วิธีจัดการกับเด็กสมาธิสั้นให้ได้ผลรับที่ดีที่สุด
เด็กสมาธิสั้น เป็นหนึ่งในอาการที่น่าเป็นห่วงที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะละเลย ซึ่งอาการเด็กสมาธิสั้นนั้นจะพบได้มากในกลุ่มอายุไม่เกิน 12 ปี จากสถิติแล้วอาการสมาธิสั้นสามารถพบได้ถึงร้อยละ 8 ในประชากรเด็ก ตัวอย่าง เช่น ถ้าเด็กในห้องเรียนมี 50 คน จะพบเด็กสมาธิสั้นได้ราว 4 คน หรือมากกว่า แต่ทั้งนี้เด็กสมาธิสั้นสามารถหายได้จากการรักษาในหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการพาไปรักษาที่โรงพยาบาลที่เปิดรับการรักษาอาการเด็กสมาธิสั้นที่ รพ.นนทเวช หรือโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่มีการเปิดรักษาโรคสมาธิสั้น
อาการของโรคสมาธิสั้น
- อาการขาดสมาธิต่อเนื่อง (Inattention) ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบ วอกแวกตามสิ่งเร้าหรือเปลี่ยนความสนใจง่าย ทำงานไม่เสร็จ เหม่อลอย ทำของหายบ่อย และหลงลืมกิจวัตรที่ควรทำเป็นประจำ อาการขาดสมาธิจะเป็นมากขึ้นหากเด็กต้องทำในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ แต่จะน้อยลงเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบหรือได้รับการเอาใจใส่แบบตัวต่อตัว และเป็นกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นเกม ต่อเลโก้
- อาการซนมากกว่าปกติหรือไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) มีความบกพร่องในการควบคุมการแสดงออกทางพฤติกรรมทำให้เด็กมีพฤติกรรมซุกซนมากกว่าปกติ เคลื่อนไหวหรือเล่นโดยไม่หยุด ในขณะที่นั่งมักจะยุกยิกใช้มือหยิบจับสิ่งของมาเล่น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการพูดมากกว่าปกติ ส่งเสียงดัง และชวนเพื่อนคุยขณะเรียน
- ขาดการยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) เป็นความบกพร่องในการหยุดยั้งตนเอง ทำให้ใจร้อน ไม่สามารถรออะไรได้นาน ทำอะไรมักขาดการยั้งคิด เช่น เล่นรุนแรงโดยไม่ตั้งใจ พูดแทรก หรือพูดโพล่งออกไปในขณะที่คุณครูยังอธิบายไม่จบ
แนวทางหลักๆ ในการรักษาโรคเด็กสมาธิสั้น
- การรักษาด้วยยา
ยากระตุ้น: เช่น มีทิลฟีนิเดต (Methylphenidate) และแอมเฟตามีน (Amphetamines) ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจ่อและลดอาการหุนหันพลันแล่น
ยาไม่กระตุ้น: เช่น อะโทมอกเซทีน (Atomoxetine) และกวนฟาซีน (Guanfacine) ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อยากระตุ้นหรือมีผลข้างเคียงจากยากระตุ้น
- การบำบัดทางพฤติกรรม
การบำบัดร่วมกับครอบครัวและโรงเรียน: การสอนเทคนิคการจัดการพฤติกรรมให้กับผู้ปกครองและครูเพื่อช่วยเหลือเด็กในการจัดการกับอาการ
การบำบัดสำหรับเด็ก: ช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมตนเองและการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง
- การปรับแต่งสภาพแวดล้อมและการสนับสนุนทางการศึกษา
การปรับเปลี่ยนในห้องเรียน: เช่น การจัดที่นั่งที่มีการรบกวนน้อย, การให้คำแนะนำทีละขั้นตอน, และการใช้เทคนิคการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม
การใช้เครื่องมือช่วยเหลือ: เช่น ตารางเวลา, การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- การสนับสนุนทางอารมณ์และสังคม
การสร้างความมั่นใจ และการสนับสนุนทางอารมณ์: สำคัญในการช่วยเหลือเด็กให้รู้สึกมั่นคงและมีความสุขในการเรียนรู้และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
กลุ่มสนับสนุน: การมีส่วนร่วมในกลุ่มสนับสนุนสำหรับเด็กที่มี ADHD และครอบครัวของพวกเขา
ทั้งนี้การเข้าใจและจัดการกับเด็กที่มีสมาธิสั้นไม่เพียงแต่ช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ และศักยภาพในการใช้ชีวิตในสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย การให้การสนับสนุนที่เหมาะสม และการสร้างความเข้าใจทั้งในครอบครัว ในสังคมเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้สามารถเติบโตและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ที่สุดค่ะ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้