ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป
-
เขียนโดย Domewriter
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.
20 ตอน
0 วิจารณ์
10.03K อ่าน
แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า
2) ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า 2
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ1) ราชาโหย่วเฉา
♢ 3162 - 2962 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า
โหย่วเฉา หรือ ต้าเฉา คำว่า ต้า แปลว่า ใหญ่ ปรากฏในตำนานเทพปรัม ปราจีนที่เรียกว่า ซื่อชื่อ กล่าวถึงบุคคล 4 คน ที่ช่วยสร้างโลกในยุคแรกของแผ่น ดินจีน และสืบเชื้อสายแห่งราชา ประกอบด้วย โหย่วเฉา, ซุ่ยเหริน, ฝูซี, และเฉินหนง โหย่วเฉา เป็นผู้คิดค้นการสร้างอาคารบ้านเรือนตามตำนานปรัมปราจีน โดยสอนให้ ผู้คนใช้ไม้ทำอาคารบ้านเรือน เพื่อหลบเลี่ยงภัยจากสัตว์ป่าจนเป็น ที่นับถือของประชาชน โหย่วเฉามีอายุยืนยาวถึง 200 ปี แต่ไม่พบหลักฐานของผู้สืบตระกูล โหยวที่ปรากฏเป็นหลักฐาน เนื่องในยุคแรกเริ่มนั้นยังไม่มีการใช้สกุล
2) ซุ่ยเหริน
♢ 2962 - 2852 BC : ยุรสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ซุ่ยเหริน เป็น 1 ใน 4 บุคคลผู้สร้างโลกมีบันทึกปรากฏทั้งในหนังสือ ตำนานพื้น บ้านจีน และแบบเป็นภาพวาด ซุ่ยเหรินได้รับการยกย่องว่า เทพเจ้า ผู้แนะนำมนุษย์ให้รู้จักการผลิตไฟและการนำไปใช้ในการปรุงอาหาร สิ่งของที่ซุ่ยเหรินประดิษฐ์ขึ้น เช่น สว่าน คันธนู ซึ่งเป็นอารยธรรม ยุคแรกของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซุ่ยเหรินมีอายุยืนยาวถึง 110 ปี แต่ไม่พบหลักฐานของผู้สืบตระกูลซุ่ย ปรากฏเป็นหลักฐาน เนื่องในยุคแรกยังไม่มีการใช้สกุล
3) ฝูซี
♢ 2852 - 2737 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ฝูซี หรือ ฮอกฮี ชื่ออื่นว่า เผาซี เป็น 1 ใน 4 บุคคลผู้สร้างโลกเริ่มแรก ในตำนานเทพปกรณัมจีนที่ประชาชนนับถือปรากฏบนโลก พร้อมกับเทพีนหวี่วา ที่เป็นเทพีให้กำเนิดมนุษยชาติ ฝูซี สอนการมนุษย์ให้รู้จักการล่าสัตว์ การประมง การเลี้ยงสัตว์และ การประกอบอาหาร รวมถึงคิดค้นระบบการเขียนอักษร ภาพและสัญลักษณ์ใน ยุคเริ่มแรก ฝูซีมีอายุยืนยาวถึง 115 ปี แต่ไม่พบหลักฐานของผู้สืบตระกูลฝู ปรากฏ เป็นหลักฐาน เนื่องในยุคแรกจากยังไม่มีการใช้สกุล
4) เฉินหนง
♢ 2737 - 2698 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าหยาน หรือ เฉินหนง เป็น 1 ใน 4 บุคคลผู้สร้างโลกแรกเริ่ม ซึ่งประชาชน นับถือกันในฐานะเทพเจ้ากสิกรรม หรือ เทพเจ้าห้าธัญพืช เฉินหนงนำเขาสตส์ที่แหลมคมติดกับทองสัมฤทธิ์ทำเป็นหมวกครอบ ศรีษะ ซึ่งคล้ายกับชนเผ่าไวกิ้งทางยุโรปตะวันตก
เฉินหนงสอนชาวจีนเพาะปลูกและคิดค้นเครื่องมือในการทำการเกษตร หลายอย่าง เช่น จอบ, คันไถ, ขวาน, บ่อน้ำ, ชลประทาน, การรักษาอายุเมล็ด พันธุ์พืชโดยใช้ปัสสาวะม้า ต้มสุก เป็นต้น ทางด้านวิชาแพทย์จีน เช่น ยาสมุนไพร, การจับชีพจร, การฝังเข็ม และ การรมยา เป็นต้น เฉินหนงเป็นผู้คิดค้นปฏิทินกำหนดวันนขัตฤกษ์ในการจัดพิธีกรรมเกี่ยว กับฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล และสร้างตลาดนัดวันหยุดแหล่งขายผลิตผลทางเกษตร กรรม ประชาชนจึงนับถือ เฉินหลงเสมือนเทพเจาในอีกชื่อหนึ่งว่า เทพเจ้าแห่ง ลมร้อน เนื่องจากความคิดของเฉิงหนงในการเกษตรแบบเผาไร่เผ่าป่ามาทำเป็น สวนและที่นา เฉินหนงปกครองประชาชน 39 ปี นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เฉินหนง มี บุตรหลานเป็นผู้สืบทอดอำนาจหัวหน้าชนเผ่า โดยเฉินหนงเป็นบิดาหรือไม่ก็ เป็นญาติของจักรพรรดิเหลือง ผู้ที่ได้รับสืบทอดความลับเกี่ยวกับการแพทย์, ความเป็นอมตะ และการสร้างทองคำ เป็นต้น
ดังนั้นเฉินหนงผู้เป็นต้นตระกูลของสมเด็จเจ้าเหลืองจึงถูกเรียกว่าสมเด็จ เจ้าหยวน
5) สมเด็จเจ้าเหลือง
♢ 2696 – 2598 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า 1 ใน 5 สมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าเหลือง หรือ หวังเหลือง คำว่า หวัง แปลว่า ราชาหรือ สมเด็จเจ้า ต่อมาใช้เรียกตำแหน่งอ๋อง
บางบันทึกประวัติศาสตร์นับหวังเหลืองเป็น 1 ใน 3 ราชา หวังเหลืองได้ รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์และนวัตกรรมจำนวนมากและถือเป็นผู้ริเริ่ม อารยธรรมจีนในยุคแรกที่มีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นเผ่า เรียกว่า หัวเซี่ย สมเด็จเจ้าเหลืองคิดค้นระบอบการปกครองที่ถือเป็นต้นกำเนิดของระบบ รัฐบาล หรือ ราชสำนัก แบบรวมศูนย์อำนาจ โดยผู้ปกครองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และการอุปถัมแบบลับๆ ซึ่งต่อมาฮ่องเต้ในยุคราชวงศ์ฮั่นได้นำไปใช้ในการตั้ง ระบบปกครองแผ่นดิน ครอบครัวของสมเด็จเจ้าเหลือง ประกอบด้วย บิดาชื่อ จวนซู่ และมารดา ชื่อฟูเปา, ภรรยาทั้งหมดมี ลิซู , เฟียงลิ, ทองยู , โมมู เป็นต้น บุตรชายทั้งหมด มี จินเทียน, ชางยิ เป็นต้น
☆ กระบี่ซวนหยวนซ่าอวี่ เป็นกระบี่แห่งความกล้าหาญ ปัญญา และ เมตตา ตำนานเล่ากันว่า เทพต่างๆ บนสวรรค์นำสสารจากภูเขาต่างๆ มาทำกระบี่ เล่มนี้ให้กับหวางตี้ ด้ามกระบี่มีภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ต้นหญ้า ส่วนตัวกระบี่บันทึกวิธีทำนา เลี้ยงสัตว์ และการปกครอง ต่อมา กระบี่เล่มนี้สืบทอดถึงราชาเซี่ยอวี่และหายสาปสูญไป ในสมัยของสมเด็จเจ้าเหลืองเกิดสงครามกับผู้นำของชนเผ่าจิ่วหลี หรือ ชาวม้ง ชื่อ ชือโหยว สงครามจบลงด้วยสมเด็จเจ้าเหลือง ด้ชัยชนะ บันทึกประวัติศาสตร์เล่าว่า ชือโหยวเป็นปีศาจที่มีหน้าผากศีรษะเป็นทอง แดง มี 4 ตา 8 แขน ทุกมือถืออาวุธแหลมคม บางครั้งก็ปรากฏตัวเป็นปีศาจที่มี ศีรษะเหมือนวัวกระทิงมีสองเขา เป็นปีศาจมีความเฉลียวฉลาดและนิสัยดุร้าย แต่ ชอบแปลงกายเป็นมนุษย์และล่อลวงมนุษย์ให้ทำสงคราม มีพี่น้องทั้งหมด 81คน นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่า การแต่งกายที่ประหลาดจนเหมือนเป็น ปีศาจของ ชือโหยว เกิดจากการเลียนแบบเฉินหนงที่เป็นบรรพบุรุษของสมเด็จ เจ้าเหลือง ซึ่งชือโหยว อาจสืบเชื้อสายจากเฉินหนงหรือญาติซึ่งเป็นบรรพบุรุษ ของชือโหยว เพราะมีการแต่งกายที่เหมือนกันคือ ศีรษะเหมือนวัวเป็นเขาแหลม บนศีรษะ มีหน้าผากเป็นทองสัมฤทธิ์ และมีกระโหลกศีรษะเป็นโลหะคล้ายกับการ แต่งกายของเฉินหนง สมเด็จเจ้าเหลืองปกครองประชาชนได้ 100 ปี ต่อมา บุตรชายเฉ่าเฮ่า และชางอี้ เป็นผู้สืบทอดการปกครอง โดยเฉ่าเฮ่า บุตรคนโตได้เป็นผู้นำของชาว เผ่าหัวเซี่ย
6) เช่าเฮ่า
♢ 2597 - 2514 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ตี้เช่าเฮ่า บ้างเรียกว่า จินเทียน คำว่าตี้ หมายถึง ราชา เป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าเหลือง แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์บางฉบับระบุว่า เป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าอื่นในยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า นักประวัติศาสตร์บางคนนั้น เชื่อว่า เช่าเฮา เป็นบุคคลที่ไม่มีอยู่จริงใน ประวัติศาสตร์ในครั้งเมื่อบันทึกไม้ไผ่ต้นฉบับสูญหาย บัณฑิตหลิวซิน ผู้บันทึก ประวัติศาสตร์สร้างชื่อ เช่าเฮ่า เพิ่มเข้าไปในลำดับผู้ปกครอง เพื่อให้เนื้อหามี ความสมบูรณ์ เช่าเฮ่าปกครองประชาชนได้ 83 ปี มีบุตรชื่อ เจี่ยวจี๋ แต่จวันซวี บุตร ชายของชางอี้ ถูกเลือกให้ไเป็นผู้ปกครองชนเผ่า เริ่องราวเจี่ยจวี๋มีปรากฏเป็น บันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยมาก ทำให้แทบไม่สามารถระบุเหตุการณ์ เกี่ยวข้อง กับเจี่ยจวี๋ได้
7) จวันซวี
♢ 2514 - 2436 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ตี้จวันซวี หรือ เกาหยาง บันทึกทางประเพณีตามที่ซือหม่าเชียนจัดทำ ขึ้นนั้น ระบุไว้ว่า จวันซวีติดตามบิดาและคนในเผ่าโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวัน ออก คือ มณฑลชานตงในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ระบุสาเหตุการย้ายถิ่น
จวันซวีสมรสกับตระกูลตงอี๋ที่เป็นผู้มีอิทธิพลที่อาศัยในดินแดนแถบนั้น ทำให้อิทธิพลทวีขึ้นตามลำดับ ครอบครัวของจวันซี ประกอบด้วย สมเด็จเจ้าเหลือง (ปู่) เหลย์จู่ (ย่า) บิดาชื่อ ชางอี้และมารดาชื่อ ชางผู บุตรชายคนโต ฉยงฉาน, บุตรคนทีสอง กู่ แห่งต้นตระกูลฉู่, บุตรคนที่สามไม่ปรากฏนาม, บุตรคนที่สี่ เชิง, บุตรคนที่ห้า เถาอู้, บุตรคนที่หก หวังเหลี่ยง, ญาติพี่น้อง คู่ ผู้สืบเชื้อสายของเจี่ยจวี๋ จวันซวี อายุ 20 ปี ได้เป็นผู้นำชนเผ่าในสมเด็จเจ้า เป็น เวลา 78 ปี จน ถึงแก่กรรม คู่ เป็นผู้มีสิทธิใน การสืบทอดจำแหน่งราชา แต่ญาติพี่น้อง ชื่อ ชูวี ผู้สืบเชื้อสายจากเฉินหนงก็ก่อการกบฏ คู่ ปราบปราม ชูวี ลงได้ จากนั้น คู่ก็ได้ การยอมรับจากคนในชนเผ่าให้ขึ้นเป็นราชา
ราชวงศ์หลายตระกูลหลายในประวัติศาสตร์มักอ้างว่า จวันซวี เป็นบรรพ บุรุษของตนเอง เช่น ตระกูลหมี่ของรัฐฉู่กับรัฐเยว่, ตระกูลหยิงของรัฐฉิน, และ ตระกูลเฉาของรัฐเว่ย์
8) คู่♢ 2436 - 2366 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าคู่ หรือ หวังคู่ มีอีกพระนามว่า สมเด็จขาว หรือ เกาซิน หรือ เกาซินจื้อ บุตรชายของคู่ มี จื้อ, เซี่ย, เหยา, โฮ้วจี้ และจิ้ง เป็นต้น
ในสมัยของสมเด็จเจ้าคู่มีการติดต่อสัมพันธไมตรีกับชนเผ่าอื่นๆ ที่อยู่ข้าง เคียงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบุตรของตี้คู่ หลายคนไม่มีปรากฏเป็นบันทึกหลักฐาน ทำให้ไม่สามารถระบุเหตุการณ์เกี่ยวข้องได้ หวังคู่ ครองราชย์ได้ 45 ปี ได้แต่งตั้งองค์ชายเหยาที่เกิดกับภรรยาใน ตระกูลถังให้เป็นรัชทายาท หวังคู่ ทรงสวรรคต อายุ 70 ปี องค์ชายใหญ่จื้อก็ก่อกบฏทำสงคราม ช่วงชิงตำแหน่งราชาจากองค์ชายสองเหยา ซึ่งองค์ชายเหยาก็ยอมยกให้พี่ชาย ขึ้นเป็นราชา แทนโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อแต่ประการใด
9) จื้อ
♢ 2366 - 2358 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ตี้จื้อ ทรงได้ฉายาว่า ราชาแห่งเปลวเพลิง จากบันทึกประวัติศาสตร์ฉื่อจี้ ของซือหม่าเชียน ระบุไว้ว่า ตี้จื้อปกครองประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ผ่านไป 9 ปี ตี้จื้อก็ถูกองค์ชายเหยาก่อกบฏถอดจากตำแหน่งและเสียชีวิตในเวลาต่อมา องค์ชายเหยา อายุ 20 ปี ขึ้นเป็นราชาปกครองชนเผ่าอย่างทรงคุณธรรม
10) เหยา
♢ 2356 - 2255 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ราชาเหยา ชื่อเรียกอื่นว่า เถาถังซื่อ หรือ ถังเหยา เมื่อแรกเกิดมีนามว่า อีฟ่างซวินหรืออีฉี เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของหวังคู่ พื้นที่เกิดที่บริเวณเมืองเกาโหยว มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน แต่บางเอกสารระบุว่า เมืองเทียนฉาง มณฑลอานฮุย ตี้เหยาได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาราชาที่สมบูรณ์แบบ พระองค์มีความ เฉลียวฉลาด และมีคุณธรรมในการปกครอง ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างแก่ราชาของ ชนเผ่าต่างๆ ครอบครัวของตี้เหยา ประกอบด้วย ฮองเฮาซ่าน พระสนมอี๋ มีบุตรชาย คือ ตานจู มีบุตรสาว คือ เอ๋อหฺวาง, นฺหวี่อิง เป็นต้น
ปลายสมัยของตี้เหยาได้เกิดอุทกภัยร้ายแรง แม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโห ที่เรียกว่า แม่น้ำเหลืองทีมานานกว่า 4,000 ปีก่อน น้ำในแม่น้ำล้นท่วมแผ่นดิน ไร่นาและบ้านเรือนถูกน้ำท่วม ชาวบ้านต้องย้ายไปอยู่บนภูเขาสูง ตี้เหยาเรียกเรียกหัวหน้าเผ่าต่างๆ มาประชุม เพื่อปรึกษาหารือแก้ปัญหา อุทกภัยนี้ บรรดาหัวหน้าเผ่าต่างก็เสนอชื่อให้ “กุ่น” ซึ่งไปหาทางแก้ไข กุ่นใช้เวลา 9 ปี ใช้วิธีถมดินปิดกั้นทางน้ำไหล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และกลับทำให้อุทกภัยร้ายแรงยิ่งขึ้น ทั้งมีการฟ้องร้องว่ามีการทุจริต จึงถูกคุ้ม ขังในคุก
ตี้เหยาปกครองได้ 101 ปี ก็มอบตำแหน่งราชาให้กับซุ่น หลานชายที่ สมรสกับพระธิดาของพระองค์ทั้ง 2 คน บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า ตี้เหยา มอายุ 119 ปี จึงสวรรคต
11) ชุ่น
♢ 2255 - 208 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า
ตี้ชุ่น หรือ ฉงหฺวา ปกครองชาวเปล เผ่าหัวเซี่ย หลังจากตี้ซุ่น เป็นผู้นำ ชนเผ่าก็ได้สั่งให้ลงโทษประหารชีวิตกุ่น และมอบหมายให้ อวี่ หรือ อี่ ลูกชาย ของกุ่นไปแก้ปัญหาอุทกภัยไม่เช่นนั้นจะถูกประหารเช่นเดียวกับบิดา อวี่ ได้รับบทเรียนจากความล้มเหลวของบิดาตนที่ใช้ทำนบปิดกั้นทาง น้ำไหลไม่ได้ ผล อวี่จึงใช้วิธีขุดคลองระบายน้ำที่ท่วมอยู่ให้ ไหลลงทะเลและ ขุดลอก แม่น้ำเพื่อระบายน้ำ
อวี่ได้สำรวจทางน้ำและสร้างแผนที่ขึ้นมาก่อน แล้วจึงขุดคลองระบาย น้ำ ให้น้ำที่ท่วมใหลออกไปสู่ทะเล อวี่ขุดดินหาบดินด้วยตัวเองอย่างมุ่งมั่น ทั้ง นำพลเมืองที่มาร่วมกันขุดคลองแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยตนเอง อวี่ยังได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดหลายชนิดขึ้นใช้ ตลอดจนวิธีการรังวัด และเขียนผังหลายอย่าง
ในขณะที่ตี้ชุ่นมีคำสั่งให้อวี่เป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขน้ำท่วมใหญ่ อวี่พึ่ง แต่งงานได้ไม่นานก็ต้องเดินทางออกจากบ้าน เขาทำงานหนัก เพื่อแก้ปัญหา น้ำท่วม เขาไม่เคยผ่านไปที่หน้าบ้านเกินกว่าสามครั้ง และก็ไม่ได้แวะเข้าบ้าน เลยแม้สักครั้ง ในครั้งหนึ่ง ขณะที่เขาผ่านหน้าบ้านนั้น ภรรยาเขาได้คลอดลูกชายชื่อ ฉี่ พอดี แม้อวี่ได้ยินเสียงร้องไห้ของทารกแล้ว แต่ก็อดกลั้นใจไว้ไม่แวะเข้าบ้าน ของตน อวี่พยายามถึง 13 ปี จึงสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเล และปลูกพืชพันธุ์ธัญ ญาหารในไร่นาได้ และด้วยคุณงามความดีที่อวี่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ใน ครั้งนี้ อวี่จึงกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนทั่วไป ทำให้ตี้ซุ่นจึงได้มอบราชบัลลังก์ให้ อวี่ ความดีในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของอวี่นี้ ประชาชนในรุ่นหลัง ยังต่างยก ย่องสรรเสริญคุณงามความดีในการ แก้ไข ปัญหา อุทกภัยของอวี่ จึงเรียกเขาว่า ต้าอวี่ แปลว่า อวี่ผู้ยิ่งใหญ่
หลังจาก ตี้อวี่ปกครองชนเผ่าก็ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเซี่ย และสถาปนา ราชวงศ์เซี่ย ขึ้น เป็นอัน ลสิ้นสุดยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า
.....จบยุคสมัย 3 ราชา 5 สมเด็จเจ้า
♢ 3162 - 2962 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า
โหย่วเฉา หรือ ต้าเฉา คำว่า ต้า แปลว่า ใหญ่ ปรากฏในตำนานเทพปรัม ปราจีนที่เรียกว่า ซื่อชื่อ กล่าวถึงบุคคล 4 คน ที่ช่วยสร้างโลกในยุคแรกของแผ่น ดินจีน และสืบเชื้อสายแห่งราชา ประกอบด้วย โหย่วเฉา, ซุ่ยเหริน, ฝูซี, และเฉินหนง โหย่วเฉา เป็นผู้คิดค้นการสร้างอาคารบ้านเรือนตามตำนานปรัมปราจีน โดยสอนให้ ผู้คนใช้ไม้ทำอาคารบ้านเรือน เพื่อหลบเลี่ยงภัยจากสัตว์ป่าจนเป็น ที่นับถือของประชาชน โหย่วเฉามีอายุยืนยาวถึง 200 ปี แต่ไม่พบหลักฐานของผู้สืบตระกูล โหยวที่ปรากฏเป็นหลักฐาน เนื่องในยุคแรกเริ่มนั้นยังไม่มีการใช้สกุล
2) ซุ่ยเหริน
♢ 2962 - 2852 BC : ยุรสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ซุ่ยเหริน เป็น 1 ใน 4 บุคคลผู้สร้างโลกมีบันทึกปรากฏทั้งในหนังสือ ตำนานพื้น บ้านจีน และแบบเป็นภาพวาด ซุ่ยเหรินได้รับการยกย่องว่า เทพเจ้า ผู้แนะนำมนุษย์ให้รู้จักการผลิตไฟและการนำไปใช้ในการปรุงอาหาร สิ่งของที่ซุ่ยเหรินประดิษฐ์ขึ้น เช่น สว่าน คันธนู ซึ่งเป็นอารยธรรม ยุคแรกของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซุ่ยเหรินมีอายุยืนยาวถึง 110 ปี แต่ไม่พบหลักฐานของผู้สืบตระกูลซุ่ย ปรากฏเป็นหลักฐาน เนื่องในยุคแรกยังไม่มีการใช้สกุล
3) ฝูซี
♢ 2852 - 2737 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ฝูซี หรือ ฮอกฮี ชื่ออื่นว่า เผาซี เป็น 1 ใน 4 บุคคลผู้สร้างโลกเริ่มแรก ในตำนานเทพปกรณัมจีนที่ประชาชนนับถือปรากฏบนโลก พร้อมกับเทพีนหวี่วา ที่เป็นเทพีให้กำเนิดมนุษยชาติ ฝูซี สอนการมนุษย์ให้รู้จักการล่าสัตว์ การประมง การเลี้ยงสัตว์และ การประกอบอาหาร รวมถึงคิดค้นระบบการเขียนอักษร ภาพและสัญลักษณ์ใน ยุคเริ่มแรก ฝูซีมีอายุยืนยาวถึง 115 ปี แต่ไม่พบหลักฐานของผู้สืบตระกูลฝู ปรากฏ เป็นหลักฐาน เนื่องในยุคแรกจากยังไม่มีการใช้สกุล
4) เฉินหนง
♢ 2737 - 2698 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าหยาน หรือ เฉินหนง เป็น 1 ใน 4 บุคคลผู้สร้างโลกแรกเริ่ม ซึ่งประชาชน นับถือกันในฐานะเทพเจ้ากสิกรรม หรือ เทพเจ้าห้าธัญพืช เฉินหนงนำเขาสตส์ที่แหลมคมติดกับทองสัมฤทธิ์ทำเป็นหมวกครอบ ศรีษะ ซึ่งคล้ายกับชนเผ่าไวกิ้งทางยุโรปตะวันตก
เฉินหนงสอนชาวจีนเพาะปลูกและคิดค้นเครื่องมือในการทำการเกษตร หลายอย่าง เช่น จอบ, คันไถ, ขวาน, บ่อน้ำ, ชลประทาน, การรักษาอายุเมล็ด พันธุ์พืชโดยใช้ปัสสาวะม้า ต้มสุก เป็นต้น ทางด้านวิชาแพทย์จีน เช่น ยาสมุนไพร, การจับชีพจร, การฝังเข็ม และ การรมยา เป็นต้น เฉินหนงเป็นผู้คิดค้นปฏิทินกำหนดวันนขัตฤกษ์ในการจัดพิธีกรรมเกี่ยว กับฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล และสร้างตลาดนัดวันหยุดแหล่งขายผลิตผลทางเกษตร กรรม ประชาชนจึงนับถือ เฉินหลงเสมือนเทพเจาในอีกชื่อหนึ่งว่า เทพเจ้าแห่ง ลมร้อน เนื่องจากความคิดของเฉิงหนงในการเกษตรแบบเผาไร่เผ่าป่ามาทำเป็น สวนและที่นา เฉินหนงปกครองประชาชน 39 ปี นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เฉินหนง มี บุตรหลานเป็นผู้สืบทอดอำนาจหัวหน้าชนเผ่า โดยเฉินหนงเป็นบิดาหรือไม่ก็ เป็นญาติของจักรพรรดิเหลือง ผู้ที่ได้รับสืบทอดความลับเกี่ยวกับการแพทย์, ความเป็นอมตะ และการสร้างทองคำ เป็นต้น
ดังนั้นเฉินหนงผู้เป็นต้นตระกูลของสมเด็จเจ้าเหลืองจึงถูกเรียกว่าสมเด็จ เจ้าหยวน
5) สมเด็จเจ้าเหลือง
♢ 2696 – 2598 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า 1 ใน 5 สมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าเหลือง หรือ หวังเหลือง คำว่า หวัง แปลว่า ราชาหรือ สมเด็จเจ้า ต่อมาใช้เรียกตำแหน่งอ๋อง
บางบันทึกประวัติศาสตร์นับหวังเหลืองเป็น 1 ใน 3 ราชา หวังเหลืองได้ รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์และนวัตกรรมจำนวนมากและถือเป็นผู้ริเริ่ม อารยธรรมจีนในยุคแรกที่มีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นเผ่า เรียกว่า หัวเซี่ย สมเด็จเจ้าเหลืองคิดค้นระบอบการปกครองที่ถือเป็นต้นกำเนิดของระบบ รัฐบาล หรือ ราชสำนัก แบบรวมศูนย์อำนาจ โดยผู้ปกครองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด และการอุปถัมแบบลับๆ ซึ่งต่อมาฮ่องเต้ในยุคราชวงศ์ฮั่นได้นำไปใช้ในการตั้ง ระบบปกครองแผ่นดิน ครอบครัวของสมเด็จเจ้าเหลือง ประกอบด้วย บิดาชื่อ จวนซู่ และมารดา ชื่อฟูเปา, ภรรยาทั้งหมดมี ลิซู , เฟียงลิ, ทองยู , โมมู เป็นต้น บุตรชายทั้งหมด มี จินเทียน, ชางยิ เป็นต้น
☆ กระบี่ซวนหยวนซ่าอวี่ เป็นกระบี่แห่งความกล้าหาญ ปัญญา และ เมตตา ตำนานเล่ากันว่า เทพต่างๆ บนสวรรค์นำสสารจากภูเขาต่างๆ มาทำกระบี่ เล่มนี้ให้กับหวางตี้ ด้ามกระบี่มีภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ต้นหญ้า ส่วนตัวกระบี่บันทึกวิธีทำนา เลี้ยงสัตว์ และการปกครอง ต่อมา กระบี่เล่มนี้สืบทอดถึงราชาเซี่ยอวี่และหายสาปสูญไป ในสมัยของสมเด็จเจ้าเหลืองเกิดสงครามกับผู้นำของชนเผ่าจิ่วหลี หรือ ชาวม้ง ชื่อ ชือโหยว สงครามจบลงด้วยสมเด็จเจ้าเหลือง ด้ชัยชนะ บันทึกประวัติศาสตร์เล่าว่า ชือโหยวเป็นปีศาจที่มีหน้าผากศีรษะเป็นทอง แดง มี 4 ตา 8 แขน ทุกมือถืออาวุธแหลมคม บางครั้งก็ปรากฏตัวเป็นปีศาจที่มี ศีรษะเหมือนวัวกระทิงมีสองเขา เป็นปีศาจมีความเฉลียวฉลาดและนิสัยดุร้าย แต่ ชอบแปลงกายเป็นมนุษย์และล่อลวงมนุษย์ให้ทำสงคราม มีพี่น้องทั้งหมด 81คน นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่า การแต่งกายที่ประหลาดจนเหมือนเป็น ปีศาจของ ชือโหยว เกิดจากการเลียนแบบเฉินหนงที่เป็นบรรพบุรุษของสมเด็จ เจ้าเหลือง ซึ่งชือโหยว อาจสืบเชื้อสายจากเฉินหนงหรือญาติซึ่งเป็นบรรพบุรุษ ของชือโหยว เพราะมีการแต่งกายที่เหมือนกันคือ ศีรษะเหมือนวัวเป็นเขาแหลม บนศีรษะ มีหน้าผากเป็นทองสัมฤทธิ์ และมีกระโหลกศีรษะเป็นโลหะคล้ายกับการ แต่งกายของเฉินหนง สมเด็จเจ้าเหลืองปกครองประชาชนได้ 100 ปี ต่อมา บุตรชายเฉ่าเฮ่า และชางอี้ เป็นผู้สืบทอดการปกครอง โดยเฉ่าเฮ่า บุตรคนโตได้เป็นผู้นำของชาว เผ่าหัวเซี่ย
6) เช่าเฮ่า
♢ 2597 - 2514 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ตี้เช่าเฮ่า บ้างเรียกว่า จินเทียน คำว่าตี้ หมายถึง ราชา เป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าเหลือง แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์บางฉบับระบุว่า เป็นโอรสของ สมเด็จเจ้าอื่นในยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า นักประวัติศาสตร์บางคนนั้น เชื่อว่า เช่าเฮา เป็นบุคคลที่ไม่มีอยู่จริงใน ประวัติศาสตร์ในครั้งเมื่อบันทึกไม้ไผ่ต้นฉบับสูญหาย บัณฑิตหลิวซิน ผู้บันทึก ประวัติศาสตร์สร้างชื่อ เช่าเฮ่า เพิ่มเข้าไปในลำดับผู้ปกครอง เพื่อให้เนื้อหามี ความสมบูรณ์ เช่าเฮ่าปกครองประชาชนได้ 83 ปี มีบุตรชื่อ เจี่ยวจี๋ แต่จวันซวี บุตร ชายของชางอี้ ถูกเลือกให้ไเป็นผู้ปกครองชนเผ่า เริ่องราวเจี่ยจวี๋มีปรากฏเป็น บันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยมาก ทำให้แทบไม่สามารถระบุเหตุการณ์ เกี่ยวข้อง กับเจี่ยจวี๋ได้
7) จวันซวี
♢ 2514 - 2436 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ตี้จวันซวี หรือ เกาหยาง บันทึกทางประเพณีตามที่ซือหม่าเชียนจัดทำ ขึ้นนั้น ระบุไว้ว่า จวันซวีติดตามบิดาและคนในเผ่าโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวัน ออก คือ มณฑลชานตงในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ระบุสาเหตุการย้ายถิ่น
จวันซวีสมรสกับตระกูลตงอี๋ที่เป็นผู้มีอิทธิพลที่อาศัยในดินแดนแถบนั้น ทำให้อิทธิพลทวีขึ้นตามลำดับ ครอบครัวของจวันซี ประกอบด้วย สมเด็จเจ้าเหลือง (ปู่) เหลย์จู่ (ย่า) บิดาชื่อ ชางอี้และมารดาชื่อ ชางผู บุตรชายคนโต ฉยงฉาน, บุตรคนทีสอง กู่ แห่งต้นตระกูลฉู่, บุตรคนที่สามไม่ปรากฏนาม, บุตรคนที่สี่ เชิง, บุตรคนที่ห้า เถาอู้, บุตรคนที่หก หวังเหลี่ยง, ญาติพี่น้อง คู่ ผู้สืบเชื้อสายของเจี่ยจวี๋ จวันซวี อายุ 20 ปี ได้เป็นผู้นำชนเผ่าในสมเด็จเจ้า เป็น เวลา 78 ปี จน ถึงแก่กรรม คู่ เป็นผู้มีสิทธิใน การสืบทอดจำแหน่งราชา แต่ญาติพี่น้อง ชื่อ ชูวี ผู้สืบเชื้อสายจากเฉินหนงก็ก่อการกบฏ คู่ ปราบปราม ชูวี ลงได้ จากนั้น คู่ก็ได้ การยอมรับจากคนในชนเผ่าให้ขึ้นเป็นราชา
ราชวงศ์หลายตระกูลหลายในประวัติศาสตร์มักอ้างว่า จวันซวี เป็นบรรพ บุรุษของตนเอง เช่น ตระกูลหมี่ของรัฐฉู่กับรัฐเยว่, ตระกูลหยิงของรัฐฉิน, และ ตระกูลเฉาของรัฐเว่ย์
8) คู่♢ 2436 - 2366 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า สมเด็จเจ้าคู่ หรือ หวังคู่ มีอีกพระนามว่า สมเด็จขาว หรือ เกาซิน หรือ เกาซินจื้อ บุตรชายของคู่ มี จื้อ, เซี่ย, เหยา, โฮ้วจี้ และจิ้ง เป็นต้น
ในสมัยของสมเด็จเจ้าคู่มีการติดต่อสัมพันธไมตรีกับชนเผ่าอื่นๆ ที่อยู่ข้าง เคียงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบุตรของตี้คู่ หลายคนไม่มีปรากฏเป็นบันทึกหลักฐาน ทำให้ไม่สามารถระบุเหตุการณ์เกี่ยวข้องได้ หวังคู่ ครองราชย์ได้ 45 ปี ได้แต่งตั้งองค์ชายเหยาที่เกิดกับภรรยาใน ตระกูลถังให้เป็นรัชทายาท หวังคู่ ทรงสวรรคต อายุ 70 ปี องค์ชายใหญ่จื้อก็ก่อกบฏทำสงคราม ช่วงชิงตำแหน่งราชาจากองค์ชายสองเหยา ซึ่งองค์ชายเหยาก็ยอมยกให้พี่ชาย ขึ้นเป็นราชา แทนโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อแต่ประการใด
9) จื้อ
♢ 2366 - 2358 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ตี้จื้อ ทรงได้ฉายาว่า ราชาแห่งเปลวเพลิง จากบันทึกประวัติศาสตร์ฉื่อจี้ ของซือหม่าเชียน ระบุไว้ว่า ตี้จื้อปกครองประชาชนอย่างโหดเหี้ยม ผ่านไป 9 ปี ตี้จื้อก็ถูกองค์ชายเหยาก่อกบฏถอดจากตำแหน่งและเสียชีวิตในเวลาต่อมา องค์ชายเหยา อายุ 20 ปี ขึ้นเป็นราชาปกครองชนเผ่าอย่างทรงคุณธรรม
10) เหยา
♢ 2356 - 2255 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า ราชาเหยา ชื่อเรียกอื่นว่า เถาถังซื่อ หรือ ถังเหยา เมื่อแรกเกิดมีนามว่า อีฟ่างซวินหรืออีฉี เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของหวังคู่ พื้นที่เกิดที่บริเวณเมืองเกาโหยว มณฑลเจียงซูในปัจจุบัน แต่บางเอกสารระบุว่า เมืองเทียนฉาง มณฑลอานฮุย ตี้เหยาได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาราชาที่สมบูรณ์แบบ พระองค์มีความ เฉลียวฉลาด และมีคุณธรรมในการปกครอง ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างแก่ราชาของ ชนเผ่าต่างๆ ครอบครัวของตี้เหยา ประกอบด้วย ฮองเฮาซ่าน พระสนมอี๋ มีบุตรชาย คือ ตานจู มีบุตรสาว คือ เอ๋อหฺวาง, นฺหวี่อิง เป็นต้น
ปลายสมัยของตี้เหยาได้เกิดอุทกภัยร้ายแรง แม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโห ที่เรียกว่า แม่น้ำเหลืองทีมานานกว่า 4,000 ปีก่อน น้ำในแม่น้ำล้นท่วมแผ่นดิน ไร่นาและบ้านเรือนถูกน้ำท่วม ชาวบ้านต้องย้ายไปอยู่บนภูเขาสูง ตี้เหยาเรียกเรียกหัวหน้าเผ่าต่างๆ มาประชุม เพื่อปรึกษาหารือแก้ปัญหา อุทกภัยนี้ บรรดาหัวหน้าเผ่าต่างก็เสนอชื่อให้ “กุ่น” ซึ่งไปหาทางแก้ไข กุ่นใช้เวลา 9 ปี ใช้วิธีถมดินปิดกั้นทางน้ำไหล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และกลับทำให้อุทกภัยร้ายแรงยิ่งขึ้น ทั้งมีการฟ้องร้องว่ามีการทุจริต จึงถูกคุ้ม ขังในคุก
ตี้เหยาปกครองได้ 101 ปี ก็มอบตำแหน่งราชาให้กับซุ่น หลานชายที่ สมรสกับพระธิดาของพระองค์ทั้ง 2 คน บันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า ตี้เหยา มอายุ 119 ปี จึงสวรรคต
11) ชุ่น
♢ 2255 - 208 BC : ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า
ตี้ชุ่น หรือ ฉงหฺวา ปกครองชาวเปล เผ่าหัวเซี่ย หลังจากตี้ซุ่น เป็นผู้นำ ชนเผ่าก็ได้สั่งให้ลงโทษประหารชีวิตกุ่น และมอบหมายให้ อวี่ หรือ อี่ ลูกชาย ของกุ่นไปแก้ปัญหาอุทกภัยไม่เช่นนั้นจะถูกประหารเช่นเดียวกับบิดา อวี่ ได้รับบทเรียนจากความล้มเหลวของบิดาตนที่ใช้ทำนบปิดกั้นทาง น้ำไหลไม่ได้ ผล อวี่จึงใช้วิธีขุดคลองระบายน้ำที่ท่วมอยู่ให้ ไหลลงทะเลและ ขุดลอก แม่น้ำเพื่อระบายน้ำ
อวี่ได้สำรวจทางน้ำและสร้างแผนที่ขึ้นมาก่อน แล้วจึงขุดคลองระบาย น้ำ ให้น้ำที่ท่วมใหลออกไปสู่ทะเล อวี่ขุดดินหาบดินด้วยตัวเองอย่างมุ่งมั่น ทั้ง นำพลเมืองที่มาร่วมกันขุดคลองแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยตนเอง อวี่ยังได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดหลายชนิดขึ้นใช้ ตลอดจนวิธีการรังวัด และเขียนผังหลายอย่าง
ในขณะที่ตี้ชุ่นมีคำสั่งให้อวี่เป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขน้ำท่วมใหญ่ อวี่พึ่ง แต่งงานได้ไม่นานก็ต้องเดินทางออกจากบ้าน เขาทำงานหนัก เพื่อแก้ปัญหา น้ำท่วม เขาไม่เคยผ่านไปที่หน้าบ้านเกินกว่าสามครั้ง และก็ไม่ได้แวะเข้าบ้าน เลยแม้สักครั้ง ในครั้งหนึ่ง ขณะที่เขาผ่านหน้าบ้านนั้น ภรรยาเขาได้คลอดลูกชายชื่อ ฉี่ พอดี แม้อวี่ได้ยินเสียงร้องไห้ของทารกแล้ว แต่ก็อดกลั้นใจไว้ไม่แวะเข้าบ้าน ของตน อวี่พยายามถึง 13 ปี จึงสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเล และปลูกพืชพันธุ์ธัญ ญาหารในไร่นาได้ และด้วยคุณงามความดีที่อวี่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ใน ครั้งนี้ อวี่จึงกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนทั่วไป ทำให้ตี้ซุ่นจึงได้มอบราชบัลลังก์ให้ อวี่ ความดีในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของอวี่นี้ ประชาชนในรุ่นหลัง ยังต่างยก ย่องสรรเสริญคุณงามความดีในการ แก้ไข ปัญหา อุทกภัยของอวี่ จึงเรียกเขาว่า ต้าอวี่ แปลว่า อวี่ผู้ยิ่งใหญ่
หลังจาก ตี้อวี่ปกครองชนเผ่าก็ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเซี่ย และสถาปนา ราชวงศ์เซี่ย ขึ้น เป็นอัน ลสิ้นสุดยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า
.....จบยุคสมัย 3 ราชา 5 สมเด็จเจ้า
คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า
✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ