มดลูกหย่อน สัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะผิดปกติ พร้อมวิธีการดูแลที่คุณควรรู้
มดลูกหย่อน ภาวะที่อาจส่งผลต่อสุขภาพภายในของคุณผู้หญิงได้
คุณผู้หญิงท่านไหนเคยรู้สึกปวดหน่วงที่ท้องน้อย หรือมีอาการเหมือนมีอะไรหลุดออกมาจากช่องคลอดไหม? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “มดลูกหย่อน” โรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทองและผู้หญิงที่เคยคลอดบุตรหลายครั้ง ทำไมมดลูกถึงหย่อนได้ล่ะ? แล้วภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างไรบ้าง? ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาวะมดลูกหย่อนกันให้มากขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการ การรักษา และวิธีการป้องกัน เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพภายในของตนเองได้อย่างถูกต้อง
มดลูกหย่อน คืออะไร ปัญหาที่ผู้หญิงหลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว!
ภาวะมดลูกหย่อน (Uterine Prolapse) คือภาวะที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ ทำให้มดลูกเลื่อนลงมาจากตำแหน่งปกติในช่องเชิงกราน อาจเคลื่อนมาสู่ช่องคลอดหรือภายนอกช่องคลอด โดยปกติ มดลูกจะถูกยึดไว้ด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่แข็งแรง แต่เมื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเหล่านี้เสื่อมสภาพ มดลูกก็จะค่อยๆ หย่อนตัวลงมา ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย คือ การคลอดบุตรหลายครั้ง การยกของหนัก การไอเรื้อรัง หรือการมีอายุมากขึ้น มดลูกต่ำอาจมีอาการที่รุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะลำบาก หรือมีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์
มดลูกหย่อน มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?
มดลูกหย่อน เกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่คอยยึดมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิม ทำให้มดลูกค่อยๆ เคลื่อนตัวลงมาจากตำแหน่งเดิมและอาจยื่นออกมาทางช่องคลอดได้ สาเหตุที่ทำให้มดลูกหย่อน มีดังนี้
-
การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร อาจทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแรงลง โดยเฉพาะการคลอดธรรมชาติหลายครั้ง
-
อายุมากที่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในบริเวณอุ้งเชิงกรานมีการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ และทำให้การพยุงตัวของมดลูกมีประสิทธิภาพน้อยลง
-
การยกหรือแบกของหนักอย่างต่อเนื่อง สามารถเพิ่มแรงกดต่ออุ้งเชิงกรานและทำให้เกิดการหย่อนของมดลูกได้นั่นเอง
-
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน จนอาจไปกดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า และเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้
-
การลดลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่วงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานบางลงและสูญเสียความยืดหยุ่นไป
-
พันธุกรรม ในบางรายอาจมียีนแฝงที่ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันอ่อนแอตั้งแต่กำเนิดได้
-
การไอเรื้อรังหรือท้องผูกเรื้อรัง เพราะเมื่อมีการเบ่งแรงๆ ซ้ำๆ ส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงลง
-
เนื้องอกในมดลูกที่มีขนาดใหญ่ อาจไปกดทับและดึงให้มดลูกเคลื่อนตัวลงมาต่ำกว่าปกติ
-
การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน อาจทำให้เนื้อเยื่อที่คอยยึดมดลูกเสียหายได้เช่นกัน
อาการของมดลูกหย่อน
อาการมดลูกหย่อนอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการหย่อนตัวของมดลูกของแต่ละบุคคล
-
ปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน รู้สึกหนักหรือไม่สบายในบริเวณอุ้งเชิงกราน
-
รู้สึกว่ามีบางสิ่งเลื่อนลงมาที่ช่องคลอด หรืออาจเห็นเหมือนมีก้อนเนื้อยื่นออกมาจากช่องคลอด
-
มีปัญหาในการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่ออก หรือรู้สึกต้องปัสสาวะบ่อยครั้ง เนื่องจากมดลูกกดทับกระเพาะปัสสาวะ
-
อาการบวมในช่องคลอด
-
รู้สึกเจ็บปวดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
-
อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย มีอาการท้องผูก หรือไม่สามารถถ่ายได้อย่างปกติ เนื่องจากมดลูกกดทับลำไส้ใหญ่อยู่นั่นเอง
-
มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีตกขาวมากขึ้น, รู้สึกเหนื่อยง่าย, ปัสสาวะเล็ด เมื่อไอ จาม หรือหัวเราะ, รู้สึกไม่สบายเมื่อนั่งอยู่กับที่นานๆ
ระดับความรุนแรงของอาการมดลูกหย่อน
ลักษณะมดลูกหย่อนแบ่งออกเป็น 4 ระดับความรุนแรง โดยพิจารณาจากตำแหน่งที่มดลูกหย่อนลงมาได้ดังนี้
-
ระดับที่ 1: มดลูกหย่อนลงมาอยู่ในช่องคลอดส่วนบน ยังไม่ถึงปากช่องคลอด
-
ระดับที่ 2: มดลูกหย่อนลงมาใกล้ปากช่องคลอด
-
ระดับที่ 3: มดลูกหย่อนโผล่ออกมาจากช่องคลอดบางส่วน
-
ระดับที่ 4: มดลูกหย่อนออกมาจากช่องคลอดทั้งหมด เรียกว่า มดลูกย้อย (Procidentia)
การรักษามดลูกหย่อน
การรักษามดลูกหย่อนหรือวิธีแก้ไขมดลูกหย่อนนั้น ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ สภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และความต้องการของผู้ป่วย โดยทั่วไปแล้วมีวิธีรักษามดลูกหย่อนที่แบ่งตามอาการออกเป็น
-
ระดับ 1 หากอาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้สังเกตอาการก่อน พร้อมแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นท่าที่สามารถฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (***** exercises) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่พยุงมดลูก และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
-
ระดับ 2 แพทย์อาจมีคำแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยในการรักษาที่มีชื่อว่า Pessary เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมประจำวัน เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดดันบริเวณอุ้งเชิงกรานที่มากเกินไป
-
ระดับ 3 แพทย์อาจมีการใช้ยาหรือการบำบัดอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการร่วมด้วย หากอาการยังไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิม อาจต้องพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติม
-
ระดับ 4 ในผู้ป่วยที่มีอาการมดลูกหย่อนออกมาจากช่องคลอดทั้งหมด การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นทางเลือกหลัก โดยมีหลายวิธี เช่น การตัดมดลูกทิ้ง ในรายที่ไม่ต้องการมีลูกแล้ว หรือทำการยึดติดมดลูกไว้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยหลังจากการผ่าตัดมดลูกหย่อนเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะต้องมีการฟักฟื้นและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
การป้องกันมดลูกหย่อน
การป้องกันมดลูกหย่อนในคุณผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อเกิดปัญหานี้แล้ว การรักษามักจะซับซ้อนและใช้เวลานาน การป้องกันที่ดีที่สุด คือการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยวิธีการป้องกันมดลูกหย่อนเบื้องต้นที่สามารถทำได้เองง่าย มีดังนี้
-
ควบคุมน้ำหนัก คนที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลทำให้อวัยวะในอุ้งเชิงกรานถูกกดทับนั่นเอง
-
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักเป็นประจำทำให้มดลูกหย่อนได้ เนื่องจากจะไปเพิ่มแรงกดทับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอลง
-
รักษาอาการท้องผูก เพราะการเบ่งอุจจาระแรงๆ ซ้ำๆ จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงลงได้
-
เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการมดลูกหย่อนนอกช่องคลอด
-
ผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่ ควรระมัดระวังและต้องดูแลสุขภาพในระหว่างการตั้งครรภ์และทำการคลอดอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะมดลูกหย่อนได้
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง โดยท่ากระชับมดลูกหย่อน บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ได้ผลที่สุด คือ ท่า Kegelโดยให้เกร็งกล้ามเนื้อส่วนนั้นค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วคลายออก ทำซ้ำเซ็ตละ 10 ครั้ง วันละ 3-4 เซ็ต นอกจากท่านี้แล้วยังมีท่าอื่นๆ ที่สามารถช่วยกระชับมดลูกหย่อนด้วยตนเองได้ เช่น ท่า Pelvic Tilts, ท่า Bridge, ท่า Squats เป็นต้น
สรุป ภาวะมดลูกหย่อน อันตรายจากภายในสู่ภายนอก
ภาวะมดลูกหย่อน (Uterine Prolapse) เป็นภาวะที่เกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำกว่าจากตำแหน่งปกติ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การคลอดบุตรหลายครั้ง, อายุที่มากขึ้น, น้ำหนักเกิน และการยกของหนัก เป็นต้น อาการมดลูกต่ำอาจมีตั้งแต่ความรู้สึกหน่วงในอุ้งเชิงกราน ไปจนถึงการปัสสาวะลำบาก หรือมีปัญหาในขณะมีเพศสัมพันธ์ เช่น อาการเจ็บปวดผิดที่ปกติ
การป้องกันภาวะมดลูกหย่อนแบบง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรักษาอาจถึงขั้นการผ่าตัดมดลูกทิ้ง ดังนั้น การดูแลสุขภาพอุ้งเชิงกรานของคุณผู้หญิงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะมดลูกหย่อนในอนาคตนั่นเอ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้