ทำพาสปอร์ตสำคัญอย่างไร แล้วทำไมต้องมี
พาสปอร์ตนั้นมีอีกชื่อว่าหนังสือเดินทาง แต่คนไทยส่วนมากนิยมใช้คำทับศัพท์กัน เพราะง่ายและสั้นต่อการจดจำ เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมทุกครั้งที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ทุกคนต้องทำพาสปอร์ต ก็เพราะพาสปอร์ตคือหลักฐานยืนยันตัวตนของผู้เดินทางนั่นเอง
หรือจะเปรียบเทียบการทำพาสปอร์ตเหมือนกับกุญแจไขเข้าประเทศปลายทางของผู้เดินทางก็ได้ รวมถึงเป็นกุญแจกลับเข้าประเทศอีกด้วย เพราะหากไม่มีกุญแจเราก็จะไม่สามารถเข้าบ้านได้ ซึ่งแต่ละประเทศก็เปรียบเสมือนบ้านของเราและบ้านของเพื่อน นี่ก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้พาสปอร์ตนั้นมีความสำคัญมากนั่นเอง
หนังสือเดินทาง (Passport) คืออะไร
หนังสือเดินทางหรือที่เรียกทับศัพท์จากคำว่า Passport เป็นหนังสือบันทึกประวัติการเดินทางระหว่างประเทศของผู้ถือครอง ไม่ว่าจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ๆ เราก็จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทาง และแน่นอนว่าประเทศไกล ๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
นอกจากนี้หนังสือเดินทาง (Passport) ยังใช้เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ถือครองอีกด้วย เหมือนกับบัตรประชาชนแต่ใช้กันเป็นหลักสากล เพราะฉะนั้นเวลาไปต่างประเทศจึงจำเป็นอย่างมากที่จะทำพาสปอร์ต และควรพกติดตัวหรือเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย ป้องกันการสูญหาย เพราะหากทำพาสปอร์ตหาย จะทำให้เกิดเรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะประเทศที่ต้องมีวีซ่าควบคู่ในการเดินทางเข้าประเทศด้วยแล้ว ถ้าทำพาสปอร์ตหายก็มีสิทธิ์ที่จะถูกส่งกลับประเทศ
ที่สำคัญพาสปอร์ตนั้นจะมีอายุแค่ 5 ปี หรือ 10 ปีเท่านั้น และหากจะเดินทางออกนอกประเทศ วันหมดอายุของพาสปอร์ตจะต้องไม่ต่ำกว่า 6 เดือนเท่านั้น ทางที่ดีควรรีบไปต่อพาสปอร์ตก่อน เพราะสามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนวันหมดอายุโดยไม่มีการจำกัดวัน โดยเกณฑ์นี้ถือเป็นหลักสากลเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันเอกสารมีปัญหานั่นเอง เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังจะเดินทาง อย่าลืมเช็ควันหมดอายุของพาสปอร์ต หากใกล้พาสปอร์ตใกล้หมดอายุก็ต้องรีบไปต่อพาสปอร์ตที่สถานที่ที่ท่านสะดวก
Passport มีกี่แบบกันนะ
หลายคนอาจคิดว่าหนังสือเดินทาง (Passport) มีแค่แบบเดียว แต่อันที่จริงแล้วหนังสือเดินทาง (Passport) มีด้วยกันถึง 5 ประเภท ซึ่งจะแบ่งตามอาชีพ แต่ก็มีบางกรณีที่จำเป็นต้องถือหนังสือเดินทางแบบชั่วคราว (temporary passport, emergency passport) เช่นกัน
หนังสือเดินทางธรรมดา
หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport) คือหนังสือเดินทางทั่วไปที่คนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับราชการเป็นคนถือ ปกติแล้วจะมีทั้งแบบอายุ 5 ปี และแบบใหม่ที่เพิ่งมีไม่นานมานี้คือแบบ 10 ปี เหมาะกับคนที่เดินทางบ่อย ๆ มากเพราะถ้าหากไม่อยากต่อพาสปอร์ตบ่อย ๆ ก็เพิ่มค่าธรรมเนียมอีกนิดหน่อยเท่านั้นเอง
สำหรับคนที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี จำเป็นต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
- บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือหนังสือเดินทาง (เฉพาะผู้ที่อายุ 7 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี)
- สูติบัตรฉบับจริง
- หนังสือเดินทางฉบับเดิม (ถ้ามี)
- หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ยังไม่หมดอายุ
- เอกสารยืนยันความเกี่ยวพันและหนังสือแสดงอำนาจปกครองผู้เยาว์
- บิดามารดาหรือผู้ปกครองต้องมาแสดงตนและเซ็นยินยอมในวันที่ทำหนังสือเดินทางด้วย
- หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ทำการเดินทางจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง รวมทั้งหนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชนตัวจริงของผู้มอบอำนาจด้วย
- หากบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถมาแสดงตนในวันที่ทำหนังสือเดินทาง จำเป็นต้องทำหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ (ทำที่ว่าการเขตหรืออำเภอ)
- กรณีผู้ปกครองเสียชีวิตต้องแนบสำเนาใบมรณบัตรมาด้วย
- หากอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ต้องการที่จะทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- บัตรประชาชนตัวจริง
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม
- กรณีหนังสือเดินทางเล่มเก่าหาย ให้นำใบแจ้งความมาด้วย
หนังสือเดินทางราชการ
หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) ปกหนังสือเดินทางจะเป็นสีน้ำเงิน มีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถใช้กับการเดินทางส่วนตัวได้ สำหรับบุคคลที่สามารถถือหนังสือเดินทางราชการได้ จำเป็นต้องเข้าเกณฑ์ตามนี้
- เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ถูดจัดตั้งตามหลักรัฐธรรมมนูญและสมาชิกรัฐสภา และต้องเป็นการเดินทางเพื่อไปราชการในต่างแดนเท่านั้น
- ข้าราชการที่ไม่ได้มีตำแหน่งทางการทูต แต่ต้องไปประจำและปฏิบัติราชการที่สถานเอกอัคราชทูต สถานกงสุลไทย และคณะทูตถาวรประจำองค์การระหว่างประเทศ
- คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ปฏิบัติราชการก็สามารถถือหนังสือเดินทางราชการได้เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแม้ว่าบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี
- บุคคลใดก็ตามที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติราชการที่ต่างประเทศ
- บุคคลใดที่สามารถทำประโยชน์ในทางราชการหรือทางปลัดกระทรวงการต่างประเทศเห็นสมควรมอบหนังสือเดินทางราชการได้
หนังสือเดินทางทูต
หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport) ปกหนังสือเดินทางจะเป็นสีแดงสด มีอายุ 5 ปี และไม่สามารถทำการต่อพาสปอร์ตได้ ผู้มีสิทธิ์ถือหนังสือเดินทางทูตจะมีแค่บุคคลต่อไปนี้เท่านั้น
- พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ
- ประธานองคมนตรี องคมนตรีและคู่สมรส
- รัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและคู่สมรส
- ประธานและรองประธาน ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา และคู่สมรสเท่านั้น
- ประธานและรองประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุธรณ์ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองสุงสุดและคู่สมรส
- อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพ
- ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต
- คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูตก็สามารถถือหนังสือเดินทางราชการได้เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแม้ว่าบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี
- บุคคลใดที่สามารถทำประโยชน์ในทางราชการ พันธกรณีระหว่างประเทศ สถานการณ์พิเศษ หรือทางปลัดกระทรวงการต่างประเทศเห็นสมควรมอบหนังสือเดินทางทูตได้
หนังสือเดินทางชั่วคราว
หนังสือเดินทางแบบชั่วคราว (temporary passport, emergency passport) หน้าปกสีเขียวหรือแบบกระดาษสีขาว ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินอย่างเช่น หนังสือเดินทางเล่มเดิมหายแต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเดินทางออกนอกประเทศ หรือกรณีที่อยู่ต่างประเทศแล้วหนังสือเดินทางหมดอายุหรือสูญหาย มีอายุแค่ 1 ปีเท่านั้น และไม่สามารถต่อพาสปอร์ตหรือใช้ขอวีซ่าได้ เพราะหนังสือเดินทางประเภทนี้จะไม่มีบาร์โค้ดที่อ่านค่าได้ (Machine Reable Bar Code) และหากไม่มี Reable Bar Code ก็จะไม่สามารถทำการเดินทางเข้าประเทศที่ต้องขอวีซ่า ตามกฎสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organisation/ICAO)
สถานที่ทำพาสปอร์ต
หากอยากทำพาสปอร์ตหรือต่อพาสปอร์ต ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมีจุดบริการมากมาย รวมถึงการทำพาสปอร์ตด้วยตัวเองอย่างเครื่องทำพาสปอร์ตอีกด้วย โดยจุดบริการมีดังต่อไปนี้
กรมการกงสุล
- เขตแจ้งวัฒนะ
สำนักงานหนังสือเดินทาง
- ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (ให้บริการเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น)
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว
- ธัญญาพาร์ค บางนา-ศรีนครินทร์
- SC Plaza สายใต้ใหม่-ตลิ่งชัน
- Big C สุวินทวงศ์ จ.มีนบุรี
- MRT คลองเตย
- MBK Center เขตปทุมวัน
- ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จ.ธัญบุรี
- Central Westgate จ.บางใหญ่
- อาคาร SMEs2 จ.เชียงใหม่
- อบจ.หลังใหม่ จ.เชียงราย
- Central Plaza จ.พิษณุโลก
- Big C สาขา 2 จ.นครสวรรค์
- Central Plaza จ.อุดรธานี
- ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า จ.ขอนแก่น
- ศาลากลางจังหวัด จ.อุบลราชธานี
- Central Plaza จ.นครราชสีมา
- อาคารลานค้าชุมชน จ.จันทบุรี
- ห้างสหไทย การ์เด้นพลาซา จ.สุราษฎร์ธานี
- Central Festival จ.ภูเก็ต
- อาคารโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.สงขลา
- ศอ.บต. จ.ยะลา
- Central พัทยา
- Buriram Castle จ.บุรีรัมย์
- Central Plaza จ.นครศรีธรรมราช
- สำนักงานออกหนังสือผ่านแดน จ.หนองคาย
- โรบินสัน จ.เพชรบุรี
ค่าธรรมเนียมการทำพาสปอร์ต
สำหรับค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทางหรือค่าธรรมเนียมการต่อหนังสือเดินทางจะราคาเท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานและประเภทของการทำพาสปอร์ตหรือต่อพาสปอร์ต อาจมีค่าธรรมเนียมการส่งเล่มเล็กน้อย ในกรณีที่ไม่ได้รับเล่มเองหรือทำแบบด่วน
หนังสือเดินทางทั่วไป
- 5 ปี ราคา 1,000 บาท (เร่งด่วน 3,000 บาท)
- 10 ปี ราคา 1,500 บาท (เร่งด่วน 3,500 บาท)
หนังสือเดินทางราชการ
- 1,000 บาท
หนังสือเดินทางทูต
- ไม่มีค่าธรรมเนียม
หนังสือเดินทางชั่วคราว
- 1,000 บาท
สรุป
การทำพาสปอร์ตหรือการต่อพาสปอร์ตนั้นไม่ได้ยาก เพียงแค่มีเอกสารครบ เตรียมค่าธรรมเนียมให้พอดี บางสาขาใช้เวลาไม่นาน ขึ้นอยู่กับคิวของผู้ขอคำร้อง รวมถึงปฏิบัติตามข้อบังคับในการทำพาสปอร์ต อย่างเช่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์เนื่องจากปัจจุบันจะมีการสแกนม่านตา หรือเวลาถ่ายรูปจะต้องเห็นคิ้วเป็นต้น เพียงแค่ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด เท่านี้คุณก็สามารถมีหนังสือเดินทางเป็นของตัวเองได้แล้ว
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้