เมตาเวิร์ส' การเดิมพันของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และอนาคตของโลกอินเทอร์เน็ต
หลังจากที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอและผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศเรื่องสำคัญในงาน Facebook Connect เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2021 นั่นคือการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น 'เมตา' (Meta) พร้อมกับเดินหน้าสู่โลกเมตาเวิร์ส (Metaverse) อย่างจริงจัง ทำให้คำว่า 'เมตาเวิร์ส อยู่ในความสนใจของบรรดานักวิเคราะห์ นักลงทุน นักการตลาด และบริษัทด้านเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาอาจมีความสับสนหรือยังไม่ค่อยชัดเจนกับคำว่าเมตาเวิร์สอยู่บ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งเราอาจยังเห็นภาพไม่ชัดนักว่าเมตาเวิร์สจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราอย่างไร แล้วสิ่งที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กมองเห็นนั้นเป็นแบบไหน
เมตาเวิร์สจะเป็นอนาคตของโลกอินเทอร์เน็ตอย่างที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ หรือเป็นเพียงคำพูดสวยหรูของผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก (แต่ก็ไม่น่า เพราะเขาถึงกับลงทุนเปลี่ยนชื่อบริษัทและทุ่มเงินมหาศาลกับเรื่องนี้) เพียงแต่เราคงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะเสียงของเขาย่อมดังและอยู่ในความสนใจของคนทั้งโลก
เมตาเวิร์ส คืออะไรกันแน่
อันที่จริงคำว่า 'เมตาเวิร์ส' ไม่ใช่คำใหม่แต่อย่างใด เดิมเป็นคำที่คิดค้นโดยนีล สตีเฟนสัน (Neal Stephenson) ในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Snow Crash ปี ค.ศ. 1992 ซึ่งพูดถึงโลกเสมือนจริงที่คนเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านเทคโนโลยี หรือหนังเรื่อง Ready Player One (2018) ของสตีเวน สปีลเบิร์ก (Steven Spielberg) ก็ทำให้เราเข้าใจเมตาเวิร์สได้ง่ายขึ้น เป็นเรื่องราวของโลกสมัยใหม่ที่คนหนีความจริงเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก อธิบายไว้ชัดเจนสำหรับความหมายของคำว่าเมตาเวิร์สในมุมมองของเขาจากงาน Facebook Connect เมื่อปลายปีที่แล้ว เขาบอกว่ามันคือ "สภาพแวดล้อมเสมือนจริง ที่คุณสามารถเข้าไปข้างในได้ แทนที่จะดูได้แค่บนหน้าจอ โดยพื้นฐานคือโลกของชุมชนเสมือนจริงที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งผู้คนสามารถพบปะ ทำงาน และทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ด้าน VR และ AR แอปพลิเคชั่นสมาร์ตโฟน และอุปกรณ์อื่นๆ
เขาย้ำว่ามันจะเป็นประสบการณ์แบบไฮบริดของสังคมออนไลน์ที่มาในรูปแบบสามมิติ และบางครั้งก็ออกสูโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งช่วยให้เราแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับคนอื่น ทำในสิ่งที่ต้องการ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยกันในโลกความเป็นจริงนี่คือวิวัฒนาการของเทคโนโลยี และนำไปสู่บทบาทใหม่ของบริษัท
ขณะที่สื่อต่างประเทศอย่าง รอยเตอร์ส (Reuters) ระบุว่า เมตาเวิร์สเป็นคำที่กว้าง โดยทั่วไปหมายถึงสภาพแวดล้อมของโลกเสมือนที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และยังใช้อ้างอิงถึงพื้นที่ดิจิทัลที่เหมือนจริงมากขึ้นผ่านอุปกรณ์อย่าง AR (Augmented Reality) คือการนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน กับ VR (Virtual Reality)คือการจำลองภาพให้เสมือนจริงแบบ 360 องศา หรือบางคนใช้อธิบายโลกของ
เกมที่ผู้เล่นใช้ตัวละครเดินไปรอบๆ และโต้ตอบกับคนอื่นได้ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเซน เมื่อเราสามารถซื้อที่ดินเสมือนจริงและสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ
ส่วนประเทศไทยทางราชบัณฑิตยสภา ได้มีการบัญญัติคำว่า 'เมตาเวิร์ส' ในชื่อภาษาไทยว่า 'จักรวาลนฤมิต'
BIG THING หรือเฟซบุ๊กถึงจุดอิ่มตัว
ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีแต่คำว่าเติบโตในแง่ของจำนวนผู้ใช้งาน ทว่ารายงานผลการดำเนินการไตรมาส 4ของปี 2021 ตัวเลขผู้ใช้งานรายวัน (Daily Active Users)ลดลงจาก 1.93 พันล้านบัญชี เหลือ 1.92 พันล้านบัญชี เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้านี้และไปไม่ถึงเป้าหมายที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 1.95 พันล้านบัญชี ถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับแต่เปิดตัวแพลตฟอร์มเมื่อ 18 ปีที่แล้ว
โดยผลกระทบที่ตามมาคือหุ้นของบริษัทลดลงกว่า20 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าตลาดของบริษัทหายไปประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขผู้ใช้งานรายวันจะลดลง แต่ภาพรวมรายได้ของบริษัทยังเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 33.671 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นกำไรสุทธิ 10,285 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสาเหตุที่ยังมีรายได้เพิ่มขึ้นมาจากแพลตฟอร์มอื่นของบริษัทนอกจากเฟซบุ๊กยังมีอินสตาแกรมและวอตส์แอป
แต่สื่อนอกวิเคราะห์ว่าเฟซบุ๊กน่าจะกำลังถึงจุดอิ่มตัวแล้วจริงๆ โดยเว็บไซต์ The Verge รายงานว่าเฟซบุ๊กกำลังเผชิญกับการสูญเสียผู้ใช้งานในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งสถิติผู้ใช้งานเฟซบุ๊กของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกาลดลง 13 เปอร์เซ็นต์ในปี2019 และคาดการณ์ว่าปีนี้จะลดลงมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้คนหนุ่มสาวอายุ 20-30 ปี ก็อาจจะมีจำนวนลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ และแนวโน้มการใช้งานก็ลดลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน
มีหลายสาเหตุที่ทำให้เฟชบุ๊กเริ่มไม่เป็นที่ถูกใจของวัยรุ่น ในแง่เนื้อหาที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์ มีความน่าเบื่อ มีแต่ข่าวด้านลบ และระยะหลังมีความเป็นส่วนตัวน้อยลง ประกอบกับกลุ่มผู้ใช้งานที่เติบโตมากับเฟซบุ๊กเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำให้กลุ่มวัยรุ่นมองว่า 'เฟซบุ๊กเริ่มแก่' นี่คือแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใหญ่นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังต้องเจอกับคู่แข่งสำคัญอย่าง
ติ๊กต็อก (TikTok) ที่ดูจะถูกใจวัยรุ่นมากกว่า มีความเป็นส่วนตัวมากกว่า จากการรายงานของ Apptopia บริษัทวิเคราะห์ตลาดแอปฯ เผยว่า ติ๊กต็อกมีผู้ใช้งานทะลุ 1 พันล้านคนเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นแอปฯ ที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในโลกในปี 2021
สนุกได้ตลอด24ชม. สล็อต เว็บคุณภาพ
ทุ่มหมดหน้าตัก
อาจเป็นไปได้ว่าระยะหลังภาพลักษณ์ของเฟซบุ๊กเริ่มดูไม่ดี นับแต่ประเด็นเรื่องการผูกขาดทางการค้า และกรณีของฟรานเซส เฮาเกน (Frances Haugen)อดีตพนักงานเฟซบุ๊ก ที่ออกมาแฉว่า เฟซบุ๊กไม่ได้จริงจังกับการกำจัดเนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง ข่าวปลอมแถมยังหากำไรจากเรื่องพวกนี้อีกต่างหาก ทำให้มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กต้องเผชิญกับการถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้นแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน ดังนั้นการหันมารีแบรนด์องค์กร เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมตา (Meta) และมุ่งหน้าสู่โลกเมตาเวิร์สก็อาจเป็นทางออกที่ดี
ที่จริงมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กน่าจะเตรียมตัวเรื่องเมตาเวิร์สมาสักระยะแล้วหลังการเข้าซื้อบริษัทโอคูลัส (Oculus)ผู้ผลิตแว่นตา VR เมื่อหลายปีก่อนและพอประกาศรีแบรนด์บริษัทก็มีการจัดทัพใหม่ โดยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์โอคูลัสถูกเปลี่ยนชื่อใหม่หมดจากโอคูลัส เควสต์ (Oculus Quest)กลายเป็นเมตา เควสต์ (Meta Quest) และแอปฯ Oculus ถูกเปลี่ยนเป็น Meta Quest
โดยมีแผนก Reality Labs สำหรับวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ด้าน AR และ VR ที่จะเป็นหัวใจสำคัญของเมตาเวิร์ส ซึ่งมีการทุ่มเงินราว 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐให้กับแผนกนี้
การลงมาเล่นในตลาดที่เกี่ยวข้องกับAR และ VR เพราะแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมีการแข่งขันกันดุเดือด และอยู่ในจุดอิ่มตัว ขณะที่ตลาด AR และ VR ยังมีโอกาสอีกมาก เปรียบเสมือนน่านน้ำใหม่ในการทำธุรกิจ
ทางด้านบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลGlobalData ระบุว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี VR จะมีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2030 จากที่ในปี 2020 มีมูลค่าประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐอย่างไรก็ตาม GlobalData มองว่าเทคโนโลยี VR มีมานานแล้ว แค่ยังไม่ใช่เทคโนโลยีหลัก ซึ่งทั้งชอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับ VR ถูกพัฒนามาไกลมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังมีความกังวลเรื่องราคา ประสิทธิภาพในการใช้งาน และเนื้อหาที่จะใช้อุปกรณ์ VR
ยังมีน้อย ไม่แพร่หลาย
การขยับมาเล่นเรื่องเมตาเวิร์สของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ทำให้เกิดความคึกคักกับบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่างไมโครชอฟต์ (Microsoft) ก็มีพืเจอร์ที่ชื่อว่า Mesh ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Mixed Reality ระหว่าง AR และ VR ใน Microsoft Teams ผสานผู้คนจากสถานที่จริง เข้าร่วมในรูปแบบตัวละครเสมือน (Avatar) หรือในอุตสาหกรรมเกมบริษัท Epic Games ที่สร้างเกมยอดนิยมอย่าง ฟอร์ตไนต์ ( Fortnite) ก็ระดมทุน1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อวางแผนระยะยาวในการสร้างเมตาเวิร์ส
ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์แฟชั่นหลายแบรนด์ก็เข้าสู่โลกเมตาเวิร์ส โดยจับมือกับผู้ผลิตเกม เช่น อีพิก เกมส์ (Epic Games) และโรบล็อกซ์ (Roblox) ทดลองขายสินค้าที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล รวมทั้งอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างโคคา-โคล่า (Coca-Cola) บริษัทน้ำอัดลมยักษ์ใหญ่ และคลินิก (Clinique) บริษัทเครื่องสำอางที่ออกโทเคนดิจิทัลเพื่อปูทางสู่เมตาเวิร์สเช่นกัน
เพียงแค่เริ่มต้น ต้องดูในระยะยาว
ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นเกี่ยวกับเมตาเวิร์สว่า มันเป็นกระแสที่มาแรง เพราะมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเปลี่ยนบริษัทเพื่อมาทำตรงนี้เลย แล้วเขาดูชีเรียสจริงจัง เห็นอะไรบางอย่างแล้วตัดสินใจ มันคืออนาคตแน่ๆ
"ผมคิดว่ายังอยู่ในจุดเริ่มต้นและอุปสรรคหลายอย่างที่อาจทำให้ไม่เกิด ถ้าแก้ไขได้ ผมว่าเมตาเวิร์สเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราแน่นอน ปัญหาแรกคือฮาร์ดแวร์ยังไม่ดีขนาดนั้น คนยังต้องใส่แว่นที่มันดูใหญ่เทอะทะ รู้สึกหนักหัว และราคาแพง ต้องทำให้ตัวฮาร์ดแวร์เข้าถึงง่าย กับสองซอฟต์แวร์มีความเสถียรแค่ไหน เชิร์ฟเวอร์จะล่มหรือเปล่า และกราฟิกสวยงามน่าใช้พอหรือยัง และสามเรื่องกฎกติกายังไม่มีเลยในโลกเมตาเวิร์ส ถ้าเกิดการโกง บุลลี หรือฟอกเงิน ใครจะมีหน้าที่กำกับดูแล
ตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น เป็นการศึกษาและทดลอง ที่แบรนด์หรือธุรกิจเข้าไปในตลาดนี้ ส่วนหนึ่งมันคือการเกาะกระแสแต่อย่างน้อยได้ลองทำก็ไม่เสียหายอะไรและยังได้ประสบการณ์กลับมา ซึ่งย้อนกลับไปกว่าเฟซบุ๊กหรือไลน์จะประสบความสำเร็จ ก็ผ่านมาไม่รู้กี่แพลตฟอร์มกว่าจะเจอที่ใช่จริงๆ
ดร.เอกลาภ ยังไม่ขอฟันธงว่าเมตาเวิร์สจะเกิดหรือเปล่า ขอดูเวอร์ชั่นแรกและผลิตภัณฑ์ที่ออกมาหลังจากนี้ก่อนซึ่งเขามองว่าเวอร์ชั่นแรกอาจจะยังไม่ดีสักเท่าไหร่ แต่จะมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป และต้องสร้างให้น่าอยู่กว่าในโลกจริง ถึงจะสามารถดึงดูดคนได้ ใครๆก็อยากเข้าไปเล่น
"มันไม่ใหม่ในแง่คอนเซ็ต์ แต่เด็กรุ่นใหม่ไม่เหมือนคนรุ่นก่อน คือเขาดูคนอื่นเล่มเกมแล้วสนุก โลกมันเปลี่ยน ต้องเข้าใจว่ายุคสมัยของเขาเกิดมากับสมาร์ตโฟนทุกอย่างเข้าถึงง่าย เป็นสังคมที่สำเร็จรูปมากๆ สนุกกับชีวิตที่ทุกอย่างได้มาทันที
"แล้วประสบการณ์จะเป็นอีกแบบเลยคือไปเที่ยวผับบาร์หรือสถานที่จริงๆ ในบางแห่ง แทบจะไม่มีแล้ว ทุกอย่างไปอยู่ในเมตาเวิร์ส ฟังดูน่ากลัว แต่มันคือยุคของเขา ข้อเสียคืออาจแยกแยะไม่ได้ระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน" ดร.เอกลาภกล่าวทิ้งท้าย
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้