ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป
-
เขียนโดย Domewriter
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.
20 ตอน
0 วิจารณ์
10.05K อ่าน
แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า
5) ยุคราชวงศ์เซี่ย 3
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ8) เซี่ยไหว
♢ 1968 - 1924 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 8 เซี่ยไหว ทรงครองราชย์ ได้ 44 ปี ก็สวรรคต องค์ชาย หมางขึ้นสืบราชลังลังค์
9) เซี่ยหมาง
♢ 1924-1906 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 9 เซี่ยหมาง หรือ หวง พระองค์ทรงเฉลิมฉลองพิธีราชา ภิเษก โดยพระราชทานอัญมณีหยกให้กับเมืองใต้อาณัติทั้งหมด เริ่มปีรัชศก เหรินเฉิน ( ชื่อปีที่ครองราชย์ของแต่ละจักรพรรดิ์) ☆ เซี่ยหมางเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นพิธีการสังเวยบูชาฟ้าสวรรค์ วัว หมู แกะ และอัญมณีหยก โดยตั้งปรัมพิธีบริเวณแม่น้ำเหลือง หรือ แม่น้ำฮวงโห ที่หล่อ เลี้ยงอาณาจักร เซี่ยหมางทำพิธีสังเวยและอธิษฐานขอให้อาณาจักรมีความร่มเย็นเป็น สุข เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธา หลังจากนั่นกลายเป็นพิธีกรรม ประจำปี และกลายเป็นวัฒนธรรมของจีน หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ไม้ไผ่ บันทึกเหตุการณ์รัชสมัยของ เซี่ยหมางไว้ ว่า เซี่ยหมางเคยตกปลาตัวใหญ่ขนาดเท่าเรือได้ ขณะที่ล่องเรือใน ทะเลจีนตะวันออก จื่อไห่ ผู้ปกครองรัฐซาง ที่เป็นเมืองขึ้นอพยพผู้คนย้ายเมืองหลวงฉาง ชิวไปเมืองอิ๋น คาดว่าเนื่องจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด เซี่ยหมาง ครองราชย์ได้ 18 ปี ก็สวรรคต องค์ชายเซียขึ้นครองราชย์ บัลลังค์
10) เซี่ยเซีย
♢ 1906 - 1831 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 10 เซี่ยเซีย ทรงเสวยราชย์ในปีรัชศกเซินเว่ย ครองราชย์ได้ 25 ปี ในปีที่ 12 องค์ชายซื่อไห่ องค์ชายแห่งรัฐหยินได้ทำความผิดด้านศีล ธรรม และหลบหนีไปอยู่ที่รัฐโหยวอี่ ต่อมาถูกสังหารโดย เหมียนเฉิน หัวหน้า ของทหารองครักษ์ของตนเอง 4 ปีต่อมา เว่ย ผู้แทนพระองค์แห่งรัฐหยินได้ร่วมมือกับกองทัพของ บารอน แห่งรัฐเหอ ยกกองทัพทหารบุกรัฐโหยวอี่สังหารองค์รักษ์เหมียนเฉิน ในปีที่ 21 เซี่ยเซียทรงพระราชทานเกียรติยศให้กับผู้นำใน ถิ่นทุรกัน ดารที่อดทน ต่อความลำบากในการช่วยเหลือประชาชน เซี่ยเซียทรงสวรรคต องค์ชายปู๋เจียงขึ้นครองราชย์บัลลังค์
11) เซี่ยปู้เจี้ยง
♢ 1890 - 1831 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 11 เซี่ยปู้เจี้ยง ครองราชย์ได้ 59 ปี ก็สวรรคต องค์ชายจียงผู้เป็นพระอนุชาเป็นผู้ขึ้นครองราชย์บัลลังค์
12) เซี่ยจียง
♢ 1831 - 1810 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 12 เซี่ยจียง เป็นโอรสของเซี่ยเซีย และพระอนุชาของเซี่ยปู้ เจี้ยง ในปีที่ 8 ของรัชกาลเกิดภัยแล้งรุนแรง เซี่ยจียงครองราชย์ได้ 21 ปี เสด็จ สวรรคต องค์ชายจิ่นขึ้นครองราชย์บัลลังค์
13) เซี่ยจิ่น
♢ 1810 - 1789 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 13 เซี่ยจิ่น คริงราชน์ได้ 9 ปี ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชายขงเจี่ยขึ้นครองราชบัลลังค์
14) เซี่ยขงเจี่ย
♢ 1789 - 1758 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 14 เซี่ยขงเจี่ย ครองราชย์ได้ 31 ปี เสด็จสวรรคต องค์ชาย เกาขึ้นครองราชบัลลังค์
15) เซี่ยเกา
♢ 1758 - 1747 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 15 เซี่ยเกา ครองราชย์ได้ 11 ปี ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชาย ฟา ขึ้นครองราชบัลลังค์
16) เซี่ยฟา
♢ 1747 - 1728 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 16 เซี่ยฟา ในรัชสมัยเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในอาณาจักร โดยมีอาฟเตอร์ซ็อกเป็นระยะก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดใน 1628 ปีก่อนคริสกาล เมื่อถึงปลายราชวงศ์ ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวายทั้งภายใน และภายนอกไม่หยุดยั้ง เกิดข้อขัดแย้งระหว่างราชสำนักและประชาชนที ทวีมี ความรุนแรงมากขึ้น
เซี่ยฟาครองราชย์ได้ 11 ปี ก็ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชายเจี่ยขึ้นครอง ราชย์บัลลังค์
17) เซี่ยเจี๋ย
♢ 1728–1675 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 17 เซี่ยเจี๋ย ชื่อเดิม ลฺหวีกุ่ย นับเป็นราชาองค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์เซี่ย เซี่ยเจี๋ยถือเป็น ราชาทรราชที่กดขี่ประชาชน และนำความพินาศ มาสู่ราชวงศ์เซี่ย เซี่ยเจี๋ยขึ้นครองบัลลังก์ในปีรัชศกเหรินเฉิน เมื่อขึ้นครองราชย์ก็เห่อเหิม ฟุ้งเฟ้อในอำนาจใช้ชีวิตเสเพลสุรุ่ยสุร่ายและโหดร้ายต่อขุนนางกับประชาชน แต่ ละวันหมกหมุ่นอยู่กับสุรานารีกิจ งานเลี้ยงความบันเทิง และใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดย สั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวังมากมายให้เหล่ามเหสีนางสนม โดยไม่สนใจใย ดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์ที่พากันก่นด่าประณาม เซี่ยเจี๋ยไม่ชอบให้ผู้ใดมาวิจารณืตนเอง เหล่าขุนนางมีความหวาดกลัว อย่างยิ่ง ขุนนางที่จงรักภักดีกลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาชนชั้นสูง ต่างพากันเอาใจออกห่าง ในช่วง 3 ปีแรกของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยสั่งปราบกบฏชาวเผ่าควนจื้อ ที่รุกรานเข้ามาถึงเมืองคื้อ ในช่วงเดียวกัน เซี่ยเจี๋ยเห็นว่า วังหอหรง ของตนเรียบง่ายเกินไปจึงสั่ง ให้สร้างวังแห่งใหม่ เรียกวังเอียง โดยเกณฑ์ราษฎรนับหมื่นมาทำทั้งเรียกระดม ทรัพยากร นับไม่ถ้วน ใช้เวลา 7 ปีจึงเสร็จ ประชาชนทุกข์ยากสาหัส ในปีที่ 6 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยจัดงานรื่นเริงต้อนรับทูตต่างชาติ ทั้งยัง ออกรับทูตจากรัฐคื้อโซว ปัจจุบันคือ เกาหลี ที่เซี่ยเจี๋ยมองว่าเป็นชาวป่าเถื่อน ในปีที่ 10 ของรัชกาล บันทึกปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ผิดประหลาด ไว้ว่า มีดาวห้าดวง เรียงตัวกันบนฟากฟ้า ต่อมาเกิดฝนดาวตกและแผ่นดินไหว ในปีที่ 11 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยเรียกเจ้าเมืองขึ้นทั้งหมดมาเข้าเฝ้า แต่เจ้า เมืองโยวมิ้น ไม่มาเข้าเฝ้าพระองค์ แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ เซี่ยเจี๋ย จึงส่งกองทัพไปปราบปรามจนพ่ายแพ้ราบคาบ ในปีที่ 13 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยย้ายเมืองหลวงจากเจินสฺวินไปยังเมือง เหอหนาน การย้ายพระนครใช้เสลี่ยงที่เป็นมนุษย์แบกหามจำนวนมาก
บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า พระสนมเมย์สี่หรือมั่วสี นางสนมคนโปรดที่ เป็นหญิงรูปงาม แต่จิตใจต่ำทราม หลังจากได้เป็นฮองเฮาแล้วได้ขอให้เซี่ยเจี๋ย ทำบึงสุราขึ้น แล้วล่องเรือเล่นในบึงสุราและให้ชายหญิงมาเมามายร่วมเพศกัน บนเรือ ครั้งหนึ่ง ฮองเฮามั่วสีสั่งให้ทหาร 3,000 คน ลงไปดื่มสุราในบ่อให้ เกลี้ยง เมื่อพบว่ามีทหารจมบึงสุราเสียชีวิต นางก็หัวเราะชอบใจ
ในปีที่ 14 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยนำกองทัพไปเยือนรัฐหมินชาน พระองค์ ถูกใจธิดาสองคนของกษัตริย์แห่งรัฐหมินชาน เซี่ยเจี๋ยได้นำนางทั้งสองไปเป็น พระสนม ตั้งชื่อว่าพระสนมเฉาและพระสนมฮวา เซี่ยเจี๋ยลุ่มหลงมเหสีทั้งสองนางนี้มาก กระทั่งยอมปลดมเหสี เม่ย์สี่ลง จากตำแหน่งฮองเฮา แล้วสร้างตำหนักบนยอดวังให้นางทั้งสองพักอาศัย เซี่ยเจี๋ยชมชอบบริโภคอาหารที่ทำพิเศษ ผักต้องมาจากภาคตะวันตก เฉียงเหนือ ปลาต้องมาจากทะเลตะวันออก เครื่องปรุงต้องทำจากของที่ขึ้นใน ภาคใต้ เกลือที่ใช้ก็ต้องมาจากภาคเหนือ ทำให้ต้องใช้ทรัพย์สินมากมายในการ จัดหาหากมีผู้จัดหามาผิดก็จะถูก ประหารในทันที เซี่ยเจี๋ยชอบดื่มสุราชิงฉุน หรือ เหล้าใส ซึ่งต้องปรุงพิเศษ ถ้าปรุงมา ไม่ถูกใจก็สั่งประหารผู้ปรุง มีผู้คนมากมายถูกประหารไปเพราะเหตุนี้ เซี่ยเจี๋ยจะดื่มสุราโดยนั่งอยู่บนหลังมนุษย์เหมือนขี่ม้า ครั้งหนึ่ง พระ องค์นั่งบนหลังของอัครมหาเสนาบดี แต่อัครมหาเสนาบดีผู้นั้นทนตรากตรำ ทั้งวันไม่ไหว จึงของดเว้นสักวัน เซี่ยเจี๋ยไม่พอใจจึงสั่งประหารในทันที กวานหลงเฝิง อัครมหาเสนาบดีคนใหม่ได้กราบทูลว่า พฤติกรรมของ พระองค์ทำให้ผู้คนเสื่อมศรัทธา ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างจะไม่เข้าข้างพระองค์อีก ต่อไป เซี่ยเจี๋ยได้ฟังแล้วก็พิโรธ สั่งประหารกวานหลงเฝิงในทันทีเช่นกัน ในปีที่ 17 ราชวงศ์เซี่ยปกครองประเทศราชน้อยใหญ่หลายแห่ง หนึ่ง ในนั้น คือ รัฐชาง ซึ่งนับวันยิ่งทวีอำนาจ ซางทัง ผู้ปกครองรัฐชาง เห็นว่าเซี่ยเจี๋ยปฏิบัติต่อราษฎรอย่างโหดร้าย เขาไม่อาจทนเพิกเฉยได้จึงวางแผนส่ง อีอิ่น ขุนนางคนหนึ่งนำคณะไปเป็นสาย สืบที่เมืองหลวงเหอหนานของราชอาณาจักรเซี่ย โดยเป็นผู้นำเอกสารการทูต เดินทางไปเมืองหลวงและพักอาศัยอยู่ที่นั้น เพื่อสืบดูเหตุการณ์ในราชสำนักเซี่ย ทั้งหมด อีอิ่นอยู่เมืองเหอหนาน 3 ปี จึงกลับรัฐชาง จากนั้น รัฐชางก็เริ่มเคลื่อน กองทัพเข้ายึดครองเมืองขึ้นอื่นๆ ในปีที่ 26 รัฐชางเอาชนะรัฐเวนได้ ต่อมา 2 ปี รัฐคุนอู๋ยกกองทัพเข้าตี รัฐชาง นำไปสู่สงครามระหว่างรัฐทั้งสอง ซึ่งดำเนินติดต่อกันไปหลายปี แต่รัฐชางก็สามารถเอาชนะรัฐคุนอู๋ และยกกองทัพไปยึดครองรัฐอื่นได้ หลังจากยึดครองรัฐจิ่งปั๋วได้แล้ว รัฐชางกลายเป็นกองทัพใหญ่บุกไปยึดรัฐมี่ซวี, หฺวา, และ กู้ ได้
ในขณะเดียวกัน จองกู๋ ขุนนางราชบัณฑิตคนสำคัญของรัฐเซี่ยก็หลบ หนีออกจากเมืองหลวงของอาณาจักรเซี่ยมาเข้ากับรัฐชาง ในปีที่ 29 เซี่ยเจี๋ยสั่งทหารเกณฑ์ประชาชนจำนวนมากไปขุดอุโมงค์ น้ำไหลผ่านภูเขาคู แต่ภูเขากลับถล่มลงมา ทำให้ไม่อาจขุดอุโมงค์น้ำได้สำเร็จ บันทึกเอกสารจากปลายสมัยราชวงศ์ฉินว่า ใน 1,698 ปีก่อนคริสศักราช ช่วงปลายของรัชกาลเซี่บเจี๋ยได้เกิดภัยธรรมชาติในช่วงฤดูหนาวที่เมืองหลิงซุ่ย มักเกิดน้ำแข็งในยามเช้าของฤดูร้อน ทั้งเกิดเกล็ดหิมะตลอดเดือนกรกฎาคม ต่อมาพายุฝนถล่มอาคารบ้านเรือน อากาศแปรปรวน ฤดูร้อนกลับหนาว ฤดูหนาว กลับร้อน พืชพันธุ์ธัญญาผลสูญเสียสิ้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นจากเหตุภูเขาไฟระเบิด ครั้งใหญ่ ทำให้มีอาฟเตอร์ช็อกและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งอาณาจักรเซี่ยรับรู้ เพียงปรากฏการณ์แผ่นดินไหว แต่ไม่ทราบว่า มีภูเขาไฟขนาดใหญ่ระเบิดในที่ ห่างไกลออกไป ปรากฏการณ์ที่เกิดที่อาณาจักรเซี่ย เรียกว่าฤดูหนาวหลังจาก ภูเขาไฟระเบิด ใน 1,698 - 1628 ปีก่อนคริสศักราช 1675–1646 ปีก่อนคริสศักราช ซางทัง ผู้นำรัฐชางทางตะวันออกที่กำ ลังรุ่งเรือง เขาได้อ้างปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นนี้ หาเสียงสนับ สนุนในการโค่นล้มราชวงศ์เซี่ย ซึ่งก็ได้รับจากรัฐเล็กต่าง ๆ กว่า 40 รัฐ ซางทังกล่าวต่อผู้สนับสนุนว่าสวรรค์มีบัญชาให้เขาโค่นล้มราชวงศ์เซี่ย เขาไม่ประสงค์จะสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่ก็จำเป็นต้องทำตาม อาณัติ สวรรค์ เมื่อเซี่ยเจี๋ยทำความชั่วช้าสามาน ฟ้าดินจึงลงทัณฑ์ เพื่อยุติความชั่วร้าย ที่เซี่ยเจี๋ยก่อขึ้นทำให้หมดบุญวาสนาที่จะปกครองแผ่นดิน แม้แต่แม่ทัพนายกอง ของเซี่ยเองก็ไม่ฟังคำสั่งของเซี่ยเจี๋ยอีก เซี่ยเจี๋ยอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว จากนั้น ซางทังนำกองทัพปราบปรามดินแดนที่เป็นมิตรกับราชวงศ์เซี่ย ทางตะวันออก ในปีรัชกาลที่ 31 รัฐชางทัพทหารจากเมืองเอ๋อร์ไปตีที่เมืองหลวงของ ราชวงศ์เซี่ย และรัฐคุนอู๋พร้อมกัน โดยรัฐคุนอู๋ถูกพิชิตอย่างรวดเร็ว แล้วจึงโจม ตีเมืองหลวงของราชวงศ์เซี่ย เมื่อราชสำนักเซี่ยพ่ายแพ้ก็ถอยทัพหนีไปตั้งมั่นอยู่ริมแม่น้ำฮวงโห ของ เมืองอันอี้ กองทัพรัฐชางรุกไล่ไปตีกองทัพเซี่ยที่เหลือ เซี่ยเจี๋ยถอยทัพหนีไป เมืองหมิงเถียว ซางทังยกกองทัพตามไปรบที่เมืองหมิงเถียว
นักประวัติศาสตร์ เรียกว่า ยุทธการหมิงเถียว ซึ่งขณะทำสงครามเกิด พายุใหญ่ แต่ทั้งสองรัฐก็มิยอมยุติการทำสงคราม ในที่สุดกองทัพเซี่ยก็พ่าย แพ้ราบคาบ เซี่ยเจี๋ยลี้ภัยไปอยู่ยังรัฐซานซง ขุนพลอู้จื่อยกกองทัพออกติดตามล่า เซี่ยเจี๋ย และจับตัวได้ที่รัฐเจี้ยโอเมน ซางทังได้ถอดตี้เซี่ยเจี๋ยออกจากการเป็น ราชาและเนรเทศไปอยู่รัฐหนานจ้าว พร้อมทั้งกักบริเวณไม่ให้ผู้ใดเข้าพบ ภายหลัง เซี่ยเจี๋ยล้มป่วยจนเสียชีวิต ถือเป็นการสิ้นสุดรางวงศ์เซี่ยที่ยาว นานกว่า 500 ปี ซางทังเรียกประชุมนครรัฐต่างๆ สถาปนาราชวงศ์ซางปกครอง แผ่นดิน และตั้งเมืองหลวงที่อินซวี หรือเมืองอันหยาง
.....จบยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย
♢ 1968 - 1924 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 8 เซี่ยไหว ทรงครองราชย์ ได้ 44 ปี ก็สวรรคต องค์ชาย หมางขึ้นสืบราชลังลังค์
9) เซี่ยหมาง
♢ 1924-1906 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 9 เซี่ยหมาง หรือ หวง พระองค์ทรงเฉลิมฉลองพิธีราชา ภิเษก โดยพระราชทานอัญมณีหยกให้กับเมืองใต้อาณัติทั้งหมด เริ่มปีรัชศก เหรินเฉิน ( ชื่อปีที่ครองราชย์ของแต่ละจักรพรรดิ์) ☆ เซี่ยหมางเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นพิธีการสังเวยบูชาฟ้าสวรรค์ วัว หมู แกะ และอัญมณีหยก โดยตั้งปรัมพิธีบริเวณแม่น้ำเหลือง หรือ แม่น้ำฮวงโห ที่หล่อ เลี้ยงอาณาจักร เซี่ยหมางทำพิธีสังเวยและอธิษฐานขอให้อาณาจักรมีความร่มเย็นเป็น สุข เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธา หลังจากนั่นกลายเป็นพิธีกรรม ประจำปี และกลายเป็นวัฒนธรรมของจีน หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ไม้ไผ่ บันทึกเหตุการณ์รัชสมัยของ เซี่ยหมางไว้ ว่า เซี่ยหมางเคยตกปลาตัวใหญ่ขนาดเท่าเรือได้ ขณะที่ล่องเรือใน ทะเลจีนตะวันออก จื่อไห่ ผู้ปกครองรัฐซาง ที่เป็นเมืองขึ้นอพยพผู้คนย้ายเมืองหลวงฉาง ชิวไปเมืองอิ๋น คาดว่าเนื่องจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด เซี่ยหมาง ครองราชย์ได้ 18 ปี ก็สวรรคต องค์ชายเซียขึ้นครองราชย์ บัลลังค์
10) เซี่ยเซีย
♢ 1906 - 1831 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 10 เซี่ยเซีย ทรงเสวยราชย์ในปีรัชศกเซินเว่ย ครองราชย์ได้ 25 ปี ในปีที่ 12 องค์ชายซื่อไห่ องค์ชายแห่งรัฐหยินได้ทำความผิดด้านศีล ธรรม และหลบหนีไปอยู่ที่รัฐโหยวอี่ ต่อมาถูกสังหารโดย เหมียนเฉิน หัวหน้า ของทหารองครักษ์ของตนเอง 4 ปีต่อมา เว่ย ผู้แทนพระองค์แห่งรัฐหยินได้ร่วมมือกับกองทัพของ บารอน แห่งรัฐเหอ ยกกองทัพทหารบุกรัฐโหยวอี่สังหารองค์รักษ์เหมียนเฉิน ในปีที่ 21 เซี่ยเซียทรงพระราชทานเกียรติยศให้กับผู้นำใน ถิ่นทุรกัน ดารที่อดทน ต่อความลำบากในการช่วยเหลือประชาชน เซี่ยเซียทรงสวรรคต องค์ชายปู๋เจียงขึ้นครองราชย์บัลลังค์
11) เซี่ยปู้เจี้ยง
♢ 1890 - 1831 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 11 เซี่ยปู้เจี้ยง ครองราชย์ได้ 59 ปี ก็สวรรคต องค์ชายจียงผู้เป็นพระอนุชาเป็นผู้ขึ้นครองราชย์บัลลังค์
12) เซี่ยจียง
♢ 1831 - 1810 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 12 เซี่ยจียง เป็นโอรสของเซี่ยเซีย และพระอนุชาของเซี่ยปู้ เจี้ยง ในปีที่ 8 ของรัชกาลเกิดภัยแล้งรุนแรง เซี่ยจียงครองราชย์ได้ 21 ปี เสด็จ สวรรคต องค์ชายจิ่นขึ้นครองราชย์บัลลังค์
13) เซี่ยจิ่น
♢ 1810 - 1789 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 13 เซี่ยจิ่น คริงราชน์ได้ 9 ปี ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชายขงเจี่ยขึ้นครองราชบัลลังค์
14) เซี่ยขงเจี่ย
♢ 1789 - 1758 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 14 เซี่ยขงเจี่ย ครองราชย์ได้ 31 ปี เสด็จสวรรคต องค์ชาย เกาขึ้นครองราชบัลลังค์
15) เซี่ยเกา
♢ 1758 - 1747 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 15 เซี่ยเกา ครองราชย์ได้ 11 ปี ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชาย ฟา ขึ้นครองราชบัลลังค์
16) เซี่ยฟา
♢ 1747 - 1728 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 16 เซี่ยฟา ในรัชสมัยเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในอาณาจักร โดยมีอาฟเตอร์ซ็อกเป็นระยะก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดใน 1628 ปีก่อนคริสกาล เมื่อถึงปลายราชวงศ์ ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวายทั้งภายใน และภายนอกไม่หยุดยั้ง เกิดข้อขัดแย้งระหว่างราชสำนักและประชาชนที ทวีมี ความรุนแรงมากขึ้น
เซี่ยฟาครองราชย์ได้ 11 ปี ก็ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชายเจี่ยขึ้นครอง ราชย์บัลลังค์
17) เซี่ยเจี๋ย
♢ 1728–1675 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย ราชาองค์ที่ 17 เซี่ยเจี๋ย ชื่อเดิม ลฺหวีกุ่ย นับเป็นราชาองค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์เซี่ย เซี่ยเจี๋ยถือเป็น ราชาทรราชที่กดขี่ประชาชน และนำความพินาศ มาสู่ราชวงศ์เซี่ย เซี่ยเจี๋ยขึ้นครองบัลลังก์ในปีรัชศกเหรินเฉิน เมื่อขึ้นครองราชย์ก็เห่อเหิม ฟุ้งเฟ้อในอำนาจใช้ชีวิตเสเพลสุรุ่ยสุร่ายและโหดร้ายต่อขุนนางกับประชาชน แต่ ละวันหมกหมุ่นอยู่กับสุรานารีกิจ งานเลี้ยงความบันเทิง และใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดย สั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวังมากมายให้เหล่ามเหสีนางสนม โดยไม่สนใจใย ดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์ที่พากันก่นด่าประณาม เซี่ยเจี๋ยไม่ชอบให้ผู้ใดมาวิจารณืตนเอง เหล่าขุนนางมีความหวาดกลัว อย่างยิ่ง ขุนนางที่จงรักภักดีกลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาชนชั้นสูง ต่างพากันเอาใจออกห่าง ในช่วง 3 ปีแรกของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยสั่งปราบกบฏชาวเผ่าควนจื้อ ที่รุกรานเข้ามาถึงเมืองคื้อ ในช่วงเดียวกัน เซี่ยเจี๋ยเห็นว่า วังหอหรง ของตนเรียบง่ายเกินไปจึงสั่ง ให้สร้างวังแห่งใหม่ เรียกวังเอียง โดยเกณฑ์ราษฎรนับหมื่นมาทำทั้งเรียกระดม ทรัพยากร นับไม่ถ้วน ใช้เวลา 7 ปีจึงเสร็จ ประชาชนทุกข์ยากสาหัส ในปีที่ 6 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยจัดงานรื่นเริงต้อนรับทูตต่างชาติ ทั้งยัง ออกรับทูตจากรัฐคื้อโซว ปัจจุบันคือ เกาหลี ที่เซี่ยเจี๋ยมองว่าเป็นชาวป่าเถื่อน ในปีที่ 10 ของรัชกาล บันทึกปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ผิดประหลาด ไว้ว่า มีดาวห้าดวง เรียงตัวกันบนฟากฟ้า ต่อมาเกิดฝนดาวตกและแผ่นดินไหว ในปีที่ 11 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยเรียกเจ้าเมืองขึ้นทั้งหมดมาเข้าเฝ้า แต่เจ้า เมืองโยวมิ้น ไม่มาเข้าเฝ้าพระองค์ แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ เซี่ยเจี๋ย จึงส่งกองทัพไปปราบปรามจนพ่ายแพ้ราบคาบ ในปีที่ 13 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยย้ายเมืองหลวงจากเจินสฺวินไปยังเมือง เหอหนาน การย้ายพระนครใช้เสลี่ยงที่เป็นมนุษย์แบกหามจำนวนมาก
บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า พระสนมเมย์สี่หรือมั่วสี นางสนมคนโปรดที่ เป็นหญิงรูปงาม แต่จิตใจต่ำทราม หลังจากได้เป็นฮองเฮาแล้วได้ขอให้เซี่ยเจี๋ย ทำบึงสุราขึ้น แล้วล่องเรือเล่นในบึงสุราและให้ชายหญิงมาเมามายร่วมเพศกัน บนเรือ ครั้งหนึ่ง ฮองเฮามั่วสีสั่งให้ทหาร 3,000 คน ลงไปดื่มสุราในบ่อให้ เกลี้ยง เมื่อพบว่ามีทหารจมบึงสุราเสียชีวิต นางก็หัวเราะชอบใจ
ในปีที่ 14 ของรัชกาล เซี่ยเจี๋ยนำกองทัพไปเยือนรัฐหมินชาน พระองค์ ถูกใจธิดาสองคนของกษัตริย์แห่งรัฐหมินชาน เซี่ยเจี๋ยได้นำนางทั้งสองไปเป็น พระสนม ตั้งชื่อว่าพระสนมเฉาและพระสนมฮวา เซี่ยเจี๋ยลุ่มหลงมเหสีทั้งสองนางนี้มาก กระทั่งยอมปลดมเหสี เม่ย์สี่ลง จากตำแหน่งฮองเฮา แล้วสร้างตำหนักบนยอดวังให้นางทั้งสองพักอาศัย เซี่ยเจี๋ยชมชอบบริโภคอาหารที่ทำพิเศษ ผักต้องมาจากภาคตะวันตก เฉียงเหนือ ปลาต้องมาจากทะเลตะวันออก เครื่องปรุงต้องทำจากของที่ขึ้นใน ภาคใต้ เกลือที่ใช้ก็ต้องมาจากภาคเหนือ ทำให้ต้องใช้ทรัพย์สินมากมายในการ จัดหาหากมีผู้จัดหามาผิดก็จะถูก ประหารในทันที เซี่ยเจี๋ยชอบดื่มสุราชิงฉุน หรือ เหล้าใส ซึ่งต้องปรุงพิเศษ ถ้าปรุงมา ไม่ถูกใจก็สั่งประหารผู้ปรุง มีผู้คนมากมายถูกประหารไปเพราะเหตุนี้ เซี่ยเจี๋ยจะดื่มสุราโดยนั่งอยู่บนหลังมนุษย์เหมือนขี่ม้า ครั้งหนึ่ง พระ องค์นั่งบนหลังของอัครมหาเสนาบดี แต่อัครมหาเสนาบดีผู้นั้นทนตรากตรำ ทั้งวันไม่ไหว จึงของดเว้นสักวัน เซี่ยเจี๋ยไม่พอใจจึงสั่งประหารในทันที กวานหลงเฝิง อัครมหาเสนาบดีคนใหม่ได้กราบทูลว่า พฤติกรรมของ พระองค์ทำให้ผู้คนเสื่อมศรัทธา ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างจะไม่เข้าข้างพระองค์อีก ต่อไป เซี่ยเจี๋ยได้ฟังแล้วก็พิโรธ สั่งประหารกวานหลงเฝิงในทันทีเช่นกัน ในปีที่ 17 ราชวงศ์เซี่ยปกครองประเทศราชน้อยใหญ่หลายแห่ง หนึ่ง ในนั้น คือ รัฐชาง ซึ่งนับวันยิ่งทวีอำนาจ ซางทัง ผู้ปกครองรัฐชาง เห็นว่าเซี่ยเจี๋ยปฏิบัติต่อราษฎรอย่างโหดร้าย เขาไม่อาจทนเพิกเฉยได้จึงวางแผนส่ง อีอิ่น ขุนนางคนหนึ่งนำคณะไปเป็นสาย สืบที่เมืองหลวงเหอหนานของราชอาณาจักรเซี่ย โดยเป็นผู้นำเอกสารการทูต เดินทางไปเมืองหลวงและพักอาศัยอยู่ที่นั้น เพื่อสืบดูเหตุการณ์ในราชสำนักเซี่ย ทั้งหมด อีอิ่นอยู่เมืองเหอหนาน 3 ปี จึงกลับรัฐชาง จากนั้น รัฐชางก็เริ่มเคลื่อน กองทัพเข้ายึดครองเมืองขึ้นอื่นๆ ในปีที่ 26 รัฐชางเอาชนะรัฐเวนได้ ต่อมา 2 ปี รัฐคุนอู๋ยกกองทัพเข้าตี รัฐชาง นำไปสู่สงครามระหว่างรัฐทั้งสอง ซึ่งดำเนินติดต่อกันไปหลายปี แต่รัฐชางก็สามารถเอาชนะรัฐคุนอู๋ และยกกองทัพไปยึดครองรัฐอื่นได้ หลังจากยึดครองรัฐจิ่งปั๋วได้แล้ว รัฐชางกลายเป็นกองทัพใหญ่บุกไปยึดรัฐมี่ซวี, หฺวา, และ กู้ ได้
ในขณะเดียวกัน จองกู๋ ขุนนางราชบัณฑิตคนสำคัญของรัฐเซี่ยก็หลบ หนีออกจากเมืองหลวงของอาณาจักรเซี่ยมาเข้ากับรัฐชาง ในปีที่ 29 เซี่ยเจี๋ยสั่งทหารเกณฑ์ประชาชนจำนวนมากไปขุดอุโมงค์ น้ำไหลผ่านภูเขาคู แต่ภูเขากลับถล่มลงมา ทำให้ไม่อาจขุดอุโมงค์น้ำได้สำเร็จ บันทึกเอกสารจากปลายสมัยราชวงศ์ฉินว่า ใน 1,698 ปีก่อนคริสศักราช ช่วงปลายของรัชกาลเซี่บเจี๋ยได้เกิดภัยธรรมชาติในช่วงฤดูหนาวที่เมืองหลิงซุ่ย มักเกิดน้ำแข็งในยามเช้าของฤดูร้อน ทั้งเกิดเกล็ดหิมะตลอดเดือนกรกฎาคม ต่อมาพายุฝนถล่มอาคารบ้านเรือน อากาศแปรปรวน ฤดูร้อนกลับหนาว ฤดูหนาว กลับร้อน พืชพันธุ์ธัญญาผลสูญเสียสิ้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นจากเหตุภูเขาไฟระเบิด ครั้งใหญ่ ทำให้มีอาฟเตอร์ช็อกและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งอาณาจักรเซี่ยรับรู้ เพียงปรากฏการณ์แผ่นดินไหว แต่ไม่ทราบว่า มีภูเขาไฟขนาดใหญ่ระเบิดในที่ ห่างไกลออกไป ปรากฏการณ์ที่เกิดที่อาณาจักรเซี่ย เรียกว่าฤดูหนาวหลังจาก ภูเขาไฟระเบิด ใน 1,698 - 1628 ปีก่อนคริสศักราช 1675–1646 ปีก่อนคริสศักราช ซางทัง ผู้นำรัฐชางทางตะวันออกที่กำ ลังรุ่งเรือง เขาได้อ้างปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นนี้ หาเสียงสนับ สนุนในการโค่นล้มราชวงศ์เซี่ย ซึ่งก็ได้รับจากรัฐเล็กต่าง ๆ กว่า 40 รัฐ ซางทังกล่าวต่อผู้สนับสนุนว่าสวรรค์มีบัญชาให้เขาโค่นล้มราชวงศ์เซี่ย เขาไม่ประสงค์จะสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่ก็จำเป็นต้องทำตาม อาณัติ สวรรค์ เมื่อเซี่ยเจี๋ยทำความชั่วช้าสามาน ฟ้าดินจึงลงทัณฑ์ เพื่อยุติความชั่วร้าย ที่เซี่ยเจี๋ยก่อขึ้นทำให้หมดบุญวาสนาที่จะปกครองแผ่นดิน แม้แต่แม่ทัพนายกอง ของเซี่ยเองก็ไม่ฟังคำสั่งของเซี่ยเจี๋ยอีก เซี่ยเจี๋ยอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว จากนั้น ซางทังนำกองทัพปราบปรามดินแดนที่เป็นมิตรกับราชวงศ์เซี่ย ทางตะวันออก ในปีรัชกาลที่ 31 รัฐชางทัพทหารจากเมืองเอ๋อร์ไปตีที่เมืองหลวงของ ราชวงศ์เซี่ย และรัฐคุนอู๋พร้อมกัน โดยรัฐคุนอู๋ถูกพิชิตอย่างรวดเร็ว แล้วจึงโจม ตีเมืองหลวงของราชวงศ์เซี่ย เมื่อราชสำนักเซี่ยพ่ายแพ้ก็ถอยทัพหนีไปตั้งมั่นอยู่ริมแม่น้ำฮวงโห ของ เมืองอันอี้ กองทัพรัฐชางรุกไล่ไปตีกองทัพเซี่ยที่เหลือ เซี่ยเจี๋ยถอยทัพหนีไป เมืองหมิงเถียว ซางทังยกกองทัพตามไปรบที่เมืองหมิงเถียว
นักประวัติศาสตร์ เรียกว่า ยุทธการหมิงเถียว ซึ่งขณะทำสงครามเกิด พายุใหญ่ แต่ทั้งสองรัฐก็มิยอมยุติการทำสงคราม ในที่สุดกองทัพเซี่ยก็พ่าย แพ้ราบคาบ เซี่ยเจี๋ยลี้ภัยไปอยู่ยังรัฐซานซง ขุนพลอู้จื่อยกกองทัพออกติดตามล่า เซี่ยเจี๋ย และจับตัวได้ที่รัฐเจี้ยโอเมน ซางทังได้ถอดตี้เซี่ยเจี๋ยออกจากการเป็น ราชาและเนรเทศไปอยู่รัฐหนานจ้าว พร้อมทั้งกักบริเวณไม่ให้ผู้ใดเข้าพบ ภายหลัง เซี่ยเจี๋ยล้มป่วยจนเสียชีวิต ถือเป็นการสิ้นสุดรางวงศ์เซี่ยที่ยาว นานกว่า 500 ปี ซางทังเรียกประชุมนครรัฐต่างๆ สถาปนาราชวงศ์ซางปกครอง แผ่นดิน และตั้งเมืองหลวงที่อินซวี หรือเมืองอันหยาง
.....จบยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย
คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า
✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ