บอกลาปัญหาสายตาด้วยเลสิก (Lasik) ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำ

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (467)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:843
เมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 23.33 น.

 

 

ปัญหาสายตา หนึ่งในปัญหาที่เกือบทุกคนจะต้องประสบเจอและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์เรานั้นจะต้องใช้สายตาแทบตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำกิจกรรมต่าง ๆ จึงทำให้เกิดปัญหาสายตาต่าง ๆ อย่าง สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายนั้นอาจเกิดปัญหาสายตาจนไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ บางคนกระทบการใช้ชีวิตจนต้องตัดแว่นสายตามาใช้ และบางรายเกิดปัญหาสายตา จึงต้องใส่แว่นเพื่อใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ 

 

การแก้ปัญหาเกี่ยวกับสายตานั้นจึงเป็นสิ่งที่คนประสบปัญหาสายตาสนใจ ซึ่งมีหลากหลายวิธีแก้ โดยหนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันนั่นคือ เลสิก (LASIK) นั่นเอง โดยการทำเลสิก (LASIK) ที่เคยได้ยินกันนั้นจริงๆ แล้วคืออะไร มีกี่รูปแบบ ผลข้างเคียง และ การดูแลรักษาหลังทำเลสิกต้องทำอย่างไรบ้าง

 


 

1. เลสิก คือ อะไร แก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติอย่างไร

 

 

เลสิก (LASIK) คือหนึ่งในวิธีการผ่าตัดที่จุดประสงค์แก้ปัญหาความผิดปกติของสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือ สายตาเอียง รวมถึงความผิดปกติสายตาตั้งแต่กำเนิด อย่างสายตายาวโดยกำเนิด โดยหลักการทำงานนั้นคือการใช้เลเซอร์ในการปรับรูปร่างความโค้งของกระจกเพื่อแก้ปัญหาความผิดปกติของสายตาอย่างแม่นยำ เพื่อปรับให้แสงวัตถุที่สะท้อนเข้าสู่ดวงตาเรา มีการหักเหที่จุดรวมแสงตกกระทบสู่ประสาทตาหรือเรตินาได้อย่างที่เป็นปกติ ทำให้สายตานั้นกลับมามองเห็นชัดเจนได้อีกครั้ง 

 

ซึ่งประวัติของเลสิกจริงๆแล้วมีการกำเนิดเริ่มต้นที่ปี ค.ศ 1949 โดยท่าน Dr.Jose I. Barraquer ได้เป็นจักษุแพทย์ท่านแรกที่ได้มีการคิดค้นวิธีการผ่าตัดแบบแยกชั้นกระจกตา โดยใช้การผ่าตัดแยกชั้นกระจกตาออกมา จากนั้นนำชั้นกระจกตาที่ได้จากการผ่าตัดแยกไปทำการปรับแต่งและเย็บกลับเข้าที่บนกระจกตาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในสมัยนั้นเทคโนโลยีและเครื่องมีมือความซับซ้อน ให้ผลลัพธ์ไม่แม่นยำเท่าในปัจจุบัน ซึ่งด้วยการคิดค้นการผ่าตัดแบบแยกชั้นกระจกตาทำให้ Dr.Jose L. Barraquer ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติของโลก (Father of Refractive Surgery) 

 

จากนั้นจนในปี ค.ศ. 1983 Dr.Trokel ได้นำเอ็กไซเมอร์เลเซอร์เข้ามาใช้ในการผ่าตัดนั่นคือวิธีการที่เรียกว่า PRK (Photo Refeactive Keratectomy) ซึ่งจนมาสุดท้ายในปี ค.ศ.1990 Dr.Buratto และ Dr. Pallikalis ได้นำข้อดีข้อทั้ง 2 วิธีมารวมกันจนทำให้เกิดวิธีรักษาที่ชื่อว่า เลสิค (LASIK) นั่นเอง

 


 

2. เลสิกแก้ไขค่าสายตาแบบไหนได้บ้าง

 

เลสิก (LASIK) เป็นวิธีการรักษาโดยการใช้เลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตาเพื่อแก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติ โดยสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งภาวะสายตายาวโดยกำเนิด ภาวะสายตาสั้น และภาวะสายตาเอียงได้ โดยประโยชน์ของเลสิก (LASIK) ที่รักษาภาวะสายตาผิดปกติแต่ละรูปแบบมีดังนี้คือ

 

1. เลสิกแก้ปัญหาสายตายาวโดยกำเนิด

จริงๆสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาสายตายาวโดยกำเนิดจะประสบปัญหาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยกล้ามเนื้อลูกตาที่มีความแข็งแรงมีความยืดหยุ่นสูงตอนเด็กทำให้ปัญหายังไม่ปรากฏออกมา จะปรากฏออกมาเมื่ออายุสูงขึ้น กล้ามเนื้อลูกตากำลังลดน้อยลง โดยภาวะสายตายาวโดยกำเนิดนั้น ลักษณะของความโค้งของกระจกนั้นไม่พอดี ทำให้ส่งผลเมื่อมีแสงสะท้อนนั้น จะเกิดการหักเหแสงน้อย ทำให้จุดรวมแสงตกกระทบเลยจุดรับภาพ ทำให้เกิดปัญหาทั้ง ระยะการมองใกล้ก็ไม่ชัดเจน การมองไกลก็ไม่ค่อยดี การทำเลสิก(LASIK) จะใช้เลเซอร์ปรับบริเวณด้านข้างของกระจกตาให้มีความโค้งเทียบเท่าค่าสายตาปกติ เพื่อให้การหักเหของแสงนั้นดีขึ้น

 

2. เลสิกแก้ปัญหาสายตาสั้น

ลักษณะกระบอกตาที่ยาว หรือ กระจกตามีความโค้งมากเกินไป ทำให้เกิดการหักเหแสงมากทำให้จุดรวมแสงตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา ส่งผลให้มองชัดเจนหากมองวัตถุในระยะใกล้ แต่หากเป็นระยะไกลจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน การทำเลสิก (LASIK) จะเป็นการใช้เลเซอร์ปรับรูปร่างและความโค้งของกระจกตาให้มีความเหมาะสมทำให้เกิดการหักเหแสงที่ตรงจุดรับภาพอย่างแม่นยำทำให้แก้ปัญหาภาวะสายตาสั้นได้

 

3. เลสิกแก้ปัญหาสายตาเอียง

ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียง มีลักษณะกระจกตา หรือ ความโค้งของกระจกตาที่ผิดปกติ ทำให้แสงสะท้อนเข้าสู่ดวงตาทำให้จุดรวมแสงตกกระทบไม่ถึงจอประสาทตา อีกทั้งทำให้เกิดจุดโฟกัสภาพ 2 จุด ส่งผลให้มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจน อีกทั้งภาพที่เห็นยังเกิดภาพซ้อนหรือมีเงาเกิดขึ้น

 

เลสิก (LASIK) นั้นสามารถแก้ปัญหาสายตาเอียงได้โดยการปรับความโค้งของกระจกตาให้เท่ากันทำให้มีความใกล้เคียงกับรูปร่างกระจกตาปกติให้มากที่สุด ทำให้มองวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจนขึ้นโดยทำให้ไม่เกิดภาพซ้อน หรือ เงา ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น ลดแสงฟุ้งเวลาขับรถตอนกลางคืน

 

โดยเลสิคนั้นจะมีหลายรูปแบบ โดยมีดังนี้คือ 

 

  • พีอาร์เค (PRK) จะเหมาะสำหรับคนที่สายตาสั้น เอียงน้อย และประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงที่เกิดอาการบาดเจ็บที่สายตา เช่น ตำรวจ นักบิน ทหาร เป็นต้น หรือคนที่มีแผลเป็นตื้น ๆ ที่ดวงตา โดยราคาการทำ พีราเค(PRK) อยู่ที่ประมาณ 33,000 - 50,000 บาท 
  • เลสิก (LASIK) และ เฟมโต เลสิก (Femto-LASIK) สามารถรักษาคนที่สายตายาวตั้งแต่เด็ก หรือ ปัญหาสายตาตามวัยได้ดี เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาหนาพอสำหรับการทำเลสิก โดยมีเลสิก ราคาอยู่ที่ประมาณ
  • รีเลกส์ สไมล์ (ReLex Smile) รักษาได้เฉพาะสายตาสั้นไม่เกิน -10.00 และสายตาเอียงไม่เกิน -5.00 เหมาะสำหรับผู้ที่กลัวเจ็บตา ต้องการกลับมาเห็นได้เร็ว พักฟื้นไม่นาน ราคาอยู่ที่ประมาณ 85,000 - 100,000 บาท
  • ไอซีแอล (ICL) เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบาง หรือสายตาที่สั้นเยอะมากเกิน -10.00 โดยมีราคาอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท - 200,000 บาท

 


 

3. ทำเลสิกได้กี่ครั้งในชีวิต ทำซ้ำได้หรือไม่

 

ต้องเข้าใจว่าการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยวิธีการเลสิกนั้นเป็นการปรับความโค้งของกระจกตาจึงส่งผลกระทบต่อความหนาของกระจกตา หากมีคำถามว่าเลสิกทำได้กี่ครั้งนั้นจะไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกตาและการประเมินสุขภาพตาโดยรวมจากจักษุแพทย์ และสุขภาพตาแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จึงแนะนำให้เข้าพบเพื่อปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อวิเคราะห์และดำเนินการต่อไป

 


 

4. เลสิกทำคนเดียวได้ไหม อันตรายหรือไม่

 

 

เนื่องจากการทำเลสิกนั้นเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทำแล้วจะส่งผลกระทบหลังจากการทำ ทำให้ตาพร่า สู้แสงไม่ได้นานถึง 4-6 ชม. ดังนั้นวันที่มาทำไม่ควรมาคนเดียวเนื่องจากอาจเกิดอุบัติเหตุหากเดินทางกลับคนเดียว และควรเป็นวันที่สามารถพักผ่อนได้ทันทีหลังจากการทำเลสิกไม่มีกิจกรรมใดต่อที่ต้องใช้สายตา

 


 

5. การทำเลสิกต้องตรวจอะไรบ้าง เตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำ

 

การทำเลสิกนั้นในแต่ละโรงพยาบาลและสถานที่จะมีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน โดยมีวิธีดังนี้คือ

สำหรับผู้ที่จะไปเข้าการตรวจนั้นควรเตรียมตัวเบื้องต้น ดังนี้คือ

 

  • งดการใช้ยารักษาสิวอย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากตัวยาส่งผลต่อเยื่อบุและผิวกระจกตา อาจทำให้ผลตรวจประเมินค่าสายตาคาดเคลื่อน หากใช้ยาประจำ ต้องแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบ
  • หากใช้คอนแทคเลนส์ หากเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน อย่างน้อย 3 วัน หากเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง ให้ถอดอย่างน้อย 7 วัน จะช่วยให้แพทย์นั้นตรวจวัดค่าสายตาได้แม่นยำขึ้น
  • วันที่มาตรวจประเมินสายตา อาจต้องมีการหยอดกยาเพื่อขยายม่านตาในวันนั้น ส่งผลให้ตาสู้แสงไม่ได้ และเกิดอาการพร่ามัวชั่วคราว ดังนั้นควรเตรียมแว่นกันแดด และพาเพื่อนหรือญาติมาคอยดูแล 
  • ในกรณีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีผู้ปกครองมากับผู้ตรวจด้วย

 

โดยหากเมื่อผู้ที่จะเข้าตรวจเตรียมตัวพร้อมแล้วจะไปสู่กระบวนการตรวจสายตาเพื่อประเมินการผ่าตัดสายตาเลสิกได้ดังนี้คือ

  1. ตรวจวัดระยะการมองเห็นเพื่อประเมินความสามารถในการมองเห็นเบื้องต้น และวัดความดันตา
  2. ตรวจวัดค่าสายตาโดยละเอียดเพื่อประเมินค่าสายว่าสายตาระดับใดจะทำให้เห็นคมชัดมากที่สุด
  3. ตรวจแผนภูมิกระจกตาด้วยเครื่องมือเฉพาะ เพื่อวัดความโค้งและความหนาของกระจกตาว่าเหมาะกับการทำเลสิกได้หรือไม่
  4. แพทย์จะทำการหยอดขยายม่านตา และตรวจวิเคราะห์สภาพผิวกระจกตาด้วยเครื่องมือเฉพาะ เพื่อดูการกระจายแสงที่ตกกระทบมายังผิวกระจกตา
  5. จักษุแพทย์จะสรุปผลการตรวจวิเคราะห์สภาพดวงว่าสามารถทำเลสิก (LASIK) อย่าง ReLEx, Femto LASIK หรือ PRK ได้หรือไม่ หากมีอาการอย่างอาการตาแห้ง ตาอักเสบ หรือรูที่จอประสาทตา จะต้องทำการรักษาก่อนทำเลสิก

 


 

6. หลังทำเลสิก ห้ามทำอะไร และควรทำอะไรบ้าง

 

หลังจากทำเลสิกแล้วนั้นจะเกิดอาการตาสู้แสงไม่ได้ หรือ ตาพร่ามัว โดยข้อปฏิบัติหลังทำเลสิก และสิ่งที่ห้ามทำดังนี้คือ

 

  • หลังจากทำเลสิกแล้วนั้นควรไปพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลลัพธ์และอาการที่เกิดขึ้น
  • ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด หากกังวลว่าอาจเผลอขยี้ตา หรือ ละเมอขยี้ตาตอนหลับ ให้ทำการใส่ที่ครอบตาไว้เพื่อป้องกันการขยี้ตา
  • ห้ามให้น้ำ หรือฝุ่นละอองเข้าตา
  • ควรพักสายตาเป็นระยะ ไม่ใช้สายตาหนัก หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
  • ควรหยอดยาปฏิชีวินะตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หากเกิดอาการตาแห้ง ระคายเคืองตา สามารถใช้น้ำตาเทียมที่จักษุแพทย์แนะนำได้
  • หากเกิดอาหารผิดปกติขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและตรวจดูอาการอย่างรวดเร็ว

 


 

7. การทำเลสิกต้องพักฟื้นกี่วัน 

 

หลังจากการรักษาด้วยการทำเลสิกแล้วนั้น ผู้ได้รับการรักษาอาจเกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น ตาแห้ง ระคายเคืองตา ดวงตามีความไวต่อแสง มีอาการน้ำตาไหล หรือตาพร่ามัว โดยให้ผู้เข้ารับการทำเลสิกพักฟื้นโดยทั่วไปแล้วนั้นจะใช้เวลา 1 เดือน ในการงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ตาเป็นระยะเวลานาน หากเป็นกิจกรรมทางน้ำควรงดอย่างน้อย 1 เดือน และ หากเป็นดำน้ำควรงดอย่างน้อย 3 เดือน ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้สายตา หรือ หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ หรือ ฝุ่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อและคอยปฏิบัติตามที่จักษุแพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ

 


 

เลสิก แก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติ

 

การทำเลสิกนั้นคือการผ่าตัดแก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติรูปแบบหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาภาวะสายตาผิดปกติได้แก้ สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด หรือ สายตาเอียง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเจ็บตัวน้อย ผลลัพธ์ที่ทำให้สายตานั้นกลับมามองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ไม่ต้องใช้คอนแทคเลนส์ หรือแว่นสายตา ลดความยุ่งยากในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยหากใครที่มีปัญหาสายตาผิดปกติและสนใจทำเลสิกควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อให้ทางแพทย์พิจารณาเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่ตัวผู้เข้ารับการรักษาเอง

 


 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 23.35 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา