ระเบียงรัก

-

เขียนโดย Bush

วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 18.06 น.

  8 ตอน
  1 วิจารณ์
  10.88K อ่าน

แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2559 16.21 น. โดย เจ้าของเรื่องสั้น

แชร์เรื่องสั้น Share Share Share

 

2) กมรเตงยอดรัก

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

ท่านใหญ่ หรือหม่อมเจ้าตรีทศ ลักษณ์มันตร์ ท่านนั่งห้อยพระบาทแบบไขว่ห้างบนเก้าอี้หลุยส์แบบฝรั่งเศส ขณะที่ท่านกำลังให้สัมภาษณ์แก่บรรดาสื่อมวลชน ทีวี หนังสือพิมพ์ ทั้งไทยและเทศในมือมีหนังสือพิมพ์หัวภาษาอังกฤษซึ่งท่านมีความสามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว อีกทั้งภาษาฝรั่งเศสท่านยังอ่านได้มาก เรียกว่าท่านมีความรู้หลายแขนง หลายความหมายในคำแสลงท่านทราบเป็นอย่างดี “คนสมัยก่อนไม่โง่อย่าได้คิด...พวกทีมที่มาบูรณาองค์บันทายขอมทั่วไทย เริ่มแต่พิมายนี่ฉันทั้งน้าน....คอยเป็นล่ามให้พวกมัน พวกนายช่างพวกนี้เขมรก็มากนาย ความรู้มันดีกว่าคนไทยเหลือแสนเทียว แต่มันองค์ปราสาทขอมนี่...จำเป็นต้องรบกวนพวกนั้นมัน อืม ท่าทางกว่าจักเสร็จอีกนานละออละเอียดนักหนาเทียวงานศิลป์แบบขอมเค้ามีระบบมีระเบียบมากกว่าไทย...ไอ้อย่างพวกราชวงศ์พระร่วงสมัยสุโขไทย เชียงแสน ลานนา ลำพูนหริภุญไชยนั่นก็ยังไม่ยากไม่หินเท่านี้ นี่แค่...พิมายหรือวิมายปุราที่แรก ไอ้เส้นทางสายปราสาท มันวนซ้ายขวา เหมือนปีกอีเกีย...พญาไวกูณฐ์ ตะวันออก ตีวงอรัญประเทศ ไปอิสานพนมรุ้ง พนมวัน พิมาย วนลงใต้ตีปีกไปเหมือนเส้นทางรถสายเอเชียลงใต้ออกอิสาน...จากพหลโยธิน ปากท่อ มิตรภาพ สุขุมวิท นะเธอ... ออกปากอ่าวเมืองปราณ....เมืองมา...” 
สมัยเก่าก่อนร่อนชะไรคนสยามรู้จักเมืองมาอันเลื่องลือ อาหารแห้ง สินค้าประมง แห อวน เรือกอและ เรือออกทะเลหาปลา หรือตังเก การทำโปะแบบใช้ต้นมะพร้าว เลี้ยงหอยแมลงภู่แบบวิธีธรรมชาติ ปล่อยให้เกาะโปะต้นมะพร้าวเป็นการได้นกสองตัวยิงแค่ปังเดียว....สุดเส้นทางสายปราสาท องค์นครวัด พระนครอังกอร์ นครธม หรือประถมเวียงพระนคร เทวาสถานบูชาพระวิศวกรรมประสิทธิ์ ดุจเมืองแห่งศิวะเทพสรรสร้างเมืองหลวง เวียงบางกอกพระนครกรุงเทพฯ City of Angles…..
เรื่องประหลาดมันมีทุกสถานที่ยิ่งเก่ายิ่งผ่านกาลเวลานาน มันยิ่งขลังยิ่งขรึม ยิ่งมีเรื่องพูดคุยแค่ลมพัดแรงทำให้ใบไม้มีอาการไหวสั่นเสียงดังกราวร่วงลงผืนดิน แค่นั้นก็พูดไปได้ต่างนานา แต่ของจริงมันหนักกว่าเสมอไม่เคยพลาดเลยแม้แต่สักแห่งสักองค์ปราสาทเดียว....
ที่ปราสาทพนมรุ้งทุกคนย่อมรู้เรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อมาของคนโบราณว่า ในช่วงกลางฤดูฝนต้นฤดูหนาวราวสิงหาคมต่อเนื่องกับกันยายน จักมีปรากฏการณ์ธรรมชาติว่ากันว่า มีการมองเห็นแสง หรือ ดวงตะวันที่ส่องผ่านเข้ามาในช่องทวารประตูองค์ปราสาทรุ้ง หรือหลัก หรือองค์ใหญ่ องค์หลวง สำหรับทำพิธีกรรมบวงสรวงบูชาองค์อิสวรเทพ หรือพระศิวะเทพ เรียกว่า ช่วงสัปดาห์หนึ่งเลยทีเดียว ช่วงเมษายนเดือนสี่ย่างเดือนห้าน้ำผึ้งมีมาก ผึ้งมันทิ้งรังหนีน้ำฝน ป่าดิบชื้นทั้งแถบฝนชุกในสมัยก่อน ทิ้งน้ำหวานไว้เต็มรังเทียวแม่ผึ้งงานเอย แถบนั้น มีรังผึ้งอยู่เยอะ กินบริเวณไปจรดเมืองอุบล ทำให้มีการคิดสร้าง ปราสาทผึ้ง ด้วยเทียนไขด้วยไขมันจากรังผึ้งกันมาก กลายเป็นเรียกขาน เวียง ในบริเวณนี้ว่า เจินละ หรือ เจนละ แปลว่า ไขผึ้ง หรือ สีผึ้ง แท้ๆ ไม่ใช่แบบใช้ทำเทียนซึ่งเป็น ไขสังเคราะห์ ที่ใช้จุดสว่างกันในวัดวาอารามเช่นทุกวันนี้.... 
น้ำผึ้ง เดือนห้า ...หวานปานใด ยัง บ่ เทียม แสงแข่งแข อยู่แต่นภา ส่องหล้าสว่างกลางคืนเพ็ญใกล้เปิดศักราชใหม่แบบไทยแท้ “มองลอดช่องประตูเห็นได้ทุกช่อง ไม่ต่างกัน ว่ากันว่าเป็นช่วงสามคืนเจ็ดคืน ไม่ใช่แค่คืนเดียว...”
กลางดึกในปีแรกๆ ของการซ่อมบูรณะองค์ปราสาทพนมรุ้ง ช่วงในราวก่อนปี พ.ศ 2520 เสียงเหมือนคนจำนวนนับร้อยนับพันคน มีเสียงผู้หญิงปะปนกันกับเสียงผู้ชาย คล้ายสวดสรรเสริญบูชาเทพ คล้ายพูดคุยกันสรวลเสเฮฮา ครื้นเครง หยอกล้อ เสียงบรรเลงคล้ายซอ คล้ายตะโพน เสียงภาษาขอมฟังไม่เข้าใจเลยด้วยซ้ำไป....น้ำผึ้งเดือนห้า ฤา จักหวานเท่าภาพที่ฉันเห็นในฝันคืนนั้น....
ร่างสวยของ สาวขอม ตาโตคมขำ ผิวนวลเหลือง ไม่ขาวเหมือนจีน ผมยาวสยาย เดินห่อไหล่คล้ายรอคอยใครสักคน... สักพัก...มีชายหน้าตาดีคมคาย คิ้วเข้ม จมูกใหญ่ แบนแต่พอมีรูปทรงมีดั้งนั่นเอง ผมหยักโศกประบ่าแต่งกายดูรู้ มีฐานันดร มีพระยศ เดินมาเคลียคลอ พูดคุยพร่ำพลอดรักกัน....ฉันเพิ่งเคยฝันแบบนี้แต่ว่าเธอรู้มั้ยว่า คนโบราณ ตามภาพจำหลักกำแพง หรือ จาฤก ต่างๆ ที่ค้นพบ มักมีลักษณะแบบนี้ ผมหยักโศกเรื่องปกติคนเอเชีย จึงเรียกว่า ปลายพระศก (ไรผมตามหน้าผาก ท้ายทอย) ตามอญคมๆ เยี่ยงนี้คนที่โน่นมีเยอะ ฉันเคยเห็นคนเดินถนน พ่อค้าแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง ร้านข้างทางในถนนพนมเปญนี่ละ ผมเค้าก็ยังมีคลื่น ไม่ค่อยเหยียดตรง สมัยนี้เค้ายืดผมกัน มันถึงมองแล้วตรงเป็นเส้น หวีแล้วเรียบ....
คำว่า “กมรเตง” หรือกษัตริย์ เป็นความหมายเดียวกัน ตันไกเทวี มีพระองค์จริงเป็นเมืองหิน ไม่ใช่เมืองฟ้า ขอมผิวเข้มตาคม ปกครองแบบพ่อขุนเมืองสุโขไทย ไม่มีราชาพิธี ราชาศัพท์แสง เรียกว่า ขอมต่ำ ส่วนที่เรียกขอมสูง เมืองพระนคร ฉวีขาว เป็นเจ้าราชาศัพท์ ราชาพิธีต้องเข้มงวด ไม่ยอมให้บกพร่องแม้แต่สักน้อย....
วิวัฒนาการมาเหมือนกันกับสยาม แต่แรกเริ่มมีกรุงสุโขไทย กลายมาเป็นเวียง แบบรวบมาควบกับเวียงอู่ทองบึงพระราม เรียกขานว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา.....ทศพิธราชธรรม มีความหมายเดียวกับคำว่า ตันไก (สิบคุณธรรม) เมื่อพระนครกรุงเก่าแตก มีกรุงเทพธนบุรีศรีมหาสมุทร ต่อมาย้ายฟากข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาเป็น กรุงเทพรัตนโกสินทร์ ชื่อเต็มเคยมีเพลงร้องบรรเลงจนเด็กจำกันได้ขึ้นใจมาแล้วลองค้นหาดู....
นครวัด (angkor wat) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิม นครวัด เป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถาน ถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิครุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติสมัยก่อนสงครามโลกบนพื้นเขียวเหลืองมีภาพนครวัดตรงกลางรอยต่อของสี ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงธงเหลือแค่สีเขียวเหลืองพื้นๆ สองสีต่อกันไม่มีภาพนครวัดอีกต่อไป ส่วนธงที่ปรากฏในเวบต่างๆ บางเวบยิ่งในภูมิภาคอาเซียนหลายธงชาติมองแล้วไม่ทราบว่าทำไมประหลาดล้ำ ธงกัมพูชาไม่เคยมีสีแดงน้ำเงินมีภาพนครวัดเยี่ยงนี้แม้นเปลี่ยนแปลงก็เป็นแค่ที่เล่าให้ฟังนครวัดเองเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกหนึ่งในเจ็ดมหัศจรรย์ภายใต้ชื่อเมืองพระนคร(นครวัด-นครธม)ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวงหรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และปราสาทบายนห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตก คนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก นครธม (Angkor Thom) เคยเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้าย ความเป็นมาอย่าง เมืองละโว้ ที่พระนารายณ์ท่านทรงแปรพระราชฐานมาประทับอยู่ และทรงไม่ยอมไปประทับที่กรุงเก่า นครธมเองแม้สร้างเสร็จก่อนเป็น ปฐมบันทายเทวาสถาน และเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆและที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7และรัชทายาทใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือประตูทางเข้านครธมด้านใต้จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดา ทางด้านซ้าย เรียงราย แบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ อีก 3 ด้าน เขาพนมบาเค็ง (phnom bakheng) เป็นเทวสถานที่สร้างตามลัทธิไศวนิกาย เมื่อราว พ.ศ. 1450 ตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กที่มีความสูงประมาณ 70 เมตร มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า ปราสาท ยโศธระปุระ คือใช้ชื่อของ พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ต่อมา เรียกว่า พนมบาเค็ง ตามลักษณะของต้นไม้ที่คล้ายต้นรัง ต้นไทร มีสายเหมือนรากเป็นเส้นๆ ย้อยห้อยระย้า ห้อยตามกิ่งก้านสาขาของลำต้น ต้นบาเค็งมีอยู่มากในบริเวณภูเขา พนมบาเค็ง หรือวนัมกันตาล เป็นภูเขาใจกลางเมืองยโสธรปุระ เสมือนเขาพระสุเมรุ และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล จำลองลักษณะมาจาก ปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน ตัวปราสาทพนมบาเค็ง รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้น มีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธาน มีศิวลึงค์ ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปี ในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก 
พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้นมีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไป ประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์ เมื่อ พ.ศ. 2059 และจุดเด่นจุดหนึ่งที่น่าสนใจของเขาพนมบาเค็งนี้ คือ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามซึ่งสามารถเห็น ปราสาทนครวัด และบรรยากาศยามเย็น (แลงแปง) ที่มีพระอาทิตย์ตกเป็นภาพที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมกันเป็นอย่างมาก บางคนเรียกย่านท่องเที่ยวบรรยากาศแบบในซอยพัฒน์พงศ์ที่กรุงเทพฯ สีลม ว่า แลงแปงแกมโต๋ว ถนนตรงนั้นถ้าเข้าใจภาษากัมพูชา หรือเขมรสมัยใหม่บ้าง ไม่ต้องมากย่อมเข้าใจว่า หมายถึง สีลมอาเขตร หรือ สีลมสแควร์ เขียนว่า ซ่องลมสแควร์ อ่านไม่ยากเลยครับพี่น้องเอย.. ประเทศกัมพูชามีทะเลสาบน้ำจืดซึ่งเกิดจากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียชื่อว่า “โตนเลสาป” (Tonle Sap) มีแม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 500 กิโลเมตรจากนั้นไหลเข้าสู่เวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ นับว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และเชื่อกันว่าปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาบขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง โตนเลสาบ อยู่ห่างจาก กรุงพนมเปญ ประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาปมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิดศาลพระองค์เจ๊ะขพระองค์จอม (เปรี๊ยะอองเจ๊ะขเปรี๊ยะอองจอม) เปรียบเหมือนศาลหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเสียมเรียบ องค์เจ๊กกับองค์จอม เป็นพี่น้องกัน และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก หลังจากไปทำบุญกลับมาได้นอนหลับไม่ตื่น หลับตายไปแบบ สุบาราฮาย (สบายมากไม่ลำบาก) ความอาลัยต่อทั้งสองคนจึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์องค์ใหญ่นามว่าองค์เจ๊ก องค์เล็กเป็นน้องนามว่า องค์จอม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเสียมราฐ ประชาชนที่นี่ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องสั้น

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา