ตรวจเบาหวาน เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงในการใช้ชีวิต
ประเทศไทยเรามีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานเฉลี่ยปีละ 8,000 คน ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลย ทั้งโรคนี้เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานสูงขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และการกินในปัจจุบัน ดังนั้นหากพบว่าเราเข้าข่ายผู้เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน แนะนำให้เข้ารับการตรวจเบาหวานทันที เพื่อเข้ารับการรักษาก่อนจะรุนแรงถึงชีวิต
รู้จักโรคเบาหวาน
เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคเบาหวานดีกว่าว่า โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ
สาเหตุของโรคเบาหวาน
สาเหตุของโรคเบาหวานมีหลายปัจจัยร่วมกันทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factor) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (environmental factor)
- กรรมพันธุ์
- น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย
- อายุที่มากขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานก็มากขึ้น
- เป็นโรคที่ตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซึ่งมีผลต่อตับอ่อน
- ความเครียดเรื้อรัง
- การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นหรือการตอบสนอของอินซูลินได้ไม่ดี
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมนจากรกหลายชนิด ซึ่งมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน
โรคเบาหวานมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
จากการตรวจเบาหวาน จะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
- เบาหวานประเภทที่ 1 : พบได้น้อย ประมาณ 5% ของผู้ป่วยเบาหวานไทยที่ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำให้ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องได้รับการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป มักพบในเด็กและวัยรุ่น
- เบาหวานประเภทที่ 2 : พบได้มาก ประมาณ 95% ของผู้ป่วยเบาหวานไทย ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 30 ปีขึ้นไป ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินไปใช้ได้เพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่อ้วนที่มีน้ำหนักเกิน
- เบาหวานประเภทที่ 3 : มักพบในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 2 หรือ 3
- เบาหวานประเภทที่ 4 : เป็นชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของสารพันธุกรรม หรือโรคในตับอ่อน เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
เมื่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเป็นเวลานาน น้ำตาลจะส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือดเล็กและใหญ่ ทำให้เกิดภาวะอักเสบ อุดตันได้ง่ายกว่าคนปกติ ทั้งยังมีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การที่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ทำให้น้ำตาลส่วนเกินไปเกาะกับเม็ดเลือดขาวที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้ประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรคลงลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย
ภาวะแทรกซ้อนหลัก ๆ ที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีเบาหวานขึ้นตา, เบาหวานลงไต, อาการชาปลายมือปลายเท้า, เส้นเลือดใหญ่อุดตันบริเวณขา, เส้นเลือดหัวใจตีบ, เส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น
อาการสัญญาณเตือนโรคเบาหวาน
โดยมากในระยะแรก ๆ จะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ในบางรายตรวจพบเมื่อเป็นมานานจนเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วเพิ่งจะรู้ตัว สำหรับเบาหวานประเภท 1 จะเป็นแบบเฉียบพลัน แต่ เบาหวานประเภท 2 จะค่อยเป็นค่อยไป สัญญาณบ่งบอกโรคเบาหวานมีดังนี้
- ปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก
- กระหายน้ำ เพราะปัสสาวะบ่อย
- หิวบ่อย
- น้ำหนักลดลงผิดปกติ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด
- ชาปลายมือปลายเท้า
- แผลหายช้ากว่าปกติ
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ควรเข้ารับการตรวจ
ถ้าหากว่าเราเข้าข่ายหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ แนะนำให้เข้ารับการตรวจเบาหวาน เพื่อจะได้ป้องกันล่วงหน้า
- อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
- ในครอบครัวมีประวัติคนเป็นเบาหวาน
- มีน้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย
- มีความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท)
- หญิงที่มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
- ดื่มสุรา สูบบุหรี่
- หญิงที่มีโรคถุงน้ำในรังไข่
- เคยตรวจพบระดับน้ำตาลสะสม Hemoglobin A1C (HbA1C) มากกว่าหรือเท่ากับ 5.7%, ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- มีไขมันชนิดเอชดีแอล น้อยกว่า 35 มิลลิการัมต่อเดซิลิตร หรือ ไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ , หลอดเลือดสมอง
วิธีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
การตรวจเบาหวานนั้น อาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยที่แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของคนในครอบครัว การตรวจเลือดสามารถทำได้หลายวิธี แต่หาตรวจแล้วไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน จำเป็นต้องตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งเพื่อยืนยันผล
1. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจเบาหวานด้วย การวัดระดับน้ำตาลในเลือด มีรายละเอียด ดังนี้
- ตรวจเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หากน้ำตาลในเลือดมี 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป : เป็นเบาหวาน
- ตรวจหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง หากน้ำตาลในเลือดมี 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป : เป็นเบาหวาน
- ตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ย หรือ ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี หากพบ 6.5% ขึ้นไป : เป็นเบาหวาน
- ตรวจการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลิน หลังดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัมใน 2 ชั่วโมง หากน้ำตาลในเลือดมี 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป : เป็นเบาหวาน
2. การตรวจแบบเจาะเลือดปลายนิ้ว
เป็นวิธีตรวจที่ใช้เข็มเจาะปลายนิ้ว จากนั้นนำเลือดหยดลงไปในแถบวัดระดับน้ำตาลในเครื่อง แล้วรอผลตัวเลข หากพบ 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ก่อนกินอาหาร) : เป็นเบาหวาน
3. การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส
วิธีตรวจที่มักใช้กับหญิงมีครรภ์ โดยแพทย์จะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อน แล้วให้กินกลูโคส 100 กรัม
จึงตรวจหลังผ่าน 2 ชั่วโมง หากน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร : เป็นเบาหวาน
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเบาหวาน
สำหรับผู้ที่เตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเบาหวานนั้น ต้องพักผ่อนอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง งดอาหารและน้ำเป็น
เวลา 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจเบาหวาน หรือเข้ารับการเจาะเลือดตรวจในห้องปฏิบัติการ
ขั้นตอนการตรวจโรคเบาหวาน
ในการตรวจว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานจะมีวิธีขั้นตอนการตรวจ ดังนี้
1. การวัดระดับน้ำตาลภายในเลือดขณะที่อดอาหาร(fasting plasma glucose; FPG)
ในการตรวจด้วยวิธีนี้ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเพื่อให้ผลการตรวจนั้นคงที่แม่นยำ
2. การตรวจเบาหวานด้วยเลือดจากปลายนิ้ว(capillary fasting blood glucose)
เป็นการตรวจเบาหวานที่สามารถทำด้วยตนเองได้ด้วยการเจาะเลือดบริเวณปลายนิ้วแล้วหยดเลือดลงไปในแถบวัดระดับน้ำตาลของเครื่องได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
ในกรณีที่อดอาหารแล้วตรวจพบว่าระดับน้ำตาลภายในเลือดอยู่ที่ 100-125 mg/dL จะถือว่าเป็นผู้ที่มีระดับน้ำตาลภายในเลือดผิดปกติ แต่ยังไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ในกรณีที่ระดับน้ำตาลภายในเลือดสูงกว่า 126 mg/dL จะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอดอาหารได้ ก็สามารถเจาะเลือดจากปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลภายในเลือดแทนได้ด้วยเช่นกัน โดยในกรณีที่ระดับน้ำตาลภายในเลือดเกิน 110 mg/ml จะต้องตรวจระดับน้ำตาลภายในเลือดขณะอดอาหารซ้ำ แต่ถ้าระดับน้ำตาลน้อยกว่า 110 mg/ml ก็จะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้ง
3. การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส
ในวิธีนี้จะให้ผู้เข้ารับการตรวจอดอาหารก่อน 8 ชั่วโมงและเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลภายในเลือดหลังอดอาหารก่อน จากนั้นจะให้ดื่มน้ำตาลกลูโคสเข้าไปแล้วเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้ง ซึ่งในกรณีที่ระดับน้ำตาลภายในเลือดสูงกว่า 200 mg/ml หลังจากดื่มน้ำตาลกลูโคสไปแล้ว 2 ชั่วโมงจะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ตรวจโรคเบาหวานที่ไหนดี
สำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาว่าจะตรวจเบาหวานที่ไหนดีนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นสิ่งแรก ๆ คือ ความน่าเชื่อถือของสถานที่ที่เข้ารับการตรวจ โดยผู้ตรวจควรเลือกสถานที่ที่ได้รับมาตรฐานสากล มีแพทย์ผู้มีใบประกอบอาชีพเป็นผู้ดูแล แบะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจที่ทันสมัย ครบครัน และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
ในส่วนของการให้บริการนั้น ผู้เข้ารับการตรวจควรนำเรื่องของการให้บริการมาพิจารณาเช่นเดียวกัน โดยควรเลือกสถานที่ที่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเอาใจใส่ แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจโรคเบาหวานให้กับผู้เข้ารับการตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน และกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจเกิดมีข้อสงสัยก็ควรที่จะตอบอย่างใจเย็นเพื่อให้ทางผู้เข้ารับการตรวจรู้สึกวางใจในการเข้าใช้บริการได้
นอกจากนี้แล้วในส่วนของทำเลที่ตั้งของสถานที่เข้ารับการตรวจ ก็ควรมองหาสถานที่ที่ตนเองสามารถเดินทางไปได้ง่าย ไม่ลำบากมากจนเกินไป รวมถึงทั้งภายนอกและภายในอาคารของสถานที่เข้ารับการตรวจเองก็ควรที่จะสะอาด มีห้องน้ำและห้องรับรองรอระหว่างตรวจเบาหวานอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน
สุดท้ายนี้การเลือกสถานที่เข้ารับการตรวจนั้นจะขึ้นอยู่กับงบที่มี ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจควรศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการตรวจเบาหวานของแต่ละที่อย่างละเอียด จากนั้นจึงเลือกแพคเกจที่ต้องการตรวจตามความเหมาะสม โดยถ้ามีงบไม่จำกัดก็สามารถพิจารณาตามความต้องการได้ แต่ในกรณีที่มีงบน้อยอาจจะต้องเลือกแพจเกจที่ถูกลงมาตามความเหมาะสม
ตรวจโรคเบาหวาน ราคาเท่าไหร่
ราคาตรวจเบาหวานส่วนมากจะเริ่มต้นที่หลักร้อยบาทไปจนถึง 10,000 บาทขึ้นไป โดยราคานั้นจะขึ้นอยู่กับสถานที่เข้ารับการตรวจ รวมถึงโปรโมชั่นและแพคเกจโปรแกรมที่ทางโรงพยาบาลแต่ละที่จัดไว้ให้ ซึ่งในแพคเกจที่มีราคาไม่สูงมากก็จะมีการตรวจเพียงเล็กน้อย เช่น ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในกรณีที่เลือกตรวจแพจเกจที่มีราคาสูงขึ้นก็จะมีการตรวจสุขภาพส่วนอื่นเพิ่มเติมเข้ามา
แนวทางการรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาโรคเบาหวาน เป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ พยาบาล โภชนากร และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยต้องเข้าใจว่าโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงปกติทีสุดได้ ผู้ป่วยสามารถสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ โดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยาลดน้ำตาลในเลือด ต้องรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
1. การใช้ยา
แพทย์จะพิจารณาชนิดของเบาหวานที่เป็น แล้วทำการรักษาด้วยยาว่าควรเป็นชนิดไหน เช่นฉีดอินซูลินสำหรับ ประเภท 1 เป็นต้น
2. การควบคุมการทานอาหาร
สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด อาหารที่กินได้อย่างไม่จำกัดจำนวนได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว เป้นต้น แต่ถ้าเป็นผลไม้ต้องกินชนิดหวานน้อย เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น
3. การออกกำลังกาย
เป็นวิธีที่สำคัญ ช่วยให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำให้ วิ่งเหยาะ ๆ เล่นแอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ไม่ควรนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนอนเล่นพักผ่อนเกิน 90 นาที หากเกินควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบท
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรต้องปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันก็สมควรป้องกัน
โรคเบาหวานด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภคและออกกำลังกาย เช่น
- เลือกกินอาหารจำพวกแป้งจากธัญพืชที่ไม่ขัดสี ในปริมาณพอเหมาะ
- พยายามงดอาหารรสจัด เช่น หวาน มัน และ เค็ม
- กินผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัดเพื่อเพิ่มกากใยอาหาร
- ควบคุมน้ำหนัก
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ดูแลสุขภาพฟัน
- ทำจิตใจให้สงบ และผ่อนคลายความเครียด ไม่โกรธ หรือโมโหง่าย
- พักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
- ไม่ควรกินยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
- ดูแลและตรวจเท้าทุกวัน คอยสำรวจว่ามีแผลที่ง่ามนิ้วเท้า ฝ่าเท้าหรือไม่
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเช็คอาการอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองได้แล้ว ด้วยเครื่องมือชนิดพกพา เช่น SMBG (Self-monitoring of blood glucose) เพียงแค่เจาะเลือดที่ปลายนิ้วชี้ หยดเลือดลงบนแถบทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาล ซึ่งจะมีคู่มือประกอบการดูผลตรวจ
ข้อสรุป
ถึงแม้โรคเบาหวานจะเป็นโรคเรื้อรัง และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ หากผู้ป่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ ผ่านการตรวจเบาหวาน และให้ความร่วมมือในการรักษา ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตที่มีคุณภาพได้ใกล้เคียงกับคนปกติได้
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้