วิธีเลือกยาแก้ไอสำหรับเด็กและยาแก้ไอเด็กยี่ห้อไหนดี เรามีคำตอบ

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (467)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:843
เมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 14.25 น.

ยาแก้ไอเด็ก

 

ยาแก้ไอเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านไว้เสมอ เนื่องจากสภาพอากาศช่วงนี้ค่อนข้างแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน รวมไปถึงภูมิต้านทานในวัยเด็กยังไม่แข็งแรงพอ ทำให้สภาพร่างกายของเด็กปรับตัวไม่ทัน อาจเกิดอาการป่วย มีไข้ มีเสมหะ ปวดหัว ตัวร้อนลามไปถึงมีอาการคันคอและไอตามมา 

หากพ่อแม่มั่นใจว่าได้คอยระวังและดูแลสุขภาพร่างกายของลูกอย่างดีแล้ว แต่บางครั้งอาการเจ็บป่วยก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อใด ดังนั้นพ่อแม่ควรเตรียมการรับมือกับอาการป่วยของลูกอยู่เสมอ โดยการเตรียมยาแก้ไอสำหรับเด็ก ยาลดไข้ ยาลดนํ้ามูก ยาแก้ปวดหัวและเจลลดไข้ติดบ้านไว้เสมอ

 

อาการไอในเด็ก

 

อาการไอเป็นหนึ่งในกลไกทางธรรมชาติที่ร่างกายแสดงออกมาเมื่อเกิดอาการผิดปกติหรือพบสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย สิ่งที่พ่อแม่ควรทำควบคู่ไปกับการป้อนยาแก้ไอสำหรับเด็กคือ คอยสังเกตอาการไอของลูกเพื่อหาต้นตอของการเกิดอาการไอเพื่อที่จะได้เลือกยาแก้ไอเด็กถูกประเภท ดังนี้

 

อาการอะไรบ้างที่ควรทานยาแก้ไอเด็ก

 

อาการไอในเด็กเล็ก

อาการไอในเด็กเล็กอาจเกิดได้จาก 3 ปัจจัยหลัก 

 

  • การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อไอกรน(Whooping Cough) และเชื้อแบคทีเรีย
  • การเป็นโรค เช่น โรคหวัด โรคปอด และโรคหลอดลม
  • การมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในหลอดลมหรือช่องคอ

 

อาการไอในเด็กโต

อาการไอในเด็กโตอาจเกิดได้จาก 5 ปัจจัยหลัก 

 

  • โรคภูมิแพ้
  • การระคายเคืองจากควันต่าง ๆ 
  • การเป็นโรค เช่น โรคหวัด โรคปอด และโรคหลอดลม
  • การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อไอกรน(Whooping Cough) และเชื้อแบคทีเรีย
  • การมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในหลอดลมหรือช่องคอ

 

ยาแก้ไอสำหรับเด็ก

 

พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อยาแก้ไอสำหรับเด็กอย่างมาก เนื่องจากยาแก้ไอในเด็กแต่ละประเภทจะมีข้อจำกัดด้านอายุ เช่น ยาแก้ไอ ทารก ยาแก้ไอเด็กเล็ก และยาแก้ไอ เด็กโต วัยเด็กจะมีสภาวะร่างกายที่ไม่แข็งแรงเท่ากับผู้ใหญ่ 

หากลูกได้รับยาแก้ไอเด็กผิดประเภทหรือมีส่วนผสมของยาบางตัวที่ลูกคุณแพ้ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากผู้ใหญ่สามารถอ่านฉลากยา รู้ว่าร่างกายรับส่วนผสมของยาตัวไหนได้บ้างและยาแก้ไอ ละลายเสมหะ ผู้ใหญ่มีให้เลือกมากกว่ายาแก้ไอเด็ก

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อยาแก้ไอเด็ก

 

บริโภคยาแก้ไออย่างไรให้ปลอดภัย

 

1. สังเกตลักษณะอาการไอของลูกน้อย

การสังเกตอาการไอของลูกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากอาการไอในไวเด็กสามารถบอกโรคหรืออาการที่จะตามมาหลังจากการไอได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหลอดลม เชื้อไวรัส เชื้อไอกรน(Whooping Cough) เชื้อแบคทีเรีย การระคายเคืองจากควันต่าง ๆ และการมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในหลอดลมหรือช่องคอ ซึ่งบางโรคอาจจะทำให้เกิดอาการไอแห้งและบางโรคอาจทำให้เกิดอาการไอเปียก ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อเช็กต้นตอของอาการไอร่วมด้วย

 

2. ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

วัยเด็กร่างกายยังเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายได้ไม่เต็มที่ การเลือกซื้อยาแก้ไอเด็กจึงเป็นเรื่องที่ต้องระวังอย่างมาก เนื่องจากส่วนผสมในตัวยาบางชนิดอาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ หรือร่างกายรับผลค้างเคียงของสารต่าง ๆ ไม่ไหวอาจจะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายตามมา ทางออกที่ดีที่สุดควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาตัวยาแก้ไอเด็ก

 

3. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวยารวมถึงผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยาแก้ไอเด็กหลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

  • ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) หรือ ยาขับเสมหะ (Expectorants) ผลค้างเคียงคือ อ่อนเพลีย สับสน มึนงง ต่อมผลิตนํ้าลายออกมาเยอะกว่าปกติ และมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • ยากดอาการไอ (Antitussive/Cough suppressant) ผลค้างเคียงคือ อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน

 

4. ใช้อุปกรณ์ป้อนยาที่มีความเหมาะสม

อุปกรณ์ป้อนยาหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภท ดังนี้

 

  • ไซรินจ์ (Syringe) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิลิตรและออนซ์ ซึ่งแม่นยำต่อการวัดสัดส่วนปริมาณยาที่ควรบริโภคในแต่ละครั้งตามฉลากข้างขวดยา 
  • ช้อน ควรใช้ช้อนที่แถมมากับตัวยาเท่านั้น เนื่องจากช้อนยาดังกล่าวมีการวัดปริมาณยาที่ควรบริโภคในแต่ละครั้งไว้ให้แล้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาต่อร่างกาย

 

5. หากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

หากลูกของคุณทานยาแก้ไอสำหรับเด็กแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังคงไอติดต่อกันเกิน 3 เดือน และมีอาการไอที่รุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายหาสาเหตุของอาการไอเพิ่มเติม

 

ยาแก้ไอเด็กแบบไหนดี

 

1. เลือกยาให้ตรงกับลักษณะอาการไอ

พ่อแม่ควรสังเกตอาการไอของลูกเพื่อที่จะได้เลือกซื้อยาแก้ไอสำหรับเด็กรักษาได้ตรงตามอาการและให้การรักษามีประสิทธิภาพที่สุด คุณสมบัติของยาแก้ไอเด็กหลัก ๆ จะมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

 

  • ยาแก้ไอละลายเสมหะ ช่วยละลายความหนืดของเสมหะที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดลม
  • ยาแก้ไอขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการผลิตของนํ้าบริเวณช่องคอ เพื่อให้สามารถขับเสมหะออกมาได้ลื่นขึ้น
  • ยาแก้ไอแบบไม่มีเสมหะ ออกฤทธิ์กับระบบประสาท ช่วยในการกดอาการไอได้

 

2. เลือกรูปแบบยาแก้ไอที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

ยาแก้ไอสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบนํ้า เนื่องจากกลไกการกลืนของวัยเด็กยังไม่พัฒนาได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการเลือกยาน้ำแก้ไอ เด็กจึงทานง่ายและเหมาะสมสำหรับเด็กมากกว่า

 

3. เลือกยาแก้ไอรสชาติผลไม้เพื่อให้ทานง่าย

เด็กส่วนใหญ่จะต่อต้านเมื่อรู้ว่าต้องทานยา เพราะเด็กจะคิดอยู่เสมอว่ายาต้องมีรสชาติขมเท่านั้น ดังนั้นยาแก้ไอเด็กควรทำให้มีรสชาติผลไม้เพื่อง่ายต่อการทาน

 

4. เลือกยาแก้ไอที่ปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์

ควรเลือกยาแก้ไอเด็กที่ไม่มีนํ้าตาล เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับปริมาณนํ้าตาลเยอะเกินไป และป้องกันฟันผุสำหรับเด็ก ๆ และที่สำคัญควรเลือกยาแก้ไอเด็กที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย

 

5. เลือกซื้อยาที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานอย.

ขึ้นชื่อว่า “ยา” จำเป็นต้องได้รับมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยระดับสูงอย่าง อย. เพื่อเช็กส่วนผสมและคุณภาพของยา เนื่องจากต้องใช้บริโภคเพื่อการรักษา 

 

ยาแก้ไอที่ไม่ควรใช้ในเด็ก

 

 ยาแก้ไอที่ไม่ควรใช้ในเด็กแบ่งออกตามอาการไอได้ 3 ประเภท ดังนี้

 

  • อาการไอไม่มีเสมหะ 

 

ส่วนผสมของตัวยาแก้ไอเด็กที่อายุตํ่ากว่า 4 ขวบควรหลีกเลี่ยง คือ โคเดอีน (Codeine), ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone) และเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) เนื่องจากเป็นยาควบคุมกลไกทางสมองเพื่อกดอาการไอ ผลข้างเคียงคือ หากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้เสพติด มีอาการง่วงซึมตลอดเวลา และหากบริโภคเกินขนาดจะทำให้วิงเวียนและอาเจียนได้

 

  • ยาละลายเสมหะ 

 

ส่วนผสมที่ไม่ควรมีในยาแก้ไอสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบคือ บรอมเฮกซีน (Bromhexine), อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine), แอมบรอกซอล (Ambroxol) และคาร์บอกซีเมทิลซิสเทอีน (Carboxymethylcysteine) เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะจนมีเลือดออก รวมไปถึงอาจจะทำให้อุจจาระมีสีดำ

 

  • ยาขับเสมหะ 

 

ส่วนผสมที่ไม่ควรมีในยาแก้ไอเด็ก คือ สมุนไพรแก้ไอสำหรับเด็กมะแว้งหรือมะขามป้อม,  แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium Chloride), ไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) และทอร์พีนไฮเดรต (Terpin hydrate) เนื่องจากจะทำให้ คลื่นไส้และอาเจียน

ข้อควรระวังก่อนให้ลูกน้อยทานยาแก้ไอ

 

ข้อควรระวังก่อนให้ลูกน้อยทานยาแก้ไอเด็ก

 

ข้อควรระวังก่อนให้ลูกน้อยทานยาแก้ไอเด็ก มีดังนี้

 

  • ควรเลือกซื้อยาแก้ไอสำหรับเด็กประเภทนํ้า เนื่องจากระบบการกลืนเม็ดยาของเด็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ต้องอายุเกิน 8 ขวบขึ้นไปถึงจะทานยาเม็ดได้ แต่ถ้าหากไม่มียานํ้า ควรบดเม็ดยาให้เป็นผงละเอียดและผสมนํ้าให้เด็กทาน
  • ไม่ควรผสมยาในอาหารหรือนม เพราะอาจจะทำให้เด็กได้รับปริมาณยาไม่ครบโดส หากเด็กทานอาหารหรือนมไม่หมด
  • ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชทุกครั้งก่อนเลือกซื้อยา เพื่อป้องกันสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และก่อให้เกิดผลข้างเคียงด้านลบตามมา
  • ควรศึกษาส่วนผสมและวิธีการทานบนฉลากข้างขวดเสมอ
  • ควรใช้ไซรินจ์ (Syringe) หรือ ช้อนยาในการวัดปริมาณโดสที่ควรทานในแต่ละครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณยาที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องในการรักษา
  • ยาทุกชนิด หากทานในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นยารักษาโรค แต่ถ้าหากทานในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นโทษแทนการรักษา ดังนั้นควรบริโภคยาแต่จำเป็นเท่านั้น

 

วิธีอื่นที่ช่วยบรรเทาอาการไอสำหรับเด็ก

 

1. ใช้เครื่องทำความชื้นและเครื่องฟอกอากาศ

หากอยู่ในอาการที่แห้งเกินไป อากาศไม่ปลอดโปร่งไม่ถ่ายเท และมีฝุ่นควัน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันคอจนทำให้เกิดการไอ ดังนั้นควรใช้เครื่องทำความชื้นหรือเครื่องฟอกอากาศเพื่อลดอาการไอ

 

2. ดื่มน้ำสะอาดเยอะๆ

การดื่มนํ้าเปล่าอุณหภูมิห้องหรือนํ้าอุ่น ช่วยลดอาการคันคอและอาการไอได้ เนื่องจากการดื่มนํ้าจะทำให้ชุ่มคอ

 

3. จิบน้ำผึ้งบรรเทาอาการ

นํ้าผึ้งสามารถใช้แทนยาแก้ไอสำหรับเด็กได้ เนื่องจากนํ้าผึ้งมีคุณสมบัติช่วยให้ชุ่มคอ สามารถลดอาการคอแห้งและคันคอซึ่งเป็นสาเหตุของการไอได้

 

4. ใช้น้ำเกลือช่วยล้างจมูก

หากเจอฝุ่นและมลภาวะมา การใช้นํ้าเกลือล้างจมูกมีส่วนช่วยในการป้องกันฝุ่นละอองจากจมูกลามลงไปที่คอได้ เพื่อป้องกันการไอ ควรใช้น้ำเกลือช่วยล้างจมูกควบคู่ไปด้วย

 

5. ใช้สารเมนทอลทาบริเวณหน้าอก

นอกจากจะใช้วิธีการทานยาแก้ไอเด็กแล้ว การใช้ยาทาภายนอกหรือครีมที่มีส่วนผสมของเมนทอลทาบริเวณหน้าอก จะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก คันคอ และอาการไอได้

 

ข้อสรุป

 

ปัจจุบันทางการแพทย์ได้ผลิตยาแก้ไอสำหรับเด็กหลากหลายรูปแบบ เช่น ยาแก้ไอละลายเสมหะ เด็ก,  ยาอมแก้ไอ เด็ก, ยาพ่นแก้ไอ เด็ก และยาอมแก้เจ็บคอ สำหรับเด็ก ดังนั้นควรเลือกยาแก้ไอเด็กที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณยาที่เหมาะสม เนื่องจากยาคือสารเคมีประเภทหนึ่ง หากบริโภคน้อยเกินไปก็จะรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดผลข้างเคียงด้านลบตามมาทันที

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 14.26 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา