บันทึกวงศ์โยธาวดี

9.7

เขียนโดย นายเหล็ก

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 13.46 น.

  1 บท
  1 วิจารณ์
  3,143 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558 13.18 น. โดย เจ้าของเรื่องสั้น

แชร์เรื่องสั้น Share Share Share

 

1) พระรามินทร์มหาศรีสุนทร

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

                                      อาณาจักรคชราชย์ มหาอาณาจักรใหญ่ในยุคโบราณเริ่มสถาปนาขึ้นเมื่อ ก.ศ.(กลินธศักราช)ที่1620 พระเจ้าไอยราช มีผู้มีกำลังดังช้างสารสถาปนารัฐคชราชย์ขึ้น พระองค์นำทัพช้างศึก ที่แข็งแกร่งของพระองค์บุกตีขยายอาณาเขตไปทั่ว จนบันนี้ ก.ศ. 1850 รัชกาลพระเจ้าหัสดิธร มีเจ้าชายผู้หนึ่งได้ถือกำเนิดมา เจ้าชายองค์น้อยนั้นเป็นเจ้าชายลำดับที่3 จากบรรดาเจ้าชายโอรสของพระเจ้าหัสติธรทั้งหมด 4พระองค์ 1.เจ้าชายคชินทร์ 2.เจ้าชายอุศรภาคี 3.เจ้าชายรามินทร์ 4.เจ้าชายมโหศัทธา  

                 แต่ละพระองค์ก็มีความสามารถ ต่างกัน คชินทร์เก่งกาจด้านการต่อสู้  อุศรภาคีเก่งกาจด้านในเรื่องของการวางแผนสู้รบ รามินทร์มีชื่อเสียงด้านความเจ้าปัญญา ยุติธรรม และเก่งกาจด้านการบริหารปกครอง มีครั้งหนึ่งรามินทร์ทรงได้รับบัญชาให้ไปดูแลเมืองราชวิธี ปรากฎว่าน้ำท่วมจากแม่น้ำธารวดีทุกปีและทางรัฐก็ไม่ได้แก้ไขในเรื่องนี้เลยเพราะเห็นเป็นเมืองเล็กๆ ให้ประชาชนอพยพขึ้นที่สูงเอง ปีนั้นเกิดน้ำท่วมใหญ่ รามินทร์ได้ทรงเข้าไปช่วยเหลือประชาชน และมีบัญชาให้ขุดคลองขนาดใหญ่ระบายน้ำในแม่น้ำธารวดี ให้ไหลลงสู่มหาสมุทร ปรากฏว่าเมื่อสร้างคลองเชื่อต่อมหาสมุทรแล้ว บรรดาพ่อค้าต่างแวะแวียนกันมาที่เมืองราชวิธีมากขึ้น รามินทร์ยังทรงให้ขยายพื้นที่ทำกินของราษฎร จัดการทำถนนหนทางให้เป้นระเบียบมากขึ้น สุดท้ายเมืองราชวิธีเล็กๆก็กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของคุชราชย์ นำรายได้เข้าสู่ท้องพระโรงมหาศาล เหล่าประชาชนต่างประจักแก่สายตาแล้วว่าเจ้าชายองค์นี้มีพระปรีชายิ่ง

              แต่กระนั้นเหนือฟ้ายังมีฟ้า มโหศัทธานั้นกลับเป็นทั้งผู้มีปัญญา เก่งกาจด้านการสู้รบ และเชี่ยวชาญด้านการวางแผน กล่าวกันว่า เหมือนมี คชินทร์ อุศรภาคี และรามินทร์มารวมกันในตัวมโหศัทธา ทำให้พระเจ้าหัสติธร แต่งตั้งมโหศัทธาขึ้นเป็นรัชทายาท สร้างความไม่พอใจให้กับบรรดาพี่ๆทั้งหลาย โดยเฉพาะ คชินทร์ ผู้เป็นพี่ใหญ่

                   เรื่องนี้มโหศัทธาก็รู้ จึงวางแผนเรียกเหล่าพี่ๆ มากินอาหารที่บ้าน หวังจะวางยาพิษแล้วสังหารเสีย มโหศัทธาได้นำเอายาพิษเคลือบไว้ที่ถ้วยบรรจุเครื่องดื่มของคชินทร์ แต่รามินทร์นั้นสังเกตเห็นคราบแปลกบนภาชนะบรรจุของคชินทร์ รามินทร์จึงแสร้งทำแก้ของคชินทร์ตกแตก เป็นอันว่าแผนการแรกในการสังหารคชินทร์ของมโหศัทธาก็ล้มเหลว

                 ระหว่างการขับเขี่ยวสู้รบทางจิตวิทยาอยู่นั้น พระเจ้าหัสดิธรทรงประชวรและสวรรคตในปี ก.ศ.1868 มโหศัทธาจึงขึ้นครองราชย์แทนเป็น พระเจ้ามโหศัธิราช และสั่งทหารจับตัวพระเชษฐาทั้งสามไปประหารชีวิตเสีย แต่ทว่าสายลับของพระเชษฐาทั้ง3ในเมืองหลวงได้ทราบความนี้และเร่งนำความไปกราบบังคมทูลพระเชษฐาทั้ง3 คชินทร์นั้นเป็นผู้รบเก่ง ไม่ยอมใครง่ายๆ พระองค์ประกาศสงครามกลางเมืองในปีนั้นทันที โดยรวบรวมทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์เตรียมสู้รบกับวังหลวงโดยใช้ โดยนำทัพหนีลงใต้ ไปที่เมืองราชวิธีหลังจากนั้น คชินทร์เขตปราสาทเทพนิมิตรในการตั้งรับต่อสู้ทว่า แม้คชินทร์และพระอนุชาทั้ง2จะเก่งกาจเพียงใด น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ พวกวังหลวงบุกเข้าไปในตัวปราสาท ทั้ง3พระองค์จึงเสด็จหนีลงใต้ไปยังเมืองราชวิธี หลังจากนั้นคชินทร์ก็สถาปนาราชวิธีเป็นเมืองหลวงใหม่ของอาณาจักรคุชราชย์ เตรียมสู้รบกับพระอนุชา ครานั้นเอง ท้าวคชินทร์ตั้ง อุศรภาคีเป้นแม่ทัพ ในรามินทรเป็นมหาเสนาธิการ ยกทัพขึ้นเหนือ 

               การสู้รบเป็นไปอย่างราบรื่น ประชาชนนั้นมาเข้าร่วมกับฝ่ายอุศรภาคีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรู้กิตติศัพท์คุณธรรมของรามินทร์ ในการสร้างสรรค์ความเจริญ ส่วนราชการภายในนครคุชราชย์ก็เริ่มปั่นป่วน เพราะพระเจ้ามโหศัทธิราชแม้จะมีปัญญา แต่ด้อยอาวุโส ไม่เป็นที่เคารพยำเกรง ผลสุดท้ายจึงถูกมหาอำมาตย์สุทธิราชทำรัฐประหารเนรเทศพระองค์ออกจากเมือง แล้วตั้งตัวเป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ใหม่แทนที่ พระเจ้ามโหศัทธิราชหลบหนีมาหาอุศรภาคี ก็กลับถูกต่อว่าด้วยถ้อยคำรุ่นแรง ฆ่าพี่ฆ่าน้อง ผลสุดท้ายพระเจ้ามโหศัทธิราชก็กลายเป็นกษัตริย์ไร้บัลลังก์ จากกรรมที่ตัวเองประทุศร้ายผู้อื่นนั้นเอง

                ข่าวความวุ่นวายในคุชราชย์เริ่มเป้นที่ระแคะระคายในหมู่ประเทศราช เริ่มเอาใจออกห่าง อุศรภาคีเองก็นำทัพขึ้นเหนือเพื่อชิงเมืองหลวงกลับคืนมา แต่ทว่ากองทัพของท้าวอุศรภาคีนั้นอ่อนล้าจากการทำศึก ทหารต่างไม่มีกำลังใจ รามินทร์จึงเสนอให้ท้าวอุศรภาคียกทัพกลับเมืองหลวง เมื่อกลับมาถึงแล้ว อาณาจักรคชราชย์จึงถูกแบ่งเป็นสองทันที คือเมืองเหนือและเมืองใต้ ภายหลังท้าวคชินทร์ทรงเกิดประชวรและสวรรคตในปี ก.ศ. 1870 ท้าวอุศรภาคีก็ขึ้นมาเป็นกษัตริย์และพระองค์ทรงมีแผนที่จะรวมเหนือใต้ จึงทรงนำทัพออกสู้รบเอง แต่พระองค์พลาดท่าถูกลูกศรอาบยาพิษสิ้นพระชนม์ในปี ก.ศ.1871 รามินทร์จึงได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ แต่ทว่าเมืองราชวิธีนี้เป็นเมืองท่า พระองค์อยากให้สร้างเมืองทางการปกครองขึ้นมาใหม่ จึงทรงหาทำเลที่ตั้งริมแม่น้ำ และเป็นที่ราบเพาะปลูกได้ ทรงตั้งราชธานีขึ้นมาว่า "นครโยธาวดี" ทรงเห็นว่าย้ายเมืองแล้ว น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรๆมากขึ้น จึงทรงตั้งราชวงศ์ใหม่นาม วงศ์ศรีสุทรนั้น ทรงเริ่มพัฒนาเศรษกิจของเมืองใต้เป็นสำคัญ 

               รามินทร์ปีที่1 พระองค์วางแบบแปลนสร้างเมืองโยธาวดี โดยให้เจ้าไชยราม ราชบุตร เป็นแม่งานคุมการก่อสร้าง พระองค์ทรงเลือกทำเลติดแม่น้ำ และไม่ห่างจากเมืองราชวิธี ถิ่นอิทธิพลของพระองค์เท่าไรนัก แต่แรกสรา้งเมืองพระองค์โปรดให้ก่ออิฐสร้างกำแพงสูงกว่า 25เมตร มีความกว้างพอที่จะนำปืนใหญ่เข้าประจำป้อม สร้างป้อมปราการขึ้น7ป้อม ขุดคูน้ำลึกล้อมรอบพระนคร คูนั้นกว้าง5เมตร ประชาชนภายในกำแพงเป็นประชาชนที่อพยพมาจากทางเหนือ พระองค์ทรงสนับสนุนให้ประชาชนปลูกไร่ไถ่นา และยังเปิดเสรีทางการค้ากับพวกชาวขาวและชาวฉิง ญิปปง   โคริแย ฯลฯ ทำให้ความเจริญหลั่งไหลเข้ามา ต่างจากนครเหนือที่หลังจากที่อำมาตย์สุทธิราชครองบัลลังก์ กบฎเริ่มลุกฮือ หลายฝ่ายเข้ากับทางใต้เป็นส่วนใหญ่เพราะเป็นเชื้อพระวงศ์เก่า 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องสั้น

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
10 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
10 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
9 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา