โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ มีอาการอย่างไร และโรคนี้สามารถพบได้กับใครมากที่สุด
ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เคยได้ยินในเรื่องของโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอย่างดี เพราะว่าโรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่สามารถพบได้มากที่สุดในกลุ่มของผู้สูงอายุ โดยที่คนในบ้านมักจะได้ยินผู้สูงอายุบ่นอยู่บ่อยๆว่าปวดขา ปวดเข่า แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้น มันสามารถส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุและบอกวิธีการรักษาให้กับคุณได้ทราบกัน
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุคือ โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของข้อเข่า และข้อเข่ามีการสึกหรอของกระดูกอ่อนที่ข้อตามช่วงอายุ หรือในบางรายอาจจะเกิดมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น คนที่มีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์ไปมาก คนที่มีการใช้งานของข้อเขาที่หนักเกินไป คนที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือคนที่มีโรคประจำตัวอื่นๆเป็นต้น
โดยอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุจะสามารถพบในผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่มีอาการปวดข้อเข่า ซึ่งอาการปวดนั้นหากปวดรุนแรงก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดการอักเสบภายในบริเวณของข้อเข่าได้ และยิ่งถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่ยอมมาทำการรักษาก็อาจจะมีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมและอาจทำให้เกิดความเสียหายของข้อเข่าได้เช่นกัน
อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักจะเริ่มมีอาการมาจาก การที่ผู้สูงอายุเริ่มมีการปวดเข่าในขณะที่ได้ทำการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเดิน ขึ้นลงบันได นั่งยองๆ หรือนั่งขัดสมาธิเป็นเวลานานๆ จึงทำให้คนที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมักจะไม่สามารถทำการนั่งพับเพียบได้ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมาในบางครั้ง หรือในบางคนอาจมีอาการเข่าทรุดลงไปในขณะที่เดิน เพราะมีอาการปวดเสียวในเข่า
1. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะแรก
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุในระยะแรกนั้น ผู้สูงอายุจะเริ่มมีการสูญเสียกระดูกอ่อนเพียงเล็กน้อย และผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตึงที่บริเวณหัวเข่า เมื่อได้ทำการขยับร่างกาย มีการเปลี่ยนท่าทางหรือมีอาการตึงหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า โดยระยะเวลาของอาการตึงจะไม่เกิน 30 นาที
2. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะปานกลาง
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุในระยะที่สามหรือระยะข้อเข่าเสื่อมปานกลาง ในส่วนของบริเวณกระดูกอ่อนจะเริ่มมีการสึกกร่อน หลุดร่อน ผิวไม่เรียบเหมือนเมื่อก่อน มีอาการของรอยแตกเป็นส่วนๆ และมีการเกิดกระดูกงอกขนาดใหญ่ มีเสียงของข้อเข่าเมื่อเวลาขยับร่างกายดังมากยิ่งขึ้น มีอาการเจ็บและขัดเมื่อได้ทำการเดิน ในระยะนี้จะมีอาการของข้อเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อเข่ามีการยืดและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงที่ลดลง มีข้อเข่าฝืดและแข็งมากยิ่งขึ้น
3. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะรุนแรง
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุในระยะที่สี่หรือระยะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง กระดูกอ่อนถูกทำลายไปเกือบหมดกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแรงลง และยังมีช่องว่างระหว่างข้อแคบชิดจนติดกันเกินไป จึงทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการที่เจ็บปวดของเข่ามาก มีข้อเข่าที่ผิดรูปและมีข้อเข่าที่หลวมมาก ข้อติดมีความแข็ง จึงทำให้ได้มีการจำกัดการ เคลื่อนไหวของร่างกายผู้ป่วยทั้งด้านงอและเหยียด จึงทำให้ผู้ป่วยเดินลำบากและอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการหกล้มได้ง่าย
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนั้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้ผิวของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าเสื่อมสภาพลงและมีการสึกหรอลง มีดังนี้
- อายุที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น สาเหตุแรกที่เห็นได้ชัดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ คือ คนไข้มีอายุที่เพิ่มมากขึ้น พออายุเพิ่มมากขึ้นผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่านั้นจะมีการเสื่อมสภาพลง รวมไปถึงการสึกหรอจากการใช้งานของข้อเข่าอีกด้วย จึงส่งผลทำให้มักพบโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุได้มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย
- น้ำหนักตัวที่เกินกว่าเกณฑ์ สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวที่เกินกว่าเกณฑ์ ก็สามารถทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ง่ายถึงแม้ว่าจะมีอายุที่น้อยก็ตาม เพราะข้อเข่าของคนที่มีน้ำหนักมาก จะทำให้ข้อเข่าต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น และทำให้ผิวของกระดูกอ่อนที่ข้อได้รับการเสียดสีกันมากกว่าเดิม
- กิจวัตรประจำวัน นี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ใครหลายๆคนมองข้ามไป คือในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจทำให้เกิดแรงกดที่ข้อเข่า ทั้งการเดินขึ้น-ลงบันได มีการยกของหนักอยู่บ่อยครั้ง หรือมีการใช้งานของข้อเข่าเป็นเวลานานมากเกินไป และยังรวมไปถึงการนั่งที่พื้น นั่งพับเพียบ นั่งยอง หรือนั่งแบบย่อเข่าอยู่บ่อยๆ นี้ก็ถือว่าเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้เช่นกัน
- ผู้ป่วยเคยประสบอุบัติเหตุ ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ง่ายกว่าคนที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุมาก่อน โดยเฉพาะคนที่เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณที่หัวเข่า เช่น กระดูกบริเวณหัวเข่าหัก ข้อของเข่ามีการเคลื่อนหลุด กระดูกสะบ้าเข่าหัก และอีกหลายสาเหตุเป็นต้น
- คนที่มีโรคประจำตัว สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วก็ถือว่านี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะคนที่มีโรคเกี่ยวกับข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับข้อเข่าหรือข้ออักเสบอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัวดังกล่าว
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุวินิจฉัยอย่างไร
ในปัจจุบันแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของข้อเข่าเสื่อม โดยทางการแพทย์ได้ทำการวิเคราะห์เกณฑ์และได้ทำการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมาได้ทั้งหมด 5 ข้อดังนี้
1.แพทย์จะทำการชักประวัติของผู้ป่วยและทำการตรวจร่างกาย โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ
- ชักประวัติของอาการปวดข้อเข่า หรือข้อต่อที่นานกว่า 30 นาทีในตอนเช้าหรือไม่
- ผู้ป่วยจะต้องชั่งน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวัดดัชนีมวลกายว่ามีภาวะของโรคอ้วนหรือไม่ ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนลงพุงหรือเปล่า เพราะปัจจัยเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้เช่นกัน
- แพทย์จะทำการสังเกตท่าทางการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยทั้งท่าเดิน การทรงตัว และจะทำการตรวจข้อเข่าของผู้ป่วย โดยแพทย์จะทำการสังเกตจากขนาด รูปร่างของข้อเข่า และแพทย์จะทำการเปรียบเทียบความสมมาตรของเข่าทั้ง2ข้าง และตรวจวัดความผิดรูปของเข่า
2.ทางการแพทย์จะทำการประเมิน โดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยจะทำการประเมินอาการของผู้ป่วย 12 ข้อในระยะเวลา 1 เดือน
3.แพทย์จะทำการประเมินตามกิจวัตรประจำวัน โดยประเมินตามค่าดัชนีบาร์เธล เอดีแอล เพื่อเป็นการประเมินว่าอาการของข้อเข่าที่เสื่อมสภาพลงไป มันส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด
4.จะต้องทำการติดตามผลเพื่อทำการประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และทำการตรวจหาว่ามีส่วนไหนมีความแคบลงหรือไม่
5.ติดตามผลของการตรวจ โดยจะต้องทำการติดตามผล Complete Blood Count จากการที่ได้ทำการตรวจน้ำในไขข้อ (synovial fluid) หรือแพทย์ได้ทำการส่งไปเพาะเชื้อเพื่อเป็นการแยกโรคข้อเข่าอักเสบจากการติดเชื้อโรค หรือโรครูมาตอยด์
วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
ถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะมียาที่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ หรือผู้ป่วยสามารถแก้ไขอาการปวดข้อเข่าเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง แต่การที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน โดยทางการแพทย์ได้มีวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่แพทย์นิยมใช้ในปัจจุบันกันมากที่สุด มีดังนี้
- ฉีดยาสเตียรอยด์ การที่แพทย์ได้ใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ ถือว่าเป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ และวิธีนี้จะนิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบแบบเฉียบพลัน หรือในผู้ป่วยที่ไม่มีการตอบสนองต่อการทานยา โดยการที่ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปนั้นตัวยาจะเข้าไปช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการปวด บวม และแดงได้อย่างรวดเร็ว แต่ว่าการฉีดยาฤทธิ์ของยาจะมีระยะเวลาสั้น เพราะฉะนั้นควรฉีดเมื่อจำเป็นเท่านั้น
- ฉีดPRPหรือ(Platelet Rich Plasma) ที่คนส่วนใหญ่นั้นเรียกว่าการฉีดเกล็ดเลือด เป็นอีกวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ โดยจะนำเลือดของผู้ป่วยมาปั่น เพื่อแยกเกล็ดเลือด และสร้างเนื้อเยื่อ จากนั้นแพทย์จะนำเกล็ดเลือดเข้มข้นที่ได้ทำการฉีดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา ซึ่งวิธีนี้ก็สามารถรักษาอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ แถมยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และมีผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย
- ฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่จะนิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดในระยะแรกจนถึงปานกลาง โดยการที่ฉีดน้ำหล่อเลี้ยงนั้นจะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ เพราะว่าน้ำหล่อเลี้ยงที่ได้ทำการฉีดเข้าไปนั้นจะเข้าไปช่วยเพิ่มความหล่อลื่นให้กับข้อเข่า และจะลดแรงกระแทกบริเวณข้อเข่าได้บางส่วน
- การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่จะเน้นไปในเรื่องของการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อให้ผู้ป่วยได้สามารถพยุงตัวเองได้ เป็นการเตรียมพร้อมรับน้ำหนักของตัวเอง วิธีนี้ถือว่าเป็นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวเข่าให้แข็งแรง และยังช่วยบรรเทาอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุให้ดีมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ดีที่สุด เพราะว่าเป็นการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไปครอบที่เดิมที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผ่าเข่าที่ก้าวหน้าไปมาก และแผลของผู้ป่วยมีขนาดที่เล็ก ใช้เวลาในการผ่าตัดสั้นลง และที่สำคัญไม่ต้องพักฟื้นนานๆ จึงทำให้ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกถึงอาการปวดตามข้อเข่าที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อีกเลย
การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
สำหรับคนที่ยังไม่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ในปัจจุบันก็มีการป้องกันของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุเช่นกัน โดยจะต้องปฏิบัติตัวดังนี้
- ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงท่าทางที่จะต้องทำการงอเข่ามากๆ เช่นการนั่งคุกเข่า การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ เพราะการที่ผู้ป่วยได้นั่งงอเข่ามากๆ จะเป็นการเพิ่มแรงกระทำต่อกระดูกอ่อนที่ข้อมากขึ้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยได้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุไปแล้ว กระดูกที่งอกอยู่รอบๆนั้น ข้อก็จะไปทำการกดเบียดเส้นเอ็น อาจทำให้เกิดเอ็นเข่าอักเสบ ทำให้ข้อมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
- การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆข้อเข่าเล็กน้อย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณหน้าขา จะเป็นการช่วยพยุงข้อเข่าให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
- ผู้ป่วยจะต้องทำการหลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักมาก เพราะการที่ได้ยกของหนักจะเป็นการเพิ่มแรงที่ข้อเข่า เช่นการออกกำลังกายหนักๆ ได้แก่การเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล กีฬาเหล่านี้มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- สำหรับคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอยู่แล้วนั้น แต่ยังไม่ได้มีการผิดรูปไปมากนัก การที่แพทย์ได้ใช้ยากลุ่มQlucosamine นั้นจะมีประโยชน์ต่อข้อเข่าและเป็นการชะลอการเสื่อมของข้อเข่าได้ในระยะยาว และยากลุ่มQlucosamine นี้ไม่มีผลเสียและผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกายแน่นอน
ข้อสรุป
สรุปโดยรวมแล้วโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ได้ยินกันแล้วอาจจะรู้สึกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะต้องเป็นโรคที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ถ้าหากว่าได้ทำการดูแลข้อเข่าเป็นอย่างดีและดูแลอย่างถูกต้อง จะเป็นการช่วยที่ชะลอการเกิดอาการเสื่อมของเข่า และเป็นการยืดอายุของข้อเข่าอีกด้วย แต่ถ้าหากว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดข้อให้รีบทำการพบแพทย์ทันที
และถ้าหากว่าผู้ป่วยมีอาการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่ถึงขั้นรุนแรงแล้ว ควรรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์และทำการพบแพทย์ให้รวดเร็วที่สุด โดยผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์กับทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้