เทคนิคการเลี้ยงลูกให้รู้จักควบคุมตนเองและไม่เป็น เด็กก้าวร้าว โมโหร้าย
อารมณ์รุนแรงในเด็กหรืออาการ ลูกโมโหร้าย นอกจากจะส่งผลร้ายต่อตัวเองแล้ว อาจจะส่งผลต่อสังคมไม่น้อยเลย เพราะจะทำให้คนไม่อยากปฏิสัมพันธ์ด้วยนัก พฤติกรรมก้าวร้าวในวัยเด็กสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่และบุคคลในครอบครัว วันนี้เรามีสาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กและเทคนิคเบื้องต้นในการเลี้ยงลูกให้รู้จักควบคุมตนเอง ไม่กลายเป็นเด็กก้าวร้าวมาแนะนำกัน
ปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าวโมโหร้าย
-
ปัจจัยทางด้านสมอง โรคประจำตัว และความบกพร่องด้านพัฒนาการเรียนรู้ เช่น โครงสร้างทางสมองและระดับสารเคมีในสมองมีความผิดปกติ เป็นโรคลมชัก โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก หรือมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ส่งผลให้เด็กมีอารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถจัดการกับความโกรธ ไม่รู้วิธีการรับมือกับความรู้สึกโมโหและอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นของตน ปัจจัยนี้เราควรพบแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำ
-
ปัจจัยด้านจิตใจและโรคจิตเวช ปัญหาภายในครอบครัว ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กอย่างจัง เช่น การหย่าร้างของพ่อแม่ การสูญเสียคนใกล้ชิดที่เป็นที่รักกะทันหันทำให้เด็กรู้สึกเศร้าโกรธและไม่รู้วิธีรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ส่วนโรคจิตเวชบางชนิด เช่น ภาวะหวาดระแวง ภาวะซึมเศร้า หรืออาการไบโพลาร์ที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัว สงสัย หวาดระแวง จึงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา
-
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมและครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง ใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา พูดจากันหยาบคาย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อกันให้เด็กเห็นเป็นประจำ เด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้ได้
เทคนิคการเลี้ยงลูกให้รู้จักควบคุมตนเองไม่เป็น ลูกก้าวร้าว โมโหร้าย
-
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผล ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี และมีอารมณ์สงบนิ่งเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ
-
ให้เด็กได้นอนหลับและออกกำลังกายอย่างเพียงพอ การอดนอนจะทำให้เด็กควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากและเด็กที่อดนอนมักมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายเพราะฉะนั้นควรชวนเด็กๆ ไปเล่นกีฬา นอกจากจะได้เล่นกับคนอื่น ได้ออกกำลังแล้ว เมื่อเล่นภายใต้กฎกติกาการตกลงร่วมกันได้ รู้แพ้รู้ชนะ และรู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน
-
หลีกเลี่ยงสถานการณ์และบุคคลที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น หลีกเลี่ยงในสถานที่หรือสถานการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดหงุดหงิด ควรเลือกพี่เลี้ยงหรือผู้เลี้ยงดูที่ไม่เป็นคนก้าวร้าว ไม่เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรงและโมโหง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเลียนแบบและกระตุ้นให้เด็กโมโหง่ายจนขาดการควบคุมตนเอง ทั้งยังไม่ควรปล่อยให้เด็กดูสื่อทีวีที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมีการใช้ความรุนแรงด้วยเช่นกัน
-
สอนวิธีการจัดการอารมณ์ ให้เด็กพูดได้ว่ารู้สึกอะไร เช่น “หนูรู้สึกโมโห ขอหนูอยู่คนเดียวสักพักนะคะ” “หนูรู้สึกอึดอัดและหงุดหงิดกับที่ตรงนี้ ขอหนูออกไปจากที่ตรงนี้ได้ไหมคะ” และการสอนให้ลูกระบายอารมณ์โกรธโมโหโดยไม่ทำร้ายผู้อื่นและข้าวของ เช่น ระบายความโกรธด้วยการทุบหมอน ตะโกนความรู้สึกโมโหใส่ตุ๊กตา หรือการวาดภาพลงกระดาษเพื่อระบายความรู้สึกอึดอัด เป็นต้น
-
สอนให้เด็กขอความช่วยเหลือหรือเปิดใจพูดคุยเมื่อเกิดปัญหา เมื่อเด็กต้องเผชิญกับปัญหาให้เด็กรู้จักขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่แทนการตอบโต้เหตุการณ์นั้นด้วยความรุนแรง เช่น ควรบอกคุณครูเมื่อโดนเพื่อนแกล้งหรือแย่งของเล่น หรือควรเปิดใจบอกผู้ใหญ่ตรง ๆ เมื่อไม่พร้อมที่จะทำสิ่งใดแทนการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อต้าน เช่น “หนูไม่ขอเรียนพิเศษภาษาจีนหลังเลิกเรียนแต่หนูขอเล่นกับเพื่อนแทนได้ไหมค่ะ เพราะหนูเรียนมาทั้งวันและรู้สึกเหนื่อยมากแล้ว” จะทำให้เราเข้าใจเรื่องราวมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการวิธีแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าว โมโหร้ายให้รู้จักควบคุมตนเองได้ นั่นก็คือความรัก ความเข้าใจ การยอมรับ และการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอจากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู เด็กจะมีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น รู้สึกควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีความมั่นใจในตนเอง และไว้วางใจผู้อื่นมากขึ้น เมื่อเด็กรู้สึกได้รับการยอมรับ และการรับฟังอย่างไม่ตัดสินของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูจึงเป็นเทคนิคและวิธีการง่าย ๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกที่พ่อแม่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ ดูกิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ที่เรามาแนะนำเพิ่มเติมที่นี่เลยhttps://www.milo.co.th/blog/5-วิธีรับมือเด็กซน-เด็กไฮเปอร์
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้