ไมโครพลาสติก ภัยร้ายในชีวิตประจำวัน ปนเปื้อนอาหารเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

asider8629

ขีดเขียนเต็มตัว (156)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:182
เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2565 23.14 น.

สิ่งเล็ก ๆ ที่แฝงด้วยอันตราย ซ่อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่มโดยที่เราไม่มีทางมองเห็น เราเรียกสิ่งนั้นว่า ไมโครพลาสติก ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันมากับพลาสติกอย่างแน่นอน ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึงพลาสติกที่เราใช้บรรจุอาหารอยู่ทุกวัน สิ่งนี้เข้าไปซ่อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่มได้อย่างไร ไปดูกัน


การแฝงตัวของไมโครพลาสติกในอาหารและน้ำดื่ม มาจากหลายเส้นทางด้วยกัน
1. มาจากพลาสติกที่เป็นบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคบริโภค กล่องอาหาร ถุงใส่ของ หลอดพลาสติก กลายเป็นมวลขยะพลาสติกที่ถูกนำไปทิ้งลงในแหล่งน้ำ
2. มาจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น สบู่ ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ โฟมล้างมือ ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็น ไมโครพลาสติก เมื่อนำมาใช้ น้ำที่มีส่วนประกอบของไมโครพลาสติกจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไหลตามเส้นทางท่อระบายสู่แม่น้ำลำคลองและทะเล
3. มาจากพลาสติกที่ใช้ในทางเกษตรกรรม และปศุสัตว์ และเกิดการตกค้างในดิน


เส้นทางเหล่านี้ได้นำขยะพลาสติกทั้งหลายเข้าไปในระบบนิเวศและแตกตัวเป็นเศษพลาสติกที่เล็กมาก สิ่งที่ตามมาก็คือสัตว์น้ำจืดและน้ำทะเล, ผักและผลไม้ที่ปลูกบนดินมีอนุภาคของพลาสติกเจือปน มีงานวิจัยเกี่ยวกับ ไมโครพลาสติก ผลกระทบ ต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสัตว์น้ำ พบสารปนเปื้อนนี้ในปลากระบอกเทา และสัตว์น้ำที่มีเปลือก (การทดลองของมหาวิทยาลัย The Education University of Hong Kong ปี พ.ศ. 2560) นอกจากนี้ ผักและผลไม้ที่ปลูกบนดินก็ดูดซึมเอาสารพิษเข้าไปด้วย โดยพบมากในแครอท บล็อคโคลี่ ผักกาดหอม และแอปเปิ้ล ส่วนน้ำดื่มที่เราบริโภคก็หนีไม่พ้น ไมโครพลาสติก ผลกระทบ จากสารปนเปื้อนในแหล่งน้ำเช่นกัน

 

อันตรายที่น่ากลัวก็คือ เมื่อคนเราบริโภคอาหารทะเล ผักและผลไม้ที่มีการปนเปื้อน กลุ่มสารมลพิษตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants) หรือ POPs ที่อยู่ในไมโครพลาสติกจะคืบคลานเข้าสู่ร่างกายของเราและสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลต่อสุขภาพและระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในระยะยาว


ปัจจุบันมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจังมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกในระบบนิเวศ โดยเฉพาะการใช้หลอดพลาสติกนั้นพบว่ามีปัญหามากกว่าพลาสติกชนิดอื่น ปัญหาหลอดพลาสติก คือข้อจำกัดในระบบจัดการขยะ แม้ว่าหลอดจะทำจากพลาสติกประเภทรีไซเคิลได้ แต่ด้วยขนาดของหลอดที่เล็กกว่าพลาสติกชนิดอื่น และเล็กเกินกว่าจะนำเข้าเครื่องรีไซเคิลปกติทั่วไป หากจะรีไซเคิลหลอดต้องใช้เครื่องชนิดพิเศษที่มีต้นทุนสูง

 

ทางที่ดีก็คือ งดใช้ หรือเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์และหลอดที่ทำจากกระดาษ เช่น ไมโลหลอดกระดาษ ผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีที่ช่วยลดปัญหาหลอดพลาสติก และขยะล้นโลก เพื่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีของเราทุกคน

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา