พันดาว

-

เขียนโดย Bush

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 09.01 น.

  6 ตอน
  0 วิจารณ์
  9,153 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2558 11.27 น. โดย เจ้าของนิยาย

แชร์นิยาย Share Share Share

 

5) นวลเจ้าพี่เอย

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

นวลเจ้าพี่เอย คำน้อง เอยล้ำคร่ำครวญ

ถ้อยคำเหมือน..จะชวน ใจพี่ห่วง ครวญคร่ำอาลัย

น้ำตา..อาบแก้ม เพียงแซมด้วยพิศไสว่

แวววับจับหัวใจ เคล้าแสงใต้ งามจับตา

นวล แสงเพชร เกล็ดแก้ว อันล้ำค่า

คล้ายเหมือนแสง..ไฟส่องมา แวววาวชวนชื่นชม

น้ำตา..แสงใต้ หนึ่งใจที่ร้าวระบม

ไม่อาจพรากขวัญภิรม จำใจข่ม ใจไปจากนวล

เพลงน้ำตาแสงไต้ เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" ที่จัดแสดงที่ศาลาเฉลิมไทยเมื่อ พ.ศ. 2487 โดยคณะศิวารมณ์ ประพันธ์ทำนองโดยสง่า อารัมภีร โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเพลงเขมรไทรโยค และเพลงลาวครวญ ผู้ขับร้องคนแรกคือ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์

ตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่าง ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกในลักษณะเดียวกันคือ สิน (ชื่อเดิมของพันท้ายนรสิงห์) เคยแข่งมวยคาดเชือกกับพระเจ้าเสือ โดยที่ไม่รู้ว่าพระองค์ปลอมตัวเป็นชาวบ้าน และเขาได้ทราบในภายหลังเมื่อรับการเรียกตัวเข้ารับราชการ  เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัยแต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา อีกแง่มุมหนึ่ง มีเกร็ดประวัติศาสตร์เล่าว่า พันท้ายนรสิงห์ทราบว่าจะมีพวกกบฏมาดักทำร้ายพระเจ้าเสือ จึงจำเป็นต้องทำให้หัวเรือหักเพื่อมิให้ไปถึงจุดที่กบฏวางแผนเอาไว้ โดยยอมให้ตนเองถูกประหารเพราะเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องถูกประหาร เมื่อพระเจ้าเสือทรงทราบจึงได้ให้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และให้ตั้งศาลขึ้น ณ ที่ดังกล่าว ส่วนเรื่องตามฉบับละครพระเจ้าเสือไม่ยอมประหาร แต่ให้ปั้นรูปปั้นแล้วทำการตัดหัวรูปปั้นแทน ทว่าพันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเพราะจะเป็นการขัดกฎมณเฑียรบาลจึงขอให้ประหาร มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก่อนที่จะประหารพันท้ายนรสิงห์ซึ่งบ้านน่าจะอยู่ใกล้ ๆ แถวนั้นได้กลับบ้านไปล่ำลาภรรยา และพันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารในวันเดียวกัน

ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน


 
ศาลพันท้ายนรสิงห์ ที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน ตั้งอยู่ที่บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาครศาลพันท้ายนรสิงห์ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบ ๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานพันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ  จากบันทึกประวัติศาสตร์อ้างถึงถิ่นฐานเดิมว่าเป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของบรรพบุรุษชาวอ่างทอง จึงได้มีการร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ ขึ้นที่วัดนรสิงห์ ตำบลนรสิงห์อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
 

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ได้มีการจัดการแข่งขันมวยไทยนานาชาติ ชิงแชมป์เข็มขัดพันท้ายนรสิงห์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่จังหวัดสมุทรสาครจากเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ ได้มีการจัดนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ละครเวทีภาพยนตร์,ละครโทรทัศน์หุ่นกระบอกไทย และหนังสือการ์ตูน ละครเวที พันท้ายนรสิงห์ จัดแสดงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 ณ ศาลาเฉลิมไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการอำลา ศาลาเฉลิมไทย นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ นาถยา แดงบุหงา รับบทเป็น นวล และ พิศาล อัครเศรณี รับบทเป็น พระเจ้าเสือ พ.ศ. 2493 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคลได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ที่นำแสดงโดยชูชัย พระขรรค์ชัย ซึ่งเป็นนักมวยไทยที่มีชื่อเสียง มารับบทเป็นพันท้ายนรสิงห์ ร่วมด้วย สุพรรณ บูรณะพิมพ์ชั้น แสงเพ็ญถนอม อัครเศรณี และ สมพงษ์ พงษ์มิตร  ในปี พ.ศ. 2525 บริษัทไชโยภาพยนตร์ได้สร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ในชื่อ พระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์ กำกับการแสดงโดย เนรมิต นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี เป็น พันท้ายนรสิงห์, สมบัติ เมทะนีเป็น พระเจ้าเสือ, อาภาพร กรทิพย์ เป็น นวล ร่วมด้วย พิศมัย วิไลศักดิ์มานพ อัศวเทพส.อาสนจินดาสีเทาสุพรรณ บูรณะพิมพ์จิรศักดิ์ อิศรางกูร พ.ศ. 2543 ละคร พันท้ายนรสิงห์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 นำแสดงโดยธีรภัทร์ สัจจกุล,พิยดา จุฑารัตนกุล,พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง,กมลชนก โกมลฐิติ พ.ศ. 2558 ภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ เขียนบทและกำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล โดยตั้งใจที่จะถ่ายทอดให้ใกล้เคียงกับพงศาวดารมากที่สุด


 

 

คำยืนยันของเจ้าของนิยาย

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา