ปวดหัวคิ้วคืออะไร อาการเป็นอย่างไร ใครมีอาการลักษณะนี้ เช็กด่วน
อาการปวดหัวคิ้ว คืออาการปวดศีรษะบริเวณคิ้ว ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม ใครกำลังมีอาการนี้รีบเช็กตัวเองด่วน
ปวดหัวคิ้ว
อาการปวดหัวคิ้วเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ไมเกรน พยาธิขึ้นสมอง ไซนัส บางครั้งอาการปวดหัวคิ้วก็มีไข้ร่วมด้วย และอาการอื่นๆ เนื่องจากบริเวณคิ้วมีอวัยวะหลายอย่าง ได้แก่ กะโหลกศีรษะส่วนหน้า โพรงจมูก เบ้าตา โพรงไซนัส
ปวดหัวตรงหน้าผากระหว่างคิ้ว เกิดจากอะไร
อาการปวดหัวคิ้วมีหลายสาเหตุ โดยหลักๆ จะเกิดจาก 5 อาการดังนี้
1. โรคไมเกรน
ไมเกรนเป็นอาหารปวดหัวชนิดหนึ่ง โดยจะปวดบริเวณหน้าผากระหว่างคิ้วทั้ง 2 ข้าง หรือปวดตุ้บๆ ข้างใดข้างหนึ่งหนักมาก อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนไหวต่อแสงหรือเสียง
2. การอักเสบบริเวณรอบศีรษะ
อาการอักเสบบริเวณรอบศีรศะหรือไซนัสอักเสบ เรียกอีกอย่างว่าการติดเชื้อไซนัสเกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุโพรงจมูกใกล้กับจมูกติดเชื้อโดยปกติ ไซนัสอักเสบจะเกิดขึ้นเมื่อมีการอุดตันในช่องเปิดจมูกเนื่องจากเป็นหวัด ภูมิแพ้ ติดเชื้อที่ฟัน หรือบาดเจ็บที่จมูก ไซนัสอักเสบอาจทำให้ปวดหน้าหรือบวมในดวงตาซึ่งส่งผลต่อคิ้ว
3. ปัญหาสายตาผิดปกติ
อาการสายตาผิดปกติ หลักๆ มี 3 ประเภทได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง แต่อาการปวดหัวมักจะเกิดกับสายตายาวและสายตาเอียง เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งเป็นพิเศษ จึงทำให้มีอาการปวดหัวคิ้วร่วมด้วย
4. ภาวะเครียดและวิตกกังวล
ความเครียดหรือวิตกกังวลส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวที่บริเวณท้ายทอย และอาจลามไปถึงบริเวณขมับซึ่งอยู่บริเวณคิ้ว
5. เนื้องอก
อาการเนื้องอก ส่วนมากมักเกิดขึ้นในสมองหรือที่เรียกว่าเนื้องอกในสมอง เป็นอาการเนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติในเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานผิดปกติและมีอาการปวดหัว รวมไปถึงการทำงานผิดปกติของร่างกาย เช่น สายตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน อาเจียน
อาการที่มักเกิดร่วมกับอาการปวดหัวคิ้ว
อาการปวดหัวคิ้วมักมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
- ปวดหัวเทนชั่นหรือกล้ามเนื้อตึงตัว
- ปวดหัวแบบคลัสเตอร์
- ไมเกรน
- ต้อหิน
- ไซนัส
- งูสวัด
ปวดหัวคิ้วแบบไหนควรพบแพทย์
หากมีอาการปวดหัวคิ้วร่วมกับอาการอื่น และไม่สามารถหายได้เอง และควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้ ได้แก่
- ตาแดง บวม
- ปวดบวมบริเวณใบหน้า
- ปวดหัวฉับพลัน
- มึนหัว วิงเวียนศีรษะ
- ไข้สูง
- ผื่นคัน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อ่อนเพลีย
การวินิจฉัยอาการปวดหัวคิ้ว
การวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหัวคิ้ว มีวิธีการดังนี้
1. การตรวจเอกซเรย์ (X-ray)
การตรวจเอกซเรย์เป็นการตรวจด้วยการฉายรังสีเพื่อแสดงอวัยวะภายในร่างกาย โดยจะแสดงภาพเป็นสองมิติซึ่งเป็นวิธีการตรวจภายในค่อนข้างเก่า จึงมีอีกสองวิธีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การตรวจสมองเป็นไปได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
2. การตรวจ CT SCAN
เป็นการฉายภาพอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะมีความแม่นยำกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา เนื่องจาก CT Scan สามารถให้รายละเอียดได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย และยังสามารถหาเนื้องอกซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหัวคิ้วได้อีกด้วย
3. การตรวจ MRI
เป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้คลื่นวิทยุที่มีความเข้มข้นสูงเพื่อฉายภาพอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ โดยการตรวจ MRI นั้นจะให้ความแม่นยำที่สูงกว่า CT Scan
วิธีรักษาอาการปวดหัวคิ้ว
1. การใช้ยารักษาอาการปวด
การใช้ยารักษาอาการปวดหัวคิ้ว ใช้สามารถยาพาราเซตตามอลทั่วไป เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงหรือโรคอื่นๆ ตามมา
2. ประคบเย็นบรรเทาอาการปวด
การประคบเย็นก็สามารถช่วยให้อาการปวดหัวลดลงได้ อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ระยะเวลาในการประคบที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 20-30 นาที
3. การรักษาตามสาเหตุของโรค
การรักษาอาการปวดหัวคิ้วตามสาเหตุของโรค จำเป็นต้องทราบสาเหตุก่อนว่าอาการปวดหัวคิ้วนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร และเมื่อเกิดอาการต่างๆ ควรทำตามนี้
- อาการต้อหิน ควรได้รับการผ่าตัดต้อหิน
- อาการไซนัสอักเสบ สามารถบรรเทาด้วยการประคบร้อนบริเวณหน้าผาก หรือใช้สเปรย์พ่นจมูกเพื่อช่วยให้โพรงจมูกโล่งขึ้น
แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวคิ้ว
การรักษาอาการปวดหัวคิ้วเบื้องต้น หากมีอาการไม่รุนแรงมาก สามารถทำได้ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ประคบเย็นบริเวณที่ปวด
- นั่งสมาธิ
- นอนหลับบริเวณที่เงียบและมืดเพื่อให้นอนหลับสนิท
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
- ลดความเครียด เช่น ไม่หักโหมกับงานมากเกินไป เดินเล่นเพื่อให้ผ่อนคลาย
ข้อสรุป
อาการปวดหัวคิ้วมีลักษณะอาการคือปวดหัวตุ้บๆ บริเวณหน้าผากถึงโคนคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ไมเกรน ความเครียด ปัญหาทางสายตา ไซนัส เป็นต้น และอาการข้างเคียงของอาการปวดหัวคิ้วอาจมีไข้ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
อาการปวดหัวคิ้ว มักเป็นอาการปวดหัวอย่างรุนแรงและไม่สามารถหายเองได้ จึงควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ โดยทางแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์สมอง หรือทำ CT Scan และ MRI เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ปวดหัวคิ้วได้
ถึงตรงนี้แล้ว หากใครมีอาการปวดหัวดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ก่อนที่อาการจะหนักขึ้นจนรักษาหายได้ยากนะ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้