ตรวจมวลกระดูกควรเริ่มต้นตรวจตอนอายุเท่าไรถึงจะดีที่สุด
เมื่ออายุมากขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดน้อยลง กระดูกจะเปราะบางมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักได้ง่ายแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย โรคกระดูกพรุนนับว่าเป็นภัยเงียบ เพราะผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการหรือสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติใด ๆ ได้จนกว่ากระดูกจะหัก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก หรือตรวจมวลกระดูกอยู่เสมอค่ะ
ตรวจมวลกระดูก อายุเท่าไรถึงจะต้องเริ่มต้นตรวจ
- ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนและผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ชายที่อายุ 70 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 58 กิโลกรัม
- ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักในช่วงวัยผู้ใหญ่
- ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
- ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
- ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวสายตรงมีประวัติกระดูกสะโพกหักจากการได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกจะแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.การตรวจด้วยเครื่อง DXA (Dual-energy X-ray Absorptiometry)
- เป็นวิธีที่นิยมที่สุดในการวัดความหนาแน่นมวลกระดูก
- ใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำสองระดับเพื่อวัดความหนาแน่นของกระดูก
- มักจะวัดที่ส่วนสะโพกและกระดูกสันหลัง
- ให้ผลที่แม่นยำ และเป็นมาตรฐานทองคำในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
2.การตรวจด้วย QCT (Quantitative Computed Tomography)
- เป็นการใช้ CT Scan เพื่อวัดความหนาแน่นของกระดูก
- ให้ภาพสามมิติของกระดูก
- มีความแม่นยำสูงและสามารถแยกชั้นของกระดูกได้ดี
- ใช้รังสีเอกซ์ในปริมาณที่สูงกว่าการตรวจด้วย DXA
3.การตรวจด้วย QUS (Quantitative Ultrasound)
- ใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ในการวัดคุณภาพของกระดูก
- มักใช้สำหรับการคัดกรองเบื้องต้น โดยเฉพาะในสถานที่ไม่มีเครื่อง DXA หรือ QCT
- ไม่ใช้รังสี จึงปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการความระมัดระวังเรื่องการรับรังสี
การตรวจมวลกระดูกเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการป้องกันและตรวจจับโรคกระดูกพรุน ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและแนวทางการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะกับตรวจมวลกระดูก อายุที่ถึงเวลาตรวจ อย่างเป็นประจำสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการหักกระดูกง่ายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตรวจมวลกระดูกได้ที่ : https://www.nonthavej.co.th/How-to-take-care-osteoporosis.php
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้