้ว่าหลังจากที่ผมได้ย้อนอ่านนิยายของตนเอง การที่มีปัจฉิมลิขิตในทุกๆตอนแม้ว่าจะเป็นการอธิบายประวัติศาสตร์แต่มันก็ทำให้การอ่านนิยายขาดตอนไป ยิ่งสำหรับผู้อ่านใหม่ซึงอ่านแบบรวดเดียวไม่ได้ตามอ่านทีละตอนมันจะทำให้อารมณ์สะดุดและทำให้บางคนอาจเลือกที่จะข้ามปัจฉิมลิขิตไปเลย ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์หลักของนิยายเรื่องนี้...และผมก็ยังมองถึงโอกาสที่หากนิยายเรื่องนี้ได้มีโอกาสตีพิมพ์ ผมก็นึกสภาพการแทรกปัจฉิมลิขิตตอนท้ายตอนแต่ละตอนไม่ออกเหมือนกัน ...ผมจึงขอเปลี่ยนการเขียนปัจฉิมลิขิตเสียใหม่ โดยรวม ๔ ตอนย่อยซึ่งคือ ๑ ตอนหลักมาเป็นบท วิพากษ์ประวัติศาสตร์ ในตอนท้ายบทเสียเลย ซึ่งในตอนเช่นนี้ผมจะขอยกเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ตามที่บันทึกไว้ในพงศาวดาร และเกร็ดความรู้ในเกี่ยวกับตอนดังกล่าวแบบเน้นความจริงล้วนๆมันซะเลย...
...ในบทวิพากษ์ประวัติศาสตร์นี้ ผมเองก็ไม่อาจจะพูดยกหางตัวเองได้ว่าเป็นเอตทัคคะในทางประวัติศาสตร์ ผมเพียงแค่พยายามหาข้อมูลในจากทุกๆแหล่งมา ซึ่งผมก็ยอมรับ ณ ตรงนี้เลยว่าผมก็อาจจะผิดพลาดได้ ซึ่งผมคงต้องขอร้องท่านผู้อ่านทุกท่านว่าถ้าหากมีส่วนใดที่ผมผิด ขอความกรุณาทุกท่านได้เอ่ยเตือนผมในตอนนี้หรือทุกๆตอนได้ทันทีโดยอย่ากลัวว่าผมจะโกรธหรือเสียหน้า เพราะไม่มีคำว่าเสียหน้าสำหรับความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นแน่นอน
สำหรับสิ่งที่ผมผิดซึ่งเขียนไปแล้วในนิยายเรื่องนี้ อาจจะด้วยความเลินเล่อหรือความด้อยความรู้ของผมเอง...ถ้าหากอยู่ในวิสัยที่ยังสามารถแก้ไขได้ ผมจะทำการแก้ไขทันที...แต่ถ้าหากแก้ไขไม่ได้ อาจจะด้วยเพราะกระทบกับเส้นเรื่องหลักที่ผมวางไว้ หรือเพราะเป็นความผิดพลาดในบทก่อนๆจนไม่อาจจะแก้ไขได้แล้ว ผมจะเขียนกำกับไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของท่านผู้อ่านทุกคน
ขอบคุณครับ
LanzaDeLuz
.............................................
" "
คำยืนยันของเจ้าของนิยาย
✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
9.7 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
9.3 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
9.1 /10
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ