The Slaying Shadow
7.0
เขียนโดย AiPie
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.19 น.
7 บท
0 วิจารณ์
8,616 อ่าน
แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560 23.27 น. โดย เจ้าของนิยาย
1) บทนำ
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความบทนำ
เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยแบ่งออกเป็นสามยุคด้วยกัน สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทุกการกระทำของบรรพบุรุษส่งผลให้มีทุกวันนี้ แล้วเคยคิดไหมว่า หากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้เป็นเหมือนที่เคยศึกษาล่ะ ประวัติศาสตร์ไม่ได้จริงเสมอไป เช่นเดียวกับหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้นๆ เคยเกิดขึ้นจริง เราไม่ได้บอกว่ามันเป็นเรื่องโกหก แต่หากมันถูกกุขึ้นมา แล้วอะไรคือเรื่องจริง คุณควรจะเริ่มสงสัยได้แล้ว อย่างน้อยเราก็จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวกับการท่องจินตนาการในครั้งนี้...เพียงคนเดียว
ในปีพ.ศ. ๒๑๕๐ ซึ่งก็คือสมัยอยุธยา หากแต่ประชากรในนิยายเรื่องนี้ไม่ได้เรียกอาณาจักรของตนเช่นนั้น มันถูกเรียกว่า ‘พุฒภารา’ หรือแปลตรงตัวว่าเมืองที่ถูกพัฒนาแล้ว สิ่งที่ทั้งสองยุคมีเหมือนกันคือการแบ่งชนชั้นวรรณนะ อาจจะต่างกันบ้างตรงชื่อเรียกและบทบาททางสังคม
ชนชั้นที่สูงที่สุดคือ ‘อัฐิเดช’ ซึ่งมีอยู่หลักๆ ห้าตระกูล กระจายออกไปแต่ละบาง ผู้นำที่ได้รับการเลือกจากประชาชนคือ ‘โมกข์’ และหากได้รับการเลือกแล้ว ครอบครัวของเขาก็จะกลายเป็นอัฐิเดชไปโดยปริยาย โมกข์มีหน้าที่ดูแลความสงบสุขของแต่ละบาง เปรียบเสมือนกษัตริย์ในสมัยก่อน ต่างกันตรงที่ไม่ได้มีอำนาจมากขนาดจะสั่งตัดหัวคนได้ ไม่มีการใช้ราชาศัพท์ ไม่มีกฎบณเฑียรบาล มีเพียงกฎหมายของบ้านเมืองที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามเท่านั้น
รองลงมาคือ ‘อารักขศิษย์’ เป็นอีกชื่อหนึ่งของคนที่ทำงานให้บรรดาอัฐิเดชและรับใช้บ้านเมือง พวกเขาอาจไม่ได้รับการนับหน้าถือตาเท่ากับผู้เป็นนาย แต่ก็นับว่ามีอิทธิพลในพุฒภาราไม่น้อย
ต่อมาคือ ‘พลุ่ยชน’ หรือก็คือประชาชนธรรมดาที่ประกอบอาชีพเสรี ฐานะจะพอมีพอกินหรือร่ำรวยก็ขึ้นอยู่กับความฉลาดหลักแหลมและขยันขันแข็งของแต่ละบุคคลหรือครอบครัว
ส่วน ‘พเนตร’ ก็คือพวกเร่ร่อน คนพวกนี้ทำมาหากินอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่ง กินมื้ออดมื้อ หรือถ้าแย่มากก็อาจจะไม่มีอะไรตกถึงท้องเป็นวันๆ
เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยแบ่งออกเป็นสามยุคด้วยกัน สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทุกการกระทำของบรรพบุรุษส่งผลให้มีทุกวันนี้ แล้วเคยคิดไหมว่า หากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตไม่ได้เป็นเหมือนที่เคยศึกษาล่ะ ประวัติศาสตร์ไม่ได้จริงเสมอไป เช่นเดียวกับหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้นๆ เคยเกิดขึ้นจริง เราไม่ได้บอกว่ามันเป็นเรื่องโกหก แต่หากมันถูกกุขึ้นมา แล้วอะไรคือเรื่องจริง คุณควรจะเริ่มสงสัยได้แล้ว อย่างน้อยเราก็จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวกับการท่องจินตนาการในครั้งนี้...เพียงคนเดียว
ในปีพ.ศ. ๒๑๕๐ ซึ่งก็คือสมัยอยุธยา หากแต่ประชากรในนิยายเรื่องนี้ไม่ได้เรียกอาณาจักรของตนเช่นนั้น มันถูกเรียกว่า ‘พุฒภารา’ หรือแปลตรงตัวว่าเมืองที่ถูกพัฒนาแล้ว สิ่งที่ทั้งสองยุคมีเหมือนกันคือการแบ่งชนชั้นวรรณนะ อาจจะต่างกันบ้างตรงชื่อเรียกและบทบาททางสังคม
ชนชั้นที่สูงที่สุดคือ ‘อัฐิเดช’ ซึ่งมีอยู่หลักๆ ห้าตระกูล กระจายออกไปแต่ละบาง ผู้นำที่ได้รับการเลือกจากประชาชนคือ ‘โมกข์’ และหากได้รับการเลือกแล้ว ครอบครัวของเขาก็จะกลายเป็นอัฐิเดชไปโดยปริยาย โมกข์มีหน้าที่ดูแลความสงบสุขของแต่ละบาง เปรียบเสมือนกษัตริย์ในสมัยก่อน ต่างกันตรงที่ไม่ได้มีอำนาจมากขนาดจะสั่งตัดหัวคนได้ ไม่มีการใช้ราชาศัพท์ ไม่มีกฎบณเฑียรบาล มีเพียงกฎหมายของบ้านเมืองที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามเท่านั้น
รองลงมาคือ ‘อารักขศิษย์’ เป็นอีกชื่อหนึ่งของคนที่ทำงานให้บรรดาอัฐิเดชและรับใช้บ้านเมือง พวกเขาอาจไม่ได้รับการนับหน้าถือตาเท่ากับผู้เป็นนาย แต่ก็นับว่ามีอิทธิพลในพุฒภาราไม่น้อย
ต่อมาคือ ‘พลุ่ยชน’ หรือก็คือประชาชนธรรมดาที่ประกอบอาชีพเสรี ฐานะจะพอมีพอกินหรือร่ำรวยก็ขึ้นอยู่กับความฉลาดหลักแหลมและขยันขันแข็งของแต่ละบุคคลหรือครอบครัว
ส่วน ‘พเนตร’ ก็คือพวกเร่ร่อน คนพวกนี้ทำมาหากินอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่ง กินมื้ออดมื้อ หรือถ้าแย่มากก็อาจจะไม่มีอะไรตกถึงท้องเป็นวันๆ
คำยืนยันของเจ้าของนิยาย
✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
7 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
7 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
7 /10
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ