3 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่น้อยคนจะรู้
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุอาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กสำหรับใครหลายคน เพราะเชื่อว่าอุบัติเหตุจากการที่กระดูกสะโพกหักก็ไม่ต่างอะไรกับการที่กระดูกส่วนอื่น ๆ หัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เพียงแต่จะเป็นอันตรายเนื่องจากจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุนั้นยังส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เนื่องจากกระดูกสะโพกนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยพยุงร่างกายและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เท่านั้น แต่กระดูกชิ้นนี้ยังเชื่อมต่อกับอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย อีกทั้งยังอ่อนแอลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากวันใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นและเกิดกระดูกสะโพกหักขึ้นมา ความเสียหายจากกระดูกนี้ก็อาจส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพ หรืออาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว แล้วอันตรายของกระดูกสะโพกจะเป็นอย่างไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพและอันตรายถึงชีวิตจริงไหม หรือมีเรื่องสำคัญใดบ้างที่ต้องรู้ วันนี้เรามีคำตอบ!
เพิ่มความเสี่ยงเป็นอัมพาตได้
กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุนั้นสามารถนำไปสู่อาการอัมพาตได้หากไม่ได้รับการผ่าตัดหรือรักษาอย่างทันที อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ากระดูกสะโพกนั้นเชื่อมต่อกล้ามเนื้อและกระดูกต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งหากเมื่อกระดูกชิ้นนี้หักลง แน่นอนว่าก็ส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งส่งผลต่อการเดินอีกด้วย จากสถิติพบว่า 90% ของผู้สูงอายุที่สะโพกหักแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีมักส่งผลให้เดินไม่ได้ และกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด
อาจติดเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว
ไม่เพียงแต่เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นอัมพาตเท่านั้น แต่กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุยังนำไปสู่ปัญหาการติดเชื้อได้อีกด้วย เพราะเมื่อกระดูกสะโพกหักจนทำให้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยบางคนจำเป็นต้องใส่สายปัสสาวะและอุจจาระร่วมด้วย ซึ่งการสอดท่อต่าง ๆ เหล่านี้จะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ อีกทั้งการนอนอยู่เฉย ๆ เป็นเวลานานยังก่อให้เกิดปัญหาแผลกดทับที่อาจนำมาซึ่งการติดเชื้อมากขึ้นได้อีกด้วย
เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนมากมาย
ที่สำคัญ กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุยังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วย เพราะหากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือต้องอยู่ในสภาวะติดเตียง ร่างกายของผู้ป่วยก็อาจลดการทำงานบางส่วนจนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพตามมาได้ อาทิ การนอนติดเตียงนาน ๆ สามารถส่งผลให้ปอดไม่ขยายตัว ปอดชื้นจนปอดติดเชื้อได้ อีกทั้งการติดเตียงยังทำให้กินอาหารได้ลำบากจนทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้ ตลอดจนเสี่ยงต่อการสำลักอาหารได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่ากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุไม่ใช่แค่เรื่องกระดูกหักธรรมดา ดังนั้นเมื่อรู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ดี และหากผู้สูงอายุเกิดล้มเมื่อไหร่ก็ขออย่าได้นิ่งนอนใจและไม่ยอมไปหาหมอ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะเกิดปัญหาสะโพกหักหรือร้าวได้โดยไม่รู้ตัว
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้