เปลี่ยนเลนส์ตา บอกลาปัญหาสายตาสั้นยาวเอียงให้กลับมาเห็นชัด

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (467)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:843
เมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 16.32 น.

เปลี่ยนเลนส์ตา

 

หากมีปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง หรือปัญหาโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อเลนส์ตา ทำให้เวลามองจะเห็นภาพในระยะต่าง ๆ อย่างผิดปกติ เพื่อรักษาอาการการมองเห็นผิดปกติที่เกิดขึ้นจากเลนส์ตาได้อย่างถาวรนอกเหนือจากการทำเลสิค การเปลี่ยนเลนส์ตาจะเป็นหนึ่งในวิธีรักษาปัญหาสายตาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

 

ทำความรู้จักเกี่ยวกับเลนส์ตา 

 

ก่อนเข้าประเด็นหลักเกี่ยวกับการเปลี่ยนเลนส์ตา มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลนส์ตาก่อนว่าคืออะไร เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการผ่าเปลี่ยนเลนส์ตามากขึ้น

เลนส์ตา(Lens) คือ ส่วนประกอบอย่างหนึ่งของดวงตาที่มีความสำคัญมาก ๆ ในด้านการมองเห็น อยู่ระหว่างกระจกตาดำและจอประสาทตา มีส่วนประกอบของโปรตีนมากกว่า 60% มีลักษณะเป็นเลนส์นูนสีใสไร้สีเพื่อช่วยให้แสงสามารถผ่านเข้ามาได้ดี 

 

เลนส์ตามีหน้าที่อย่างไร

 

เลนส์ตา มีหน้าที่ช่วยหักเหแสงจากระยะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดจุดตัดแสงที่ส่องกระทบกับจอตาอย่างพอดี ซึ่งภาพที่เลนส์ตาส่งไปยังจอตาจะเป็นภาพกลับหัวและถูกแปรเป็นกระแสประสาทส่งไปที่สมอง สมองก็จะประมวลและปรับภาพเป็นภาพปกติ ทำให้ดวงตาสามารถมองเห็นภาพจากระยะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระยะใกล้หรือไกลได้ 

เลนส์ตาจะมีกล้ามเนื้อ Ciliary Muscles ที่ติดอยู่กับเส้นเอ็นยึดเลนส์ตาที่ช่วยยืดและหดเลนส์ตาเพื่อปรับระยะโฟกัส โดยเมื่อกล้ามเนื้อเลนส์หดตัว เอ็นยึดเลนส์จะหย่อนและเลนส์ตาหนา ทำให้สามารถโฟกัสระยะใกล้ได้ดีขึ้น แต่เมื่อกล้ามเนื้อเลนส์คลายตัว เอ็นยึดเลนส์จะตึงและเลนส์ตาจะถูกยืดให้บาง ทำให้สามารถโฟกัสระยะไกลได้ดีชัดเจนมากยิ่งขึ้น

แต่ถ้าเลนส์ตาเกิดความผิดปกติขึ้น ก็จะทำให้จุดตัดแสงไม่ได้ตกกระทบกับจอตาในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการมองเห็น ดังนี้

 

  • สายตาสั้น - จุดตัดแสงอยู่ก่อนจอตา มองเห็นระยะไกลไม่ชัด
  • สายตายาว - จุดตัดแสงอยู่หลังจอตา มองเห็นระยะใกล้ไม่ชัด
  • สายตาเอียง - ความโค้งเลนส์ตาผิดปกติไม่เท่ากันทำให้แสงรวมตัวหลายจุด มองภาพไม่ชัดทุกระยะ

ในบางกรณีมีโอกาสที่เลนส์ตาสีเปลี่ยนเกิดต้อกระจกที่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเลนส์ตาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาต้อกระจกเพื่อช่วยให้กลับมามองเห็นชัดอีกครั้ง

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเลนส์ตามีอาการผิดปกติ 

 

เลนส์ตาผิดปกติ

 

หลาย ๆ คนอาจจะไม่ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเลนส์ตาตัวเอง หรือไม่ทราบว่าอาการแบบไหนที่สามารถพิจารณาได้ว่าเลนส์ตาผิดปกติและควรเปลี่ยนเลนส์ตาดีไหม

เมื่อเลนส์ตาเริ่มมีความผิดปกติ เลนส์ตาจะบวมขึ้น หรือสีของเลนส์ตาจะค่อย ๆ เปลี่ยนไป สามารถรับรู้ได้จากการมองเห็น โดยผู้ป่วยอาจจะมองเห็นแย่ลง เห็นภาพไม่ชัด ภาพแตก หรือมีแสงเป็นวงล้อมรอบจากแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสามารถสังเกตอาการเหล่านี้ได้ดีมากขึ้นในช่วงกลางคืน

ในช่วงแรกที่เลนส์ตาเริ่มเกิดความผิดปกติ จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นระยะต่าง ๆ มากนัก แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น การมองเห็นภาพในระยะต่าง ๆ จะค่อย ๆ แย่ลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้หากเป็นโรคต้อกระจกที่สีเลนส์เปลี่ยนเป็นทึบมาก แสงก็จะไม่สามารถเข้าไปได้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมองไม่เห็นรายละเอียดของภาพต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ 

ดังนั้นถ้าหากเริ่มรู้สึกว่าการมองเห็นแย่ลงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดวงตา และปรึกษาทำการผ่าตัดใส่เลนส์ตาหากจำเป็น หรือในกรณีที่เป็นต้อกระจก ก็เข้ารับผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาต้อกระจกเพื่อสามารถกลับมามองเห็นชัดอีกครั้ง

 

ใครควรเข้ารับการเปลี่ยนเลนส์ตาบ้าง

 

  • ผู้ที่มีภาวะปัญหาสายตาสั้น ยาว เอียง มากในระดับที่ไม่สามารถทำเลสิคได้จนต้องผ่าตัดสายตาสั้น ยาว เอียง แทน
  • ผู้ที่เป็นต้อกระจกที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะสลายต้อก่อนแล้วจึงใส่เลนส์ตาเทียม
  • ผู้ที่ต้องการเลิกสวมแว่นตา
  • ผู้ที่ไม่มีโรคที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น จอตาลอก จอตาเสื่อม ต้อหิน โรคกระจกตา เป็นต้น
  • ผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงของการเปลี่ยนเลนส์ตา เพราะอาจจะต้องผ่าตัดหรือยิงเลเซอร์เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการมองเห็น

เลนส์ตาเทียมมีกี่ประเภท

 

ในปัจจุบันเลนส์เทียมสำหรับใช้เปลี่ยนเลนส์กระจกตามีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งานและความเหมาะสมกับร่างกาย โดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา ราคาจะต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทและคุณสมบัติของเลนส์เทียมที่เลือกใช้ 

 

Monofocal Intraocular Lens (Monofocal IOL)

เป็นเลนส์เทียมมาตรฐาน ที่มีจุดโฟกัสระยะเดียว เหมาะกับการมองระยะไกล แต่ในระยะใกล้-กลางจะต้องใส่แว่นตาช่วยให้มองเห็นชัด

 

Multifocal Intraocular Lens (Multifocal IOL)

เป็นเลนส์เทียมที่มีจุดโฟกัสหลายระยะ แบ่งเป็นประเภทย่อย ดังนี้

 

  • Bifocal IOL (เลนส์เทียมจุดโฟกัส 2 ระยะ) มีจุดโฟกัส 2 ระยะ คือ กลาง-ไกล ใกล้-ไกล
  • Trifocal IOL (เลนส์เทียมจุดโฟกัส 3 ระยะ) มีจุดโฟกัส 3 ระยะ คือ ใกล้-กลาง-ไกล

 

Toric Intraocular Lens (Toric IOL)

เป็นเลนส์เทียมแก้สายตาเอียง เมื่อเปลี่ยนเลนส์ตาสามารถใช้ควบคู่กับเลนส์เทียมชนิดอื่นทั้ง Monofocal IOL หรือ Multifocal IOL เพื่อแก้ปัญหาสายตาสั้นหรือยาวร่วมด้วยได้

โดยในส่วนของเปลี่ยนเลนส์ตาต้อกระจกหรือเปลี่ยนเลนส์ค่าสายตาราคา จะอยู่ที่ประมาณ 25,000 - 100,000 บาทขึ้นไป

 

ข้อควรปฏิบัติดูแลตัวเองหลังเปลี่ยนเลนส์ตา

 

หลังผ่าตัดใส่เลนส์ตา

 

  • ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังเปลี่ยนเลนส์ตาต้องระวังไม่ให้ดวงตาข้างที่ผ่าตัดโดนกระแทกรุนแรง
  • ในช่วง 2 สัปดาห์แรกให้ครอบตาข้างที่ผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาก่อนนอนเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตากระทบกระเทือนจากการเผลอขยี้ตา กดทับระหว่างนอน
  • ห้ามให้ดวงตาข้างที่ผ่าตัดโดนน้ำอย่างเด็ดขาดอย่างต่ำ 2 สัปดาห์
  • ทำความสะอาดใบหน้าโดยใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดรอบดวงตาแทนการล้างหน้า รวมถึงในกรณีที่ต้องการสระผมให้ผู้อื่นสระให้แทนโดยที่ตัวผู้ผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาปิดตาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าตา
  • ในระหว่างวัน ใส่แว่นตาหรือแว่นกันแดดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ดวงตาเกิดการกระทบกระเทือนโดยตรง
  • ห้ามยกของหนัก และหลีกเลี่ยงการกระทำที่ใช้แรงเบ่ง 
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไปตามนัดแพทย์ทุกครั้ง โดยปกติแล้วแพทย์จะนัดหลังเปลี่ยนเลนส์ตา 1 วัน 1 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และนัดประจำปี


หากเปลี่ยนเลนส์ตามีโอกาสที่ร่างกายจะเกิดอาการแพ้หรือต่อต้านไหม 

 

สำหรับผู้ที่เคยได้ยินว่าการเปลี่ยนอวัยวะเทียมจะเกิดอาการแพ้หรือต่อต้าน แล้วรู้สึกกลัวว่าการเปลี่ยนเลนส์ตาก็มีโอกาสเกิดการแพ้หรือต่อต้านเหมือนกันนั้นไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องนี้ เนื่องจากเลนส์ตาเทียมที่นำมาใส่นั้นแตกต่างจากอวัยวะเทียมอื่น ๆ ที่นำมาใส่ในร่างกาย ซึ่งเลนส์ตาเทียมจะมีความปลอดภัยสูง สามารถเปลี่ยนเลนส์ตาได้โดยไม่เปลี่ยนอาการแพ้หรือต่อต้าน

 

สรุป

 

การเปลี่ยนเลนส์ตา จะช่วยแก้ปัญหาทางด้านการมองเห็นให้กลับมาเห็นชัดเจนได้อีกครั้งอย่าวถาวร เหมาะกับผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น ยาว เอียงมาก หรือผู้เป็นต้อกระจกที่ส่งผลต่อการมองเห็นรายละเอียดภาพ สำหรับผู้ที่สนใจผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาที่ไหนดี จะต้องเลือกสถานที่ที่มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูง และรักษาโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบกับดวงตาและการมองเห็น

แก้ไขครั้งที่ 2 โดย GUEST1649747579 เมื่อ9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 22.16 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา