ชวนดู วางแผนเกษียณอายุฉบับมนุษย์เงินเดือนต้องทำอย่างไรบ้าง

waanbotan_

ขีดเขียนเต็มตัว (201)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:246
เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 10.01 น.

เรื่องของการเงินเป็นสิ่งที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าจะวัยไหนก็ตาม การทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือในความเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมั่นคงและมีความมั่นใจในทุกสภาวการณ์ โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตในช่วงบั้นปลายหากมี การวางแผนเกษียณอายุ ลดหย่อนภาษี ที่ดีตั้งแต่แรกเริ่มวัยทำงาน ช่วยให้เรามีเป้าหมายในการเก็บเงินมากยิ่งขึ้น

 

วันนี้เราขอแชร์ 5 ทริคง่าย ๆ สำหรับ วางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน 

  1. วางกรอบเป้าหมายด้านอายุ 

ทั้งอายุการทำงานและอายุขัยเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนอนาคต การกำหนดกรอบที่ชัดเจนจะช่วยให้วางแผนได้ง่ายขึ้น เราควรกำหนดว่าจะเกษียณเมื่ออายุเท่าไหร่ หรือน่าจะมีชีวิตถึงอายุเท่าไหร่ ทั้งนี้อายุขัยสามารถประเมินได้จากอายุ สุขภาพ รวมถึงประวัติโรคภัยไข้เจ็บของคนในครอบครัว ตัวอย่างเช่น นาย B อายุ 25 ปี ตั้งเป้าหมายเกษียณตอนอายุ 55 ปี และคาดว่าน่าจะมีอายุขัยจนถึง 85 ปี เนื่องจากส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวมีอายุยืน ตัวนาย B สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ดังนั้นนาย B จะมีเวลาทำงานก่อนเกษียณอีก 30 ปี และต้องวางแผนด้านการเงินให้พร้อมต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีก 30 ปี 

 

  • ประเมินค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

 

ด้วยการคิดคำนวณค่าใช้จ่ายต่อเดือนซึ่งอาจจะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง รวมทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อน ค่าใช้จ่ายจิปาถะ และภาระผูกพันต่าง ๆ  โดยสามารถอ้างอิงได้จากค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน แล้วคำนวณเป็นจำนวนเงินที่ควรมีหลังจากเกษียณ ด้วยสูตรอย่างง่าย  

จำนวนเงินที่ควรมี = ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี X จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ

โดยค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปีนั้นประเมินว่าควรอยู่ที่ 70% ของค่าใช้จ่ายปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 20,000 บาท จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจะอยู่ที่  70% ของ 20,000 บาท หรือ 14,000 บาท เท่ากับ 168,000 บาทต่อปี หากคิดว่าจะมีอายุขัยอีกประมาณ 20 ปี หลังเกษียณ ดังนั้นจำนวนเงินที่ต้องมี = 168,000 บาทต่อปี x 20 ปี = 3,360,000 บาท อย่างไรก็ตามสูตรนี้เป็นการคำนวณอย่างง่ายโดยไม่ได้คิดอัตราเงินเฟ้ออีกประมาณ 3% ต่อปี ดังนั้นหากคิดอัตราเงินเฟ้อร่วมด้วยจะต้องมีเงินออมมากกว่านี้ประมาณ 2 - 3 เท่า 

 

  • สำรวจเงินออมที่มีอยู่ทั้งหมด 

 

เมื่อทราบตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณแล้ว ลองสำรวจเงินออมที่มีทั้งหมดไม่ว่าจะในบัญชีเงินฝาก กองทุนประกันสังคม ประกันสะสมทรัพย์ เงินลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ เมื่อทราบยอดรวมที่มีทั้งหมดแล้ว และต้องมีเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ถึงจะถือเป็นการวางแผนเกษียณอายุแบบสบายๆ

 

  • วางแผนสร้างเงินออมและลงทุนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้

 

เมื่อ วางแผนเกษียณ อายุโดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างเงินออมให้ครบตามแผนที่วางไว้ ต้องเริ่มจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อวางแผนการใช้จ่าย ลดสิ่งที่ไม่จำเป็นลงเพื่อให้เหลือเงินออมมากขึ้น พร้อมทั้งวางแผนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เงินงอกเงยซึ่งการเลือกลงทุนนั้นควรพิจารณาจากอายุและความเสี่ยงที่รับได้ เนื่องจากการลงทุนมีหลายประเภททั้งแบบที่ได้รับผลตอบแทนดีแต่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนน้อยความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ควรกระจายการลงทุนในทุกกลุ่มเพื่อประโยชน์สูงสุดในการออม 

 

  • หมั่นตรวจสอบแผนเกษียณอายุอยู่เสมอ

 

เมื่อเลือกลงทุนสำหรับ การวางแผนเกษียณอายุ แล้วควรหมั่นตรวจสอบและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอทั้งแนวโน้มของตลาดการลงทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย และอายุเกษียณ  หรือแม้แต่เรื่องลดหย่อนภาษี กรุงไทยแนะนำให้ศึกษาไว้เยอะๆ 


หากกำลัง วางแผนเกษียณ อายุ ลดหย่อนภาษี 2565 กับกรุงไทย และต้องการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ เพื่อความมั่นใจ สามารถขออคำแนะนำการวางแผนเกษียณสไตล์มนุษย์เงินเดือนที่ธนาคารกรุงไทยได้เลย

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา