5 วิธีสอนลูกให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้

waanbotan_

ขีดเขียนเต็มตัว (201)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:246
เมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 23.15 น.

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าควมเครียดเป็นสิ่งที่ทุกวัยต้องเผชิญ ไม่แม้แต่ในเด็กที่ชีวิตวัยเรียนก็มีความเครียดห้อมล้อมอยู่เหมือนกัน นอกจากต้องแข่งกันในเรื่องของวิชาการเด็กยุคใหม่ยังต้องเผชิญกับการถูกรังแกหลากหลายรูปแบบ  อาจจะมีการลังเล คำพูดแรงๆ  แน่นอนว่าพ่อแม่ต้องการจะปกป้องลูกจากสิ่งเหล่านี้แต่ในความเป็นจริงพ่อแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกเพื่อปกป้องเขาได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการที่เด็กสามารถสู้คน หรือยอมรับเมื่อบางอย่างไม่ได้เป็นไปอย่างใจหวังเป็นสิ่งที่สำคัญ 

อ.ดร.กุลวดี ทองไพบูลย์ หรืออาจารย์เอ๋ นักจิตวิทยาคลินิก ดีกรีปริญญาเอกด้านจิตวิทยา (ดุษฎีบัณฑิต) จากสถาบัน The Wright Institute, Berkeley ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะความใจสู้ หรือ Resilience (RQ) ไว้ดังนี้ 

Resilience (RQ) คือ ‘ทักษะการฝึกใจให้แข็งแกร่ง’ หรือ ‘ทักษะความใจสู้’ ถือเป็นหนึ่งในทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งพ่อแม่ควรเริ่ม สอนลูก ให้เกิดทักษะนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เพราะ RQ นี้เป็นทักษะที่ช่วยให้เด็ก ๆ  สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ รู้ว่าเมื่อพบเจอความผิดหวังในวันนี้ก็ยังมีโอกาสที่จะพบเจอกับความสำเร็จหรือสิ่งที่ดีกว่าในวันหน้า จะต้องทำอย่างไรหรือปกป้องความรู้สึกอย่างไรให้สามารถลุกขึ้นเร็ว

 

วิธีสอนลูก ให้มีทักษะ RQ 

 

  • สอนลูกให้เล่นกีฬาชนิดที่พวกเขาสนใจ 

 

ทักษะ RQ สามารถสอดแทรกการสอนให้เด็กได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกเล่นกีฬาได้ไม่ดีเท่าคนอื่นที่เล่นมานานกว่าหรือฝึกฝนมาหนักกว่า ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเขาสามารถพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดได้หากเราฝึกฝน หรือบางครั้งก็มีความไม่แน่นอน เมื่อเขาแพ้ในการแข่งขันพ่อแม่ควร สอนลูก ให้เข้าใจว่าแม้วันนี้จะแพ้แต่ในครั้งต่อไปยังมีโอกาสชนะได้ แค่เพียงวิเคราะห์สาเหตุของครั้งนี้ ฝึกฝน และเริ่มต้นเป้าหมายครั้งใหม่ และให้คำชื่นชมเมื่อลูกชนะ

สำหรับเด็กที่ไม่ชอบเล่นกีฬาการชักชวนพวกเขาเล่นกีฬาง่าย ๆ ถือเป็นความท้าทายหนึ่งที่จะช่วยสร้างทักษะความใจสู้ให้กับเด็ก ๆ ได้ดี เด็กอาจจะรู้สึกว่าเขาก็ทำได้ หรือบางครั้งหากเด็กไม่ชอบจริงๆ ก็ไม่ควรไปบังคับ

 

  • การสอนลูก ให้มีวิสัยทัศน์ด้วยการตั้งเป้าหมาย 

 

การ สอนลูกให้สู้คน สู้ชีวิตจำเป็นต้องฝึกให้ลูกมีวิสัยทัศน์ในแบบที่ควรจะเป็น มีเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการ ยกตัวอย่างแบบง่าย เช่น เมื่อพ่อแม่ชวนลูกตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอล หลังจากลูกตั้งเป้าหมายได้แล้วให้ชวนกันวางแผนไปสู่เป้าหมายนั้น ลูกจะมีแผนการซ้อมและให้เวลากับการเล่นบาสเกตบอลมากกว่าที่จะเอาไปใช้กับเรื่องที่เขามองว่าเสียเวลา และหากมีคนใช่คำพูดสบประมาทเขาจะรู้สึกว่าต้องการพิสูจน์ตัวเองเพื่อลบคำสบประมาทมากกว่าจะรู้สึกท้อใจและล้มเลิกกลางทาง เพราะเขามีเป้าหมายและแผนการซ้อมอยู่แล้ว หากยังไม่สุดทางเด็กที่มีทักษะ RQ จะไม่ล้มเลิกง่าย ๆ อย่างแน่นอน 

 

  • สอนให้ลูกจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม 

 

การจัดการกับอารมณ์ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พ่อแม่ควรแนะนำลูกตั้งแต่วัยเด็ก แน่นอนว่าเด็กเล็ก ๆ มักจะร้องไห้งอแงเมื่อไม่ได้ดั่งใจบ้างเป็นปกติ แต่ การสอนลูก จัดการอารมณ์ตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพราะเด็กที่จัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดีจะเกิดทักษะ RQ ได้ง่ายกว่า

 

  • สอนให้ลูกยืนหยัดไม่ย่อท้อ 

 

การยืนหยัดไม่ย่อท้อคือส่วนหนึ่งของresilience คืออะไร  ซึ่งการยืนหยัดไม่ย่อท้อต่อสิ่งใดง่าย ๆ นี้ต้องอาศัยความพยายามและความเข้าใจชีวิตระดับหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกรู้จักการยืนหยัดไม่ย่อท้อผ่านการใช้ชีวิตประจำวันหรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาจะส่งผลให้ลูกสามารถดึงตัวเองกลับมาจากความรู้สึกแย่ ๆ ได้เร็วและยังมีแรงที่จะเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง 

 

  • สอนให้ลูกรู้จักการร่วมมือกับผู้อื่น 

 

การร่วมมือกันคืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรสอนให้ลูกมีไว้ตั้งแต่วัยเด็ก หากจะเปรียบเทียบกับการเล่นกีฬาก็คล้ายกับการสอนให้ลูกเล่นกีฬาเป็นทีม มีน้ำใจนักกีฬา รู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรกับคนอื่น ๆ ในสังคม และรู้จักปฏิบัติตัวให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับคนอื่น ๆ เพื่อสัมพันธภาพที่ดี หรือเพื่อผลสำเร็จอื่น ๆ ของทีมและสังคม 


อ่านมาถึงตรงนี้จะพบว่า วิธีสอนลูก ให้มีทักษะ rq Milo ใจสู้หรือการ สอนลูกให้สู้คน สู้ชีวิตจำเป็นต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน สิ่งสำคัญสูงสุดคือพ่อแม่ต้องมีทักษะดังกล่าวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกก่อน หากพ่อแม่สอนลูกเล่นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศหรือพ่อแม่เน้นแต่พัฒนาการด้านวิชาการ ปรับพฤติกรรมก้าวร้าว โดยไม่สนใจพัฒนาทักษะด้านการใช้ชีวิต การฝึกทักษะ RQ ก็มีโอกาสสำเร็จน้อยเต็มที 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา