เด็กสมาธิสั้น อาการเป็นยังไง และจะต้องรักษาด้วยวิธีแบบไหนบ้าง
โรคสมาธิสั้น เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ซึ่งจะอยู่ตรงบริเวณสมองส่วนหน้าจะผลิตสารเคมีสำคัญที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ การจดจ่อ การควบคุมตนเอง หรือการยับยั้งชั่งใจ โรคสมาธิสั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก จนไปถึงวัยผู้ใหญ่ โดยช่วงอายุของเด็กที่มักพบมากสุดคือช่วงอายุตั้งแต่ 3-12 ปี และพบมากสุดเฉลี่ยที่ 7 ปี และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โดยอาการเด่นของเด็กสมาธิสั้น คือ อยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ ไขว้เขวง่าย ส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางด้านอารมณ์, พฤติกรรม, การเข้าสังคม และกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของเด็กด้วย
อาการ เด็กสมาธิสั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก ดังนี้
- เด็กขาดสมาธิอย่างต่อเนื่อง (Inattentiveness)
คืออาการที่เด็กไม่สามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ทำให้เด็กไม่เอาใจใส่ จนเกิดเป็นความสะเพร่า และขาดการใส่ใจรายละเอียดในการทำงาน หรือการทำการบ้าน และการทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย
- ไม่มีสมาธิในการรับฟัง ไม่ตั้งใจฟังคู่สนทนา
- ไม่ปฎิบัติตามคำสั่ง ทำงานหรือทำการบ้านไม่เสร็จ
- ไม่สามารถจัดการการทำงาน จัดลำดับในการทำงาน หรือจัดการงานกิจกรรมได้
- หลีกเลี่ยงงานที่ไม่ชอบ หรืองานที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อในการทำต่อเนื่อง ยาวนาน เช่น รายงาน
- มักหลงลืมสิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หนังสือเรียน ปากกา ดินสอ กระเป๋าสตางค์ กุญแจ โทรศัพท์ หรือแว่นตา
- วอกแวก ไปตามสิ่งเร้า หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เปลี่ยนความสนใจไปสู่สิ่งอื่นอย่างง่ายดาย
2.เด็กที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
อาการคือไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ขาดความยับยั่งชั่งใจ ใจร้อน วู่วาม หุนหันพลันแล่น จะซุกซนผิดปกติ และอยู่นิ่งไม่ได้
- ตื่นตัว และเคลื่อนไหวตลอดเวลา หลุกหลิก อยู่ไม่นิ่ง มักหยิบจับสิ่งของที่สนใจเล่นไปมา
- นั่งไม่ติดที่ ลุกออกจากที่ทั้งในห้องเรียนและในสถานที่ต่าง ๆ
- พูดไม่หยุด พูดไปเรื่อย ส่งเสียงดัง
- ขัดบทสนทนา พูดแทรก หรือพูดโพล่งออกไปในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูดอยู่
- ขัดกิจกรรมในชั้นเรียน ศูนย์เสียการควบคุมตนเองในการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสงบ
- ไม่มีความอดทนในการรอคอย
- ก้าวร้าว เอาแต่ใจ และมีอารมณ์ฉุนเฉียว รุนแรง
- เด็กที่มีอาการร่วมกัน ทั้งการการขาดสมาธิ ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง และอยู่ไม่นิ่ง
- ขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
- ขาดความสามารถในการควบคุมตนเองในการแสดงออกซึ่งอารมณ์ และพฤติกรรม และมักขาดการยั้งคิด
- ขาดความสามารถในการยับยั้งตนเองจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ได้ทำไปแล้ว หรือกำลังทำอยู่ให้สงบลง
การรักษาเด็กสมาธิสั้นในปัจจุบัน สามารถทำได้หลายวิธี อย่างเช่น การใช้ยา, พฤติกรรมบำบัด, การฝึกอบรมผู้ปกครองรวมถึงวิธีในการเลี้ยงเด็กที่เป็นสมาธิสั้นที่ถูกต้อง ทั้งนี้ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตอาการ และคอยรวบรวมพฤติกรรม อาการ เด็กสมาธิสั้น เพื่อนำไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของโรค และวางแผนการรักษาต่อไปได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้การเข้ารับการวินิจฉัยอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาได้สูงค่ะ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นได้ที่ : https://www.nonthavej.co.th/attention-deficit-hyperactivity-disorder.php
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้