ความรุนแรงของอาการนอนหลับไม่สนิทที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณในด้านต่าง ๆ

GUEST1660817967

ขีดเขียนเต็มตัว (148)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:143
เมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565 16.28 น.

อาการนอนหลับไม่สนิท หรือโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก และใช้เวลานอนนานกว่า 20 นาทีถึงจะหลับได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงและคนชรา ซึ่งการนอนไม่หลับส่งผลให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ และทำให้ไม่สดชื่นเวลาตื่นนอน ซึ่งเราสามารถจัดระดับความรุนแรงของโรคนอนไม่หลับออกมาได้ดังนี้

ความรุนแรงของโรคนอนไม่หลับ หรือการที่มีอาการนอนหลับไม่สนิท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ

1.อาการนอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) มักพบในช่วงการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน หรืออาจเกิดจากอาการ Jet lag เมื่อเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก (Time zone)

2.อาการนอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term insomnia) มักเกิดเพียง 2-3 วันจนถึง 3 สัปดาห์ อาจพบได้เนื่องจากเกิดภาวะเครียด

3.อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (Long-term or Chronic insomnia) เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจเป็นเดือน หรือเป็นปี ซึ่งอาจเกิดผลจากการใช้ยา การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ว่าทางด้านร่างกายและจิตใจ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของการนอนหลับโดยตรง (Primary sleep disorder)

หากอาการนอนหลับไม่สนิทของคุณถูกรบกวนมานานกว่า 1 เดือน จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์และการทำงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีอื่น ๆ มาป้องกัน อย่างเช่น จัดที่นอนให้เหมาะสม , หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน , หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและหากว่าคุณทำวิธีต่าง ๆ เหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพือหาวิธีในการรักษาโรคนอนไม่หลับทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบและการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคทางกาย หรือโรคทางจิตใจที่เป็นสาเหตุของ โรคไม่นอนหลับ และผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคนอนไม่หลับโดยมีสาเหตุหลักที่เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันได้ค่ะ

#อาการนอนหลับไม่สนิท

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา