ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป

-

เขียนโดย Domewriter

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.

  20 ตอน
  0 วิจารณ์
  10.05K อ่าน

แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

4) ยุคราชวงศ์เซี่ย 2

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ
ขนาดตัวอักษร เล็ก กลาง ใหญ่ ใหญ่มาก
1)  เซี่ยอวี่
♢ 2194 - 2149 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย             ปฐมกษัตริย์ เซี่ยอวี่  ประสูติ 2059 ปีก่อนคริสศักราช ที่หมู่บ้านเป่ยฉวน ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเสฉวน แต่เดิม อวี่เป็นขุนนางในสมัยสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ในรัชกาลของตี้ชุ่น  ผลงานที่ยิ่งใ.หญ่ในการแก้ปัญหาอุทกภัย ทำให้ได้รับเลือก เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งตามประเพณีที่จะมอบให้แก่ผู้มีความสามารถคู่ควรเท่านั้น             อวี่ไม่พียงเป็นผู้ที่คิดค้นระบบชลประทานแก้ปัญหามหาภัยอุกกภัยน้ำ ท่วม ด้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์  เมื่ออวี่เป็นราชายังได้พัฒนารูปแบบการปกครอง ใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมจนได้รับยกย่องว่าเป็นมหาราชา             อวี่ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวง เป็น  “เซี่ย”  ถือเป็นการสิ้นสุดยุคสามราชา ห้าสมเด็จเจ้า เข้าสู่ยุคราชวงศ์เซี่ย             การตั้งชื่อเมืองหลวงว่า เซี่ย ของอวี่  ทำให้เกิดการตั้งชื่อตระกูลของ ตัวเอง หรือ แซ่เซี่ย ของตี้อวี่  เรียกว่า  ราชาเซี่ยอวี่ และตั้งแต่นั้นมาก็ทำให้ประ- ชาชนเริ่มตั้งแซ่ และ ชื่อ  สืบทอดสายตระกูลต่างๆ             เซี่ยอวี่ปกครองประเทศด้วยความพากเพียร ตั้งระบบเขตปกครองใหม่ โดยแบ่ง อาณาเขตแคว้นเป็น 9 เขต  ทำให้สังคมพัฒนาก้าวไปสู่การเริ่มต้นยุค สมัยใหม่และจากเดิมที่มีการแบ่งปันผลผลิตให้ทุกชนเผ่า และผู้คนในแต่ละเผ่า โดยเท่าเทียม ได้เปลี่ยนเป็นราชาและหัวหน้าของทุกชนเผ่าในอาณาจักรมีศักดิ์ ฐานะอำนาจที่จะเรียกเก็บรวบรวมผลิตผลจากประชาชนมาเป็นทรัพย์สินของส่วน กลาง เพื่อไว้ใช้ในการสู้ระหว่างเกิดสงครามกับอาณาจักรของชนเผ่าอื่นๆ              และเริ่มมีการแต่งตั้งยศตำแหน่ง ถือเป็นการเริ่มต้นระบบขุนนาง มีการ มอบประโยชน์ตอบแทนให้ขุนนางที่ทำความดีความชอบ  
          เมื่อมีสงครามอาณาจักรฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามารุกรานอาณาจักร  และหาก ฝ่ายตรงข้ามพ่ายแพ้และถูกจับก็มีฐานะเป็นทาสต้องรับใช้ตระกูลชั้นผู้ดี ก่อเกิด ระบบวรรรณะทาสและชนชั้นต่างๆ ขึ้น            การแลกเปลี่ยนค้าขายและการครอบครอง  ทำให้เกิดการแบ่งชั้นฐานะ ยากจนและชั้นผู้ดีที่ร่ำรวยที่ต้องแบ่งมอบทรัพย์ตามส่วนให้แก่ส่วนกลางซึ่งถือ เป็นราชสำนัก หรือ รัฐบาล            ราชาเป็นผู้ที่อยู่จุดสูงสุดที่มีอำนาจและทรัพย์ที่ได้จากประชาชน  ฝ่าย ขุนนางเป็นผู้รับใช้ ช่วยเหลือราชาดูแลบ้านเมือง  ส่วนประชาชนเป็นผู้แบ่งมอบ ทรัพย์สินให้แก่ส่วนกลางใช้ดูแลบ้านเมือง            บันทึกพงศาวดารไม้ไผ่ได้บันทึกเหตุการณ์ในการครองราชย์ของ เซี่ยอวี่ไว้ว่า ในช่วงแรกองค์รัชทายาทไม่ได้ถูกกำหนดโดยราชา แต่เนื่องจาก เป็นความต้องการของขุนนางและประชาชน ทำให้มีการเริ่มต้นประเพณี สืบต่อ ราชบัลลังค์ทางเชื้อสายของราชา
          เมื่อตี้เซี่ยอวี่แก่ชราก็คิดที่จะยกราชสมบัติให้ โป๋อี้ ที่ เป็นขุนนางผู้หนึ่ง เพราะเห็นว่ามีสติปัญญาสมควรที่จะครองราชย์สืบต่อจากตน            เมื่อเซี่ยอวี่ใกล้สิ้นพระชนม์แสดงเจตจำนงยกราชบัลลังค์ให้กับโป๋อี้ แต่ เขากลับไม่ยอมรับตำแหน่งหัวหน้าเผ่าหรือราชา โดยอ้างว่าตนเองเป็นขุนนางผู้ น้อยที่รับราชการมาเพียง 3 ปี ดังนั้นเหล่าขุนนางจึงเห็นสมควรให้พระโอรสของ เซี่ยอวี่ คือ องค์ชายฉี่ เป็นผู้ขึ้นครองราชย์บัลลังค์            องค์ชายฉี่ จึงได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากเซี่ยอวี่ และตั้งแต่นั้นเป็นต้น มา ระบบคัดเลือกจักรพรรดิขึ้นมาเป็นผู้นำชนเผ่า โดยการเลือกตั้งคนดีมีความ สามารถก็ถูกยกเลิก   และเปลี่ยนมาใช้ระบบสืบทอดอำนาจปกครองโดยใช้เชื้อ สายราชวงศ์เป็นหลัก            ราชวงศ์เซี่ยจึงนับได้ว่าเป็นราชวงศ์แรกที่สร้างระบบทาสและเป็นราช วงศ์แรกของจีนที่มีการสืบราชบัลลังก์โดยสายโลหิตของประวัติศาสตร์จีน            นักประวัติศาสตร์จีนได้ยกย่องตี้เหยา ตี้ซุ่น และตี้อวี่  ทั้งสามคนว่าเป็น บุคคลสำคัญใน การพัฒนาวัฒนธรรมในยุคต้นของจีน จักรพรรดิทั้งสามถือเป็น หัวหน้าเผ่าที่ก่อตั้งระบบการปกครองที่เป็นหนึ่งเดียว และมีระบบลำดับชั้นในช่วง ยุคเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมศักดินา
           ☆ ตำราลั่วซู  ตำนานเมื่อครั้งบรรพกาล ว่า อวี่ ประสบปัญหาอุทกภัยมี มังกรแบกภาพใบหนึ่ง เรียกว่า ภาพเหอถู โผล่มาจากแม่น้ำฮวงโห  พร้อมทั้งมี ตะพาบวิเศษคาบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นจากลำน้ำลั่วสุ่ยเป็นตำราลั่วซู             อวี่อาศัยภาพและคำสอนในตำราปรับเปลี่ยนขุนเขาทางน้ำแก้ปัญหา อุทกภัยทั้ง 9 แคว้นสำเร็จ หลังจากนั้นอวี่ได้นำความรู้ในภาพเหอถูและตำรา ลั่วซูมาเขียนเป็นตำราเหลียงซานขึ้นเป็นความหมายว่าเชื่อมต่อแม่น้ำภูเขา                  เมื่อตี้เซี่ยอวี่เสียชีวิต  บุตรชายคือ เซี่ยฉี ก็ขึ้นเป็นราชาราชวงศ์เซี่ย  เทิดทูนตำราเหลียงซานเป็นคัมภีร์วิเศษ ใช้เสี่ยงทายทำนายโชคเคราะห์
 
2)  เซี่ยฉี่
♢ 2146 - 2117 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย            ราชาองศ์ที่ 2  เซี่ยฉี่  เป็นโอรสของอวี่และพระนางหนี่เจียว  ประสูติ 2200 ปีก่อนคริสศักราช สวรรคต 2149 ปีก่อนคริสศักราช ครองราชย์ 2025 ปีก่อนคริสศักราช นาน 29 ปี  มีโอรสคือ องค์ชายไท่คัง  
           ในปีแรกของการครองราชบัลลังค์ ตี้เซี่ยฉี ได้สั่งให้มีงานฉลองที่ยิ่ง ใหญ่ เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่างๆ  มาร่วมในงานเลี้ยงพิธีรับ ตำแหน่งราชาองค์ใหม่ ทั้งในเมืองหลวงเก่าและเมืองหลวงแห่งใหม่                     ราชวงศ์เซี่ยพัฒนาระบบปกครองใหม่  โดยการยึดครองทรัพย์สินมาไว้ ในคลังส่วนการฝ่ายปดครอง  ส่วนพระองค์เพื่อใช้ทำสงครามและอื่นๆ ทำให้สัง คมยุคเก่าที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะจะถูกแบ่งโดยทั่วถึงเท่าเทียม   ถูกแทนที่ ด้วยสังคมที่ทุกผู้คนสามารถยึดดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ก่อให้เกิดวัฒน ธรรมใหม่ในสังคมนั้น มักต้องเผชิญกับการต่อต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ ที่เรียกว่า พวกหัวโบราณ            ชนเผ่ากลุ่มฮู่ซื่อ เป็นหนึ่งในกลุ่มชนเผ่าที่ไม่พอใจที่ ตี้เซี่ยฉี่ที่ยกเลิก ระบบการคัดสรรราชา จากผู้มีความสามารถ เพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำ ตามระบบ ปกครองที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงพิธีราชาภิเษกนั้น            ป่อยี ผู้นำชนเผ่าฮู่ซื่อ จึงถูกลงโทษคุมขังคุก และในปีต่อมา  ป่อยีก็ พ้นโทษและได้คืนตำแหน่งผู้นำเผ่าฮู่ซื่อ            ป่อยีก็ทำกสรก่อการกบฏต่ออาณาจักรเซี่ยทันที  โดยขอร่วมจาก ชนเผ่าหู  แม้ว่าผู้นำเผ่าหูไม่เห็น ด้วยกับเผ่าฮู่ซื่อ แต่องค์ชายของเผ่าหูที่สนับ สนุนป่อยีจึงก่อกบฏยึดครองเผ่าหู             ตี้เซี่ยฉี่ได้ทรงนำทัพไปปราบปรามองค์ชายของเผ่าหูก่อกบฏที่ดิน แดนซางซู            และในปีที่ 6 ตี้เซี่ยฉี่นำกองทัพออกไปปราบชนเผ่าฮู่ซื่อ โดยทำศึกกัน ที่ดินแดนที่เรียกว่า กาน  ชนเผ่าฮู่ซื่อพ่ายแพ้ ทำให้ระบบการปกครองใหม่ เป็น ที่ยอมรับโดย ดุษฏี            แม้ป่อยีพ่ายแพ้เสียชีวิต แต่ตี้เซี่ยฉี่ก็ได้ทรงประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้ เป็นอนุสรณ์ของนักรบที่มีความกล้าหาญ           ในปีที่ 8  ตี้เซี่ยฉี่ทรงส่งเหมิงตู ขุนนางคนหนึ่งสู่เมืองปาเพื่อไปตัดสิน คดีรายหนึ่ง ทำให้พระองค์มีชื่อเสียงในด้านการปกครองที่เที่ยงธรรม           ระบบการปกครองแบบใหม่ค่อยๆ พัฒนาขึ้น พร้อมกับผู้ปกครองคนใหม่ ที่ต้องเผชิญ     ปัญหาการขาดประสบการณ์ในการปกครองและอำนาจที่มาจาก การเรี่ยไรหรือยึดครองทรัพย์สินจากประชานมาเป็นของราชสำนัก หรือ รัฐบาล           ในช่วงแรกเริ่มของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในทุกยุคสมับ ผู้นำใหม่ มักเริ่มต้นด้วยการขูดรีด แย่งชิงอย่างรุนแรง     เนื่องจากจักรพรรดิใหม่มีความ ต้องการสร้างสิ่งใหม่ให้สมกับฐานะของตนเอง   ทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยงการเกิด การแย่งชิงผลประโยชน์ และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันได้           ตี้เซี่ยฉี่ปกครองเป็นเวลาประมาณ 9 -10 ปี ก็เสด็จสวรรคต โอรสทั้ง 5 คนก็แย่งชิงอำนาจกัน และองค์ชายไท่คังสามารถช่วงชิงอำนาจได้ขึ้นครอง ราชบัลลังก์แห่งราชวงศ์เซี่ย
 
3)  เซี่ยไทฉี่
♢ 2117 - 2088 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย            ราชาองค์ที่ 3  เซี่ยไท่คัง เป็นโอรสของเซี่ยฉี่ และเป็นพระนัดดาของ เซี่ยอวี่และนางนูเจา           เซี่บไท่คังไม่สนใจดูแลกิจการงานบ้านเมือง ปกครองอาณาจักร ได้ไม่ ดีนัก ชอบการล่าสัตว์และหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูก ตี้อี้ ผู้นำของรัฐฉง หรือฉิ้น เข้ารุกราน            บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า เซี่ยไท่คังครองราชย์ได้ 21 ปี ก็สวรรคต โดยจมน้ำตายในระหว่างการทำสงคราม องค์ชายเส้าคังโอรสผู้เป็นรัชทายาท ได้หลบหนีไปรัฐโหย่วหวี
 
4)  เซี่ยจังคัง
♢ 2088 – 2075 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย           ราชาองค์ที่ 4  เซี่ยจ้งคัง เป็นโอรสของเซี่ยฉี่ และพระอนุชาของเซี่ยไท่ คัง          ในปีที่ 5 ของรัชกาลได้เกิดสุริยุปราคาขึ้น     โหรหลวงได้ทำนายว่าบ้าน เมืองจะเสื่อมถอย เนื่องด้วยองค์ราชาลุ่มหลงในสุรานารี เซี่ยจังคังได้ยินก็โกรธ กริ้วสั่งประหารโหรหลวง            เซี่ยจังคังครองราชย์ได้ 13 ปี ก็เสด็จสวรรคตองค์ชายเซียงขึ้นสืบราช สมบัติ
 
5)  เซี่ยเซียง
♢ 2075 - 2047 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย            ราชาองค์ที่ 5  เซี่ยเซียง เป็นโอรสของเซี่ยจ้งคัง และพระนัดดาของ เซี่ยไท่คังผู้เป็นพระปิตุลา             ตี้อี้ ผู้นำแห่งรัฐฉงเข้ารุกรานเทำสงครามทำให้แคว้นเซี่ยอีกครั้ง เซี่ยเซียงครองราชย์ได้ 28 ปี ก็สวรรคต ระหว่างทำสงครามกับรัฐฉง            องค์ชายเซ่าคังผู้เป็นรัชทายาทได้ลี้ภัยสงครามไปอาศัยอยู่ที่รัฐโหย่วหวี และไม่มีการแต่งตั้งราชาแห่งรัฐเซี่ยองค์ใหม่ เป็นยุคแผ่นดินที่ไม่มีจักรพรรรดิ ตั้งแต่ 2047 -  2007 ปีก่อนคริสตกาล เป็นเวลา 40 ปี            เมื่อตี้อี้ผู้นำแคว้นฉงถูกหานจั๋ว  แม่ทัพของเขาทำการกบฏสังหารเสีย  ชีวิตองค์ชายเซ่าคังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐโหยว่วีรวบรวมกำลังทหารอาศัย ช่วงเวลาที่แม่ทัพหานจั๋วของรัฐฉงก่อการกบฏนำกองทัพเข้ากอบกู้ราชวงศ์เซี่ย กลับคืนมา             
           บันทึกประวัติศาสตร์เรียกเหตุการณ์ในสมัยราชวงศ์เซี่ยที่ไร้กษัตริย์ปก ครองว่า ไท่คังเสียเมือง อี้ยึดครองเซี่ย และ เซ่าคังฟื้นฟูเซี่ย￿    
 
 6)  เซี่ยเซ่าคัง
♢ 2007 - 1985 BC :  ยุคราชวงศ์เซี่ย             ราชาองค์ที่ 6  เซี่ยเซ่าคัง หรือ เส้าคัง  เป็นโอรสของเซี่ยเซียงกับ พระนางจื้อ เซี่ยเซ่าคังครองราชย์ได้ 21 ปี ก็เสด็จสวรรคตองค์ชายจู้ขึ้นสืบ ราชบัลลังค์
 
7)  เซี่ยจู้
♢ 1985 - 1968 BC : ยุคราชวงศ์เซี่ย           ราชาองค์ที่ 7  เซี่ยจู้ เป็นโอรสของเซี่ยเซ่าคัง           ในปีที่ 5 ของรัชกาล  พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหยวนไปที่ เมืองเล่าสู           ในปีที่ 8 ของรัชกาล  วิชาต่อสู้ที่เรียกว่า วูซู หรือ กังฟู หรือ มวยจีนเกิด ขึ้นครั้งแรก           ☆  วูซู เป็นศิลปะการต่อสู้ของจีน  เมื่อมีการแพร่ขยายออกไปมากกว่า หนึ่งศตวรรษ รูปแบบการต่อสู้ของวูซูได้พัฒนาเป็น กังฟู ซึ่งมีรูปแบบที่แต่งต่าง กัน แยกตามลักษณะการต่อสู้และร่วมกันตั้งกลุ่มหรือสำนัก            ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟูเป็นการใช้ออกกำลังกายที่เกิดจากการจำลอง ลักษณะการเคลื่อนไหวของสัตว์ป่า และแรงบันดาลใจจากหลักคำสอนในปรัช ญาจีน, ศาสนาและตำนานต่างๆ   
          การต่อสู้ลักษณะที่มุ่งเน้นการเคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับพลัง งานที่เกิดจากภายในร่างกาย  เกิดหลักการใช้สมาธิในการพัฒนาการฝึกกังฟู ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดกำกับสอดรับกับภายนอก
           เซี่ยจู้ครองราชย์ได้ 17 ปี ก็เสด็จสวรรคต องค์ชายไหวขึ้นครองราช บัลลังค์
 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา