ของเสียในอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง และจัดการอย่างไร?

ผู้รับกำจัดกาก

เด็กใหม่ (1)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:5
เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565 13.12 น.

กากอุตสาหกรรม หรือ ของเสีย ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆของโรงงานอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้

กากของเสียที่เป็นอันตราย ( Hazardous waste )

  1. กำหนดโดย “บัญชีรายชื่อ และกระบวนการผลิต (Code Waste)
  2. คุณสมบัติ เข้าข่าย “ของเสียอันตราย” ตามกฎหมาย
    - ไวไฟ
    - กัดกร่อน
    - เกิดปฏิกิริยา
    - สารพิษ
    - ผลวิเคราะห์

    รวมถึง ค่า pH สามารถบ่งบอกลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วได้อีกด้วย

10 อันดับขยะอันตรายที่มีการนำไปกำจัดมากที่สุด มีอะไรบ้าง

 

กากของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ( Non-Hazardous waste )

กากของเสียต้องมีผลวิเคราะห์ยืนยันความไม่เป็นอันตราย ของเสียชนิดนี้มักอยู่ในอุตสาหกรรมประเภท 
โรงงานผลิตอาหาร เครื่องดื่ม,โรงงานกระดาษ เยื่อกระดาษ, โรงงานเกษตรแปรรูป เป็นต้น แต่โรงงานประเภทอื่นๆสามารถส่งตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ความไม่เป็นอันตรายได้ เช่นกัน

 

ขยะ หรือ ของเสีย แบบไหนที่ต้องยื่นขออนุญาตกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 กำหนดว่า

การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ การบำบัด ทำลายฤทธิ์ ทิ้ง กำจัดจำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกักเก็บไว้เพื่อทำการดังกล่าว

  • ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิดและมีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง 
  • ผู้รวบรวมและขนส่ง คือ ผู้มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครองเพื่อ การขนส่ง  และผู้มีไว้ในครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในสถานที่เก็บรวบรวม หรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวง  อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย

ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือง  ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105

สรุปคือ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกประเภทจากโรงงาน ที่เข้าข่ายเป็นโรงงานตาม พระบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หากมีการนำออกนอกสถานประกอบการ ต้องมีการขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนทุกครั้ง


ยกเว้น
1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตรายจากสำนักงาน บ้านพักอาศัยและโรงอาหารในบริเวณโรงงาน
2. กากกัมมันตรังสี
3. มูลฝอยตาม พรบ. สาธารณสุข
4. น้ำเสียที่ส่งไปบำบัดนอกโรงงานทางท่อส่ง

โดยหากมีการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จะถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้งหรือปิดปรับปรุงสถานประกอบการตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่

ที่มา : บริษัท รับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา