แม่หยั่วเมือง
6.0
เขียนโดย Bush
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.26 น.
4 ตอน
0 วิจารณ์
7,661 อ่าน
แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 20.08 น. โดย เจ้าของนิยาย
1) เหตุแห่งนางหยั่วเมือง
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความนาคาสังวาส จากภาพนี้กลายมาเป็น เรื่องราวที่เกิดเป็นตำนานพื้นเมืองของขอม ตามบันทึกของ"จิวต้ากวน" ที่เดินทางมาเป็นราชให้กับราชทูตจีน ราว พ.ศ. ๑๘๓๘ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"มีกษัตริย์ขอมโบราณพระองค์หนึ่งจะต้องเสด็จขึ้นไปบนปราสาทอากาศพิมานนี้ทุกคืนเพื่อบรรทมกับนางนาคซึ่งแปลงกายเป็นสตรี หลับนอนกับนางนาคแล้วจะค่อยไปบรรทมกับพระมเหสีองค์อื่น ๆ หากไม่ทำอย่างนี้แล้วนางพญานาคจะพิโรธ ทำให้ต้องสวรรคต และบ้านเมืองจะวุ่นวาย"
แสดงให้เห็นเรื่องราวความเกี่ยมพันที่พราหมณ์ นำเอาเรื่องของการเสพสังวาสของมนุษย์มาเป็นเงื่อนไขในการกำหนดพระราชพิธี ที่เรียกว่าพระราชพิธีเบาะพก
คือพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปปราสาท แล้วเสพสังวาสกับแม่หยัว เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งของไพร่ฟ้าประชากรและราชอาณาจักร แม่หยัว คือ นางนาค ฉะนั้นเบาะพก คือ นาคาสังวาส เบาะพก เป็นภาษาเขมร แปลว่าใช้อวัยวะทิ่มๆ ตำๆ บริเวณใต้ท้องน้อยหมายถึงเสพสังวาส
สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนในมติชน เรื่อง เทียนทอง ไว้ดังนี้
“เทียนทอง” ยุคอยุธยา มติชนสุดสัปดาห์ ลงฉบับประจำวันศุกร์ ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
“เทียนทอง” ในพระราชพิธีเบาะพก ยุคต้นอยุธยา และในบทร้องยุคกลางอยุธยา(เพลงสรรเสริญพระจันทร์) หมายถึง องคชาต ที่ไม่เคยพบคำอธิบายในเอกสารไทย แต่มีตัวอย่างเทียบเคียงอยู่ในเอกสารนิทานเขมร
พระราชพิธีเบาะพก
ในกฎมณเฑียรบาลระบุพระราชพิธีเบาะพกเป็นพิธีกรรมที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสพสังวาสกับ“แม่หยัวพระพี่”
พิธีนี้ได้รับแบบแผนจากราชอาณาจักรกัมพูชาที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสพสังวาสนางนาคทุกคืน
ถ้อยคำพรรณนาในกฎมณเฑียรบาลระบุว่ามีขบวนแห่ด้วย ผู้เข้าขบวนแห่เชิญเครื่องพิธีศักดิ์สิทธิ์ล้วนเป็น“เมีย”อำมาตย์ผู้ใหญ่ เช่น เมียปุโรหิตถือ “เทียนทอง” ว่า
“เมียพระปุโรหิตถือเทียนทอง เมียพระพิรามถือสังข์ เมียพระมเหธรถือปลาทอง เมียพระพิเชดถือเต่าทอง…”
จะเห็นว่า เทียนทอง นำหน้าสังข์, ปลาทอง, เต่าทอง
ร้องสรรเสริญพระจันทร์
๏ เจ้าเอยเทียนทอง ปิดเข้าที่หน้าแท่นทอง
ทำขวัญเจ้าทั้งสอง ให้เจ้าอยู่ดีกินดี
ให้อยู่จนเฒ่าชรา ให้เจ้าเป็นมหาเศรษฐี
อายุยืนได้ร้อยปี เลี้ยงพระบิดามารดา
บทร้องครั้งกรุงเก่า เพลงสรรเสริญพระจันทร์ที่ยกมานี้ ใช้ร้องและบรรเลงแบบ“เนื้อเต็ม”ขับคลอพร้อมกันขณะเวียนเทียนทำขวัญอวยพรสาว-บ่าวในงานแต่งงานให้อยู่ดีกินดีหลายคนจึงเกิดความสงสัยใคร่อยากให้ร้อยเรียงเรื่องราวแบบน่ารักชวนฝันแนวพระนางสเรเตรแห่งขอมและท่านผู้นี้....
พระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติพร้อม สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า
ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน
"มีกษัตริย์ขอมโบราณพระองค์หนึ่งจะต้องเสด็จขึ้นไปบนปราสาทอากาศพิมานนี้ทุกคืนเพื่อบรรทมกับนางนาคซึ่งแปลงกายเป็นสตรี หลับนอนกับนางนาคแล้วจะค่อยไปบรรทมกับพระมเหสีองค์อื่น ๆ หากไม่ทำอย่างนี้แล้วนางพญานาคจะพิโรธ ทำให้ต้องสวรรคต และบ้านเมืองจะวุ่นวาย"
แสดงให้เห็นเรื่องราวความเกี่ยมพันที่พราหมณ์ นำเอาเรื่องของการเสพสังวาสของมนุษย์มาเป็นเงื่อนไขในการกำหนดพระราชพิธี ที่เรียกว่าพระราชพิธีเบาะพก
คือพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปปราสาท แล้วเสพสังวาสกับแม่หยัว เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งของไพร่ฟ้าประชากรและราชอาณาจักร แม่หยัว คือ นางนาค ฉะนั้นเบาะพก คือ นาคาสังวาส เบาะพก เป็นภาษาเขมร แปลว่าใช้อวัยวะทิ่มๆ ตำๆ บริเวณใต้ท้องน้อยหมายถึงเสพสังวาส
สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนในมติชน เรื่อง เทียนทอง ไว้ดังนี้
“เทียนทอง” ยุคอยุธยา มติชนสุดสัปดาห์ ลงฉบับประจำวันศุกร์ ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
“เทียนทอง” ในพระราชพิธีเบาะพก ยุคต้นอยุธยา และในบทร้องยุคกลางอยุธยา(เพลงสรรเสริญพระจันทร์) หมายถึง องคชาต ที่ไม่เคยพบคำอธิบายในเอกสารไทย แต่มีตัวอย่างเทียบเคียงอยู่ในเอกสารนิทานเขมร
พระราชพิธีเบาะพก
ในกฎมณเฑียรบาลระบุพระราชพิธีเบาะพกเป็นพิธีกรรมที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสพสังวาสกับ“แม่หยัวพระพี่”
พิธีนี้ได้รับแบบแผนจากราชอาณาจักรกัมพูชาที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสพสังวาสนางนาคทุกคืน
ถ้อยคำพรรณนาในกฎมณเฑียรบาลระบุว่ามีขบวนแห่ด้วย ผู้เข้าขบวนแห่เชิญเครื่องพิธีศักดิ์สิทธิ์ล้วนเป็น“เมีย”อำมาตย์ผู้ใหญ่ เช่น เมียปุโรหิตถือ “เทียนทอง” ว่า
“เมียพระปุโรหิตถือเทียนทอง เมียพระพิรามถือสังข์ เมียพระมเหธรถือปลาทอง เมียพระพิเชดถือเต่าทอง…”
จะเห็นว่า เทียนทอง นำหน้าสังข์, ปลาทอง, เต่าทอง
ร้องสรรเสริญพระจันทร์
๏ เจ้าเอยเทียนทอง ปิดเข้าที่หน้าแท่นทอง
ทำขวัญเจ้าทั้งสอง ให้เจ้าอยู่ดีกินดี
ให้อยู่จนเฒ่าชรา ให้เจ้าเป็นมหาเศรษฐี
อายุยืนได้ร้อยปี เลี้ยงพระบิดามารดา
บทร้องครั้งกรุงเก่า เพลงสรรเสริญพระจันทร์ที่ยกมานี้ ใช้ร้องและบรรเลงแบบ“เนื้อเต็ม”ขับคลอพร้อมกันขณะเวียนเทียนทำขวัญอวยพรสาว-บ่าวในงานแต่งงานให้อยู่ดีกินดีหลายคนจึงเกิดความสงสัยใคร่อยากให้ร้อยเรียงเรื่องราวแบบน่ารักชวนฝันแนวพระนางสเรเตรแห่งขอมและท่านผู้นี้....
พระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติพร้อม สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า
ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน
คำยืนยันของเจ้าของนิยาย
✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
6 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
6 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
6 /10
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ