ทำประกันชีวิตมีประโยชน์อย่างไร สามารถคุ้มครองอะไรได้บ้าง?

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (534)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:957
เมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 12.27 น.

ทำประกันชีวิต

ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัว แต่รู้หรือไม่ว่าประกันชีวิตมีหลายประเภท แต่ละแบบก็มีข้อดีและเงื่อนไขที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ ใครที่อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเอง บทความนี้จะพาไปรู้จักการทําประกันชีวิต คืออะไร ประเภทของประกันชีวิตว่ามีกี่รูปแบบ พร้อมแนะนำข้อควรพิจารณาก่อนเลือกทำประกันชีวิต เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมมากที่สุด

 

 

ทำความรู้จักกับประเภทของประกันชีวิต

การทำประกันชีวิตเป็นการวางแผนทางการเงินที่สำคัญ เพื่อสร้างความมั่นคงและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยประกันชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท แล้วในแต่ละประเภทเมื่อทำประกันชีวิตคุ้มครองอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

1. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์

ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) เป็นการออมทรัพย์ร่วมกับการคุ้มครองชีวิต ผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา พร้อมกับความคุ้มครองชีวิตตลอดระยะเวลาประกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินเพื่อเป้าหมายในอนาคต เช่น การศึกษา หรือการเกษียณอายุ

2. ประกันชีวิตตลอดชีพ

ประกันชีวิตตลอดชีพ (Whole Life Insurance) ให้ความคุ้มครองชีวิตระยะยาวหรือจนถึงอายุที่กำหนด เช่น 90 ปี หรือ 99 ปี หากผู้ทำประกันชีวิตเสียชีวิตในระหว่างสัญญา ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินเอาประกันภัย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัวหรือผู้ที่ต้องการส่งมอบมรดกให้กับลูกหลาน

3. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance) ให้ความคุ้มครองชีวิตในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี หากผู้ทำประกันชีวิตเสียชีวิตในช่วงเวลานั้น ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินเอาประกันภัย แต่หากครบกำหนดสัญญาและผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ จะไม่ได้รับเงินคืน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตในระยะเวลาสั้น ๆ หรือผู้ที่มีภาระหนี้สินและต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม

4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ

ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuities Insurance) เป็นประกันที่มุ่งเน้นการให้รายได้ประจำหลังเกษียณอายุ ผู้เอาประกันจะได้รับเงินเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินสำหรับการเกษียณอายุ เพื่อให้มีรายได้ที่มั่นคงในอนาคต

 

ก่อนทำประกันชีวิต ควรรู้อะไรบ้าง?

ทำประกันชีวิต แบบไหนดี

การทำประกันชีวิตเป็นการสร้างหลักประกันทางการเงินให้กับตัวเองและครอบครัว แต่ก่อนการซื้อประกันชีวิตจะต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบเพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่เหมาะสมที่สุด มาดูกันว่าความรู้เกี่ยวกับประกันชีวิตที่ต้องทราบเลยมีอะไรบ้าง

  1. เบี้ยประกันและระยะเวลาชำระเงิน

เบี้ยประกันคือเงินที่ต้องจ่ายเพื่อแลกกับความคุ้มครอง ซึ่งอาจเป็นรายเดือน รายปี หรือจ่ายครั้งเดียว ทั้งนี้ ควรเลือกแผนที่เหมาะสมกับกำลังทรัพย์และแผนการเงินของคุณ

  1. วงเงินความคุ้มครอง

จำนวนเงินเอาประกันภัยส่งผลต่อค่าชดเชยที่ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ ควรเลือกวงเงินที่เหมาะสมกับภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวเพื่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคต

  1. เงื่อนไขและข้อยกเว้นของกรมธรรม์

ทุกกรมธรรม์มีเงื่อนไขและข้อยกเว้น เช่น โรคบางชนิดอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือการเสียชีวิตจากสาเหตุเฉพาะบางอย่างอาจไม่ได้รับเงินประกัน ดังนั้น ควรอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต

  1. ประเภทของประกันชีวิต

มีหลายแบบให้เลือก เช่น ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตตลอดชีพ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ ควรเลือกให้ตรงกับเป้าหมายทางการเงินของคุณ

  1. ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน

ควรประเมินสถานะการเงินของตัวเองให้ดีก่อนทำประกันชีวิต เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ต่อเนื่องโดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

 

ข้อดีของการทำประกันชีวิตที่ไม่ควรมองข้าม

หลายคนคงมีข้อสงสัยที่ว่าทําไมต้องทําประกันชีวิต? มาดูกันว่าข้อดีของการทำประกันชีวิตในระยะยาวมีอะไรบ้าง

  • ช่วยคุ้มครองชีวิตและลดความเสี่ยงทางการเงิน: ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ครอบครัวของคุณจะได้รับเงินชดเชยจากกรมธรรม์ ซึ่งช่วยลดภาระทางการเงินและทำให้คนที่คุณรักยังคงมีความมั่นคงในอนาคต

 

  • เป็นการออมเงินที่มีผลตอบแทน: บางประเภทของประกันชีวิต เช่น ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ หรือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เพียงแต่ให้ความคุ้มครองชีวิต แต่ยังช่วยให้คุณออมเงินพร้อมรับผลตอบแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์
  • นำไปลดหย่อนภาษีได้: การทำประกันชีวิตสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด ช่วยให้คุณประหยัดภาษีที่ต้องจ่ายได้ในแต่ละปี โดยวงเงินลดหย่อนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่คุณเลือกนั่นเอง
  • ช่วยวางแผนมรดกให้กับครอบครัว: หากคุณต้องการส่งต่อทรัพย์สินให้ทายาท การทำประกันชีวิตเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้รับประโยชน์ได้รับเงินก้อนทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการพินัยกรรมหรือภาษีมรดก

 

  • สร้างวินัยทางการเงิน: การจ่ายเบี้ยประกันเป็นประจำช่วยให้คุณมีวินัยในการบริหารเงิน อีกทั้งยังเป็นการออมเงินในระยะยาวที่ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมั่นคง

 

ทำประกันชีวิตได้เบี้ยประกันคืนไหม?

หลายคนสงสัยว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปนั้นสามารถได้รับคืนหรือไม่? คำตอบขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์และเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งบางกรมธรรม์มีเงื่อนไขการคืนเงินให้ผู้เอาประกันตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น การคืนเงินรายปี โดยจำนวนเงินคืนมักระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของเบี้ยประกันที่จ่ายไป แต่ในบางกรณี บริษัทประกันอาจจ่ายเงินปันผลให้กับผู้เอาประกัน ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทและเงื่อนไขในกรมธรรม์ 

 

หากผู้ที่ทำประกันชีวิตต้องการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบกำหนด สามารถขอรับมูลค่าเวนคืนเงินสด ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สะสมไว้ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าเวนคืนอาจน้อยกว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป โดยเฉพาะหากยกเลิกในระยะแรกของสัญญา แต่ในกรณีฉุกเฉิน ผู้เอาประกันสามารถกู้ยืมเงินจากมูลค่าเวนคืนเงินสดของกรมธรรม์ได้ โดยจำนวนเงินที่กู้ได้และอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันด้วย

 

สรุป การทำประกันชีวิตคุ้มค่าหรือไม่?

การทำประกันชีวิต เป็นการวางแผนทางการเงินที่ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัว ทั้งในแง่ของการคุ้มครองชีวิต การออมเงิน และการวางแผนเกษียณ คำถามที่ว่าทำประกันชีวิต แบบไหนดี? ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทกรมธรรม์ที่เลือก ไม่ว่าจะเป็นประกันสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันตลอดชีพ หรือประกันบำนาญ ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต ควรศึกษาเงื่อนไขให้ละเอียด พร้อมพิจารณาความสามารถในการจ่ายเบี้ยของคุณเอง และเลือกแผนที่เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงิน เพื่อเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนในประกันในอนาคต!


หมายเหตุ: การได้รับคืนเบี้ยประกันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์และเงื่อนไขที่กำหนด ควรศึกษารายละเอียดและปรึกษากับบริษัทประกันก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา