ข้อสำคัญควรรู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์

-

เขียนโดย yerin

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.28 น.

  1 chapter
  1 วิจารณ์
  1,520 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565 14.30 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

1) สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อนทำรีเทนเนอร์

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ
ขนาดตัวอักษร เล็ก กลาง ใหญ่ ใหญ่มาก
รีเทนเนอร์ มีกี่แบบ อุปกรณ์ตัวช่วยหลังจัดฟันที่ใครหลายคนรู้จักชัวร์ เพราะอุปกรณ์นี้ต้องใช้หลังการจัดฟัน ตั้งแต่ การจัดฟันแบบโลหะ จนไปถึงการจัดฟันแบบดามอน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันล้ม ฟันเก หรือฟันเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม หลังการรักษาเสร็จสิ้น จำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ต่อไปเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อคงสภาพฟันสวย ๆ  เอาไว้ ว่าแต่..รีเทนเนอร์แต่ละประเภทต่างกันยังไง มีวิธีไหนบ้างช่วยยืดระยะเวลาการใช้งาน มาอ่านด่วนค่ะ
 
1.รีเทนเนอร์คืออะไรสำคัญแค่ไหนใครรู้บ้าง
 
หลายคนรู้อยู่แล้วว่ารีเทนเนอร์คือเครื่องมือที่ใส่หลังจัดฟันซึ่งหน้าที่หลักของเจ้าตัวนี้คือ ทำหน้าที่คงสภาพฟันให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามแบบแผนที่จัดฟันมาแล้วเพราะหลังจัดฟันเสร็จทุกคนที่จัดฟันต้องให้ความสำคัญกับการใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอเป็นอย่างมาก
 
2.ทำไมต้องใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน
 
การที่คนจัดฟันเสร็จแล้วจำเป็นต้องใส่แน่นอน เพราะถ้าหากไม่ใส่ฟันมีโอกาสเคลื่อนตัวกลับไปเป็นแบบเดิมก่อนจัดฟันนั่นเอง รีเทนเนอร์จึงเป็นตัวช่วยรักษาแนวฟันที่เรียงสวยงาม มีการสบฟันที่ดีให้คงที่ตลอดไปค่ะ
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับทำไมส่รีเทนเนอร์เเล้วฟันยังล้มได้ที่นี่
 
3.รีเทนเนอร์มีกี่เเบบ
 
ไหนใครยังไม่รู้บ้างว่ารีเทนเนอร์มีกี่แบบมีมากกว่าแบบเดียวหรือเปล่า ถ้ายังไม่รู้ยกมือขึ้นด่วนค่ะ เพราะว่าความจริงแล้วมีถึง 4 แบบเลยค่ะ จะมีอะไรบ้างนะ มาดูกันเลย
 
รีเทนเนอร์แบบลวด
 

 
ถือว่าเจ้าตัวนี้เป็นที่นิยมที่เราเห็นผ่านตากันบ่อย ๆ เป็นเครื่องมือคงสภาพฟันมีฐานพลาสติกบริเวณเหงือกมีหลากหลายสีสันและสามารถเลือกแบบตามใจชอบได้เช่นสีลวด หรือการออกแบบลวดลายในฐานพลาสติกที่เหงือก จึงไม่แปลกที่คนชอบเยอะสามารถเลือกลายได้ตามชอบ และมีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปีจ้า
ข้อดี คือ ราคาดี เข้าถึงง่าย และดูแฟชั่น และ สามารถซ่อมแซมได้เมื่อแตกหัก
ข้อเสีย คือ ต้องถอดเข้า-ออกเวลาทานข้าวอาจลืมได้ถ้าไม่ระวัง และมีผลต่อการพูดมากกว่ารีเทนเนอร์แบบอื่น ๆ
 
รีเทนเนอร์แบบโลหะ
 

 
เจ้าตัวนี้ไม่พูดถึงคงไม่ได้เพราะมีความทนทานสูง  ให้ความรู้สึกเบา สบายเหมือนไม่ได้ใส่ และดูคลาสสิคและดูโตขึ้นมากว่าแบบลวดค่ะ เพราะเป็นโลหะเดียวกัน ทั้งตัวลวดและฐานเหงือก
ข้อดี คือ มีความทนทาน และ สามารถใส่ทานข้าวได้เลยโดยไม่ต้องถอดออกไม่ต้องกลัวว่า จะลืมไว้ที่ร้านอาหาร
ข้อเสีย คือ ราคาสูงกว่ารีเทนเนอร์แบบลวด 
 
รีเทนเนอร์แบบติดแน่น 
 

 
เครื่องมือคงสภาพฟันตัวนี้จะเป็นแบบติดแน่นโดยจะติดไว้ด้านในของฟัน ไม่ต้องถอดออก เพราะไม่สามารถถอดออกเองได้ ต้องให้หมอฟันถอดออกให้เท่านั้นนะคะ เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการให้คนเห็นรีเทนเนอร์และชอบถอดรีเทนเนอร์แล้วลืมไว้ตามที่ต่าง ๆ แต่การติดต้องขึ้นอยู่กับหมอฟันของเราว่าจะแนะนำแบบไหน
ข้อดี คือ ไม่มีทางหายแน่นอนเพราะติดไปกับฟันของเรา
ข้อเสีย คือ ทำความสะอาดยากกว่าแบบอื่น
 
รีเทนเนอร์แบบใส
 

 
ตัวนี้แอดมินชอบมากเลยค่ะเพราะใส่แล้วมองไม่เห็นแน่นอนเหมาะสำหรับคนที่จัดฟันเสร็จแล้วแต่ไม่อยากให้คนเห็นว่าเรายังใส่รีเทนเนอร์อยู่ นอกจากนี้ออกเสียงได้ง่ายเวลาพูดแน่นอน ค่ะเพราะไม่มีลวด
ข้อดี คือ ออกเสียงชัดเจน มองไม่เห็นเครื่องมือและทำความสะอาดง่ายมาก 
ข้อเสีย คือ ราคาที่สูงกว่าแบบอื่นแต่มีความคุ้มค่าแน่นอนค่ะ
หมดคำถามกันไปแล้วแน่นอนว่ารีเทนเนอร์มีกี่แบบ มีแบบไหนถูกใจบ้างคะ ขอแนะนำว่าให้เลือกตามความชอบได้ แต่ต้องคำนึงถึงเรื่องของราคา และความจำเป็นในการใช้งานด้วยนะคะ อีกเรื่องที่สำคัญเลยคือปัญหาของรีเทนเนอร์ ที่ทุกคนต้องเจอนั่นเองค่ะ 
 
4.ปัญหาการใส่รีเทนเนอร์ที่ต้องเจอ
 
รู้ไหมคะว่า รีเทนเนอร์ ทั้งที่เป็นเหล็กหรือพลาสติก ก็มีส่วนที่เศษอาหารสามารถไปติดค้างได้ โดยหากยิ่งสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ และทำให้เกิดปัญหาฟันผุได้ง่าย ถ้าไม่รักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอก็จะกลายเป็นปัญหากลิ่นปาก จากเชื้อเเบคทีเรียรวมไปถึงรีเทนเนอร์เริ่มมีการเปลี่ยนสีนั่นเองจ้า 
อ่านถึงตรงนี้แล้วรีบมาอ่านการดูแลรักษาและทำความสะอาดว่าทำแบบไหน ถึงจะช่วยคงประสิทธิภาพของเครื่องมือคงสภาพฟันอยู่นานและเหมือนใหม่จะมีวิธีไหนบ้างเอ่ย
 
5.วิธีดูแลรีเทนเนอร์ ดูแลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
 

 
ถอดแล้วควรล้างทันที
วิธีทำความสะอาดรีเทนเนอร์นี้เป็นวิธีการที่ง่ายมากเพียงแค่ล้างโดยถ้าเราถอดรีเทนเนอร์ออกมา ไม่ว่าจะเป็นตอนทานข้าวหรือตอนทานขนมขบเคี้ยว ขอแนะนำว่าให้นำมาล้างทันทีหลังจากถอด เพราะวิธีนี้จะช่วยไม่ให้รีเทนเนอร์มีคราบสกปรกติดแน่น ซึ่งจะส่งผลให้ทำความสะอาดได้ยากนั่นเองจ้า
 
การแปรงรีเทนเนอร์สำคัญมาก
นอกจากการล้างแล้วการแปรงถือว่าสำคัญมากเลยค่ะ เพราะการแปรงเครื่องมือคงสภาพฟันให้ดีก็จะช่วยลดการเกิดเชื้อโรค และแบคทีเรีย โดยเราสามารถใช้เเปรงคู่กับน้ำยาล้างจานหรือยาสีฟันของเราก็ได้ทั้งนั้นค่ะ แต่ถ้าหากใช้น้ำยาล้างจานแนะนำให้ล้างดี ๆ เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นสารตกค้าง ในร่างกายได้ค่ะ ซึ่งจำไว้ให้ดีนะคะว่าการแปรงเครื่องมือ ไม่ควรแปรงแรงเกินไป เพราะจะทำให้ รีเทนเนอร์มีรอยขีดข่วนและเกิดแบคทีเรียสะสม รวมถึงอาจทำให้รีเทนเนอร์เสียหายได้นะ
 
การแช่รีเทนเนอร์ช่วยลดคราบหินปูนได้
รู้ไหมคะรีเทนเนอร์ที่ใช้มานานสามารถมีคราบหินปูนเกิดขึ้นได้ โดยปกติสามารถทำความสะอาดด้วยการแช่ในยาเม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาด ฟันปลอม หรือแช่ในน้ำส้มสายชูเจือจางในกรณีที่มีคราบหินปูนสะสมมาก แต่อย่างไรก็ตามควรถามหมอฟันของเราก่อนนะคะเพื่อความมั่นใจ ว่าสามารถแช่กับอะไรได้บ้าง จะได้ไม่พังและเสียเงินซ้ำซ้อน ในการทำรีเทนเนอร์ใหม่ถ้าหากเกิดความเสียหาย
 
อย่าลืมใช้กล่องรีเทนเนอร์
หลายคนพอทำรีเทนเนอร์มามักไม่สนใจกล่องเพราะคิดว่าไม่สำคัญและเกะเกะ แต่รู้ไหมคะว่ามันสำคัญมาก เพราะการใส่กล่องจะช่วยลดการเกิดแบคทีเรียและทำให้รีเทนเนอร์ควรอยู่ในที่ ๆ ควรอยู่ โดยเฉพาะตอนเราทานอาหาร หากเราใส่กล่องแทนที่จะห่อด้วยทิชชู่จะ “ทำให้เราไม่ลืม และยังช่วยคงสภาพไม่ให้หักงอ” ซึ่งจะทำให้เราไม่เสียตังในการทำรีเทนเนอร์ใหม่
 
ไหมขัดฟัน ตัวช่วยสำคัญของรีเทนเนอร์ติดแน่น
ถ้าเลือกเป็นแบบติดแน่น บ้วนปากหลังทานข้าวไม่พอนะคะ ขอแนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันร่วมกับเข็มร้อยไหมขัดฟัน ทำความสะอาดทุกครั้งหลังทานอาหารเสร็จ เพื่อความสะอาดและการใช้ไหมขัดฟันจะช่วยขจัดคราบหรือเศษอาหารที่ตกค้าง และช่วยลดกลิ่นปากนั่นเองจ้า
 
6.รีเทนเนอร์ต้องใส่นานแค่ไหนกันนะ
 
โดยปกติหมอฟันแนะนำให้คนไข้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันไว้ตลอดเวลา (ยกเว้นเพียงแค่ตอนรับประทานอาหาร และตอนแปรงฟันเท่านั้น) อย่างน้อย 1-2 ปี หลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน โดยอย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของหมอฟันประจำตัวของเราค่ะ ว่าจะให้ใส่นานแค่ไหน ดังนั้นควรปรึกษาหมอก่อนนะคะ
 
7.ข้อควรระวังในการใช้รีเทนเนอร์
 
นอกจากวิธีการความสะอาดรีเทนเนอร์เพื่อยืดอายุการใช้งานรีเทนเนอร์ เราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รีเทนเนอร์เสียหายได้ นี่ก็เป็นหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรละเลย มีข้อควรระวังคือ

รีเทนเนอร์ควรห่างจากความร้อน เพราะความร้อนทำให้ตัวพลาสติกหรืออะคริลิคบิดเบี้ยวได้ ไม่ทำความสะอาดรีเทนเนอร์ด้วยน้ำร้อน หรือ วางใกล้เครื่องใช้ที่มีความร้อนจัด เช่น หม้อชาบูร้อน ๆ 
สารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดมีผลเสีย โดยการแช่รีเทนเนอร์ที่พูดกันว่าสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมทำความสะอาดได้ ขอตอบว่าผิดมากเพราะ แอลกอฮอล์สามารถทำอันตรายต่อพลาสติกได้
ไม่ควรใช้ลิ้นดันรีเทนเนอร์เล่น ในระหว่างที่ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันห้ามใช้ลิ้นดันเล่นเด็ดขาด เพราะอาจทำให้รีเทนเนอร์หลวมและหลุดออกมาได้ 
การถอดรีเทนเนอร์ควรดึงออกให้ถูกวิธี โดยสามารถใช้นิ้วเกี่ยวส่วนที่เป็นขอบของฐานอะคริลิคด้านในฟันแล้วดึงด้วย นิ้วทั้ง 2 ข้าง ไม่ควรใช้นิ้วดึงบริเวณที่พาดอยู่บนฟันหน้า เพราะอาจทำให้ลวดหักได้จ้า
ถอดรีเทนเนอร์และเก็บไว้ในกล่องเก็บรีเทนเนอร์ทันที ไม่เเนะนำให้ห่อกระดาษทิชชู่หรือใส่ในกระเป๋า เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการลืมหรือหักงอ จนเสียหายได้

 
ทำไมต้องทำรีเทนเนอร์ ที่ Teeth Talk Dental Clinic
 
1.แบบลวดมีให้เลือกกว่า 180 แบบ
2.รับประกัน 1 เดือน ถ้าลวดหัก หรือ คับและหลวม
3.ทันตแพทย์เกียรตินิยมอันดับ 1
4.ใส่ใจในการตรวจและวางแผนการรักษา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
5.เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้มีความทันสมัย ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
5.ราคาเข้าถึงง่าย และเหมาะสม
6.มีทันตแพทย์ประจำคลินิกทุกวัน
คลายสงสัยกันหรือยังคะว่าหลังจัดฟันว่ารีเทนเนอร์ต้องใส่นานแค่ไหน โดยไม่ว่าจะเลือกทำ รีเทนเนอร์แบบไหนก็สามารถเลือกตามที่เราชอบและคิดว่าเหมาะกับตัวเองที่สุดได้ ซึ่งจำไว้นะคะว่าการใส่และดูแลให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าละเลยหรือหละหลวมเกี่ยวกับการใส่รีเทนเนอร์ ก็อาจจะทำให้เกิดฟันล้มได้ ทำให้ต้องเสียเวลาไปจัดฟันใหม่อีกครั้ง เสียทั้งเงินและเวลาเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวด้วยจ้า

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

อ่านเรื่องเล่าเรื่องอื่น

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา