คุณเข้าข่ายเป็นผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (SLD) หรือไม่ ???
ผู้ที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้
(SLD: Specific Learning Disorder)
การเรียนรู้ของเด็กอาศัยความสามารถหลายด้านที่เป็น Basic Psychological Process มาทำงานร่วมกัน ทั้งระดับสติปัญญา การตั้งสมาธิ ความสามารถในการฟัง เห็น สังเกต ประมวลสิ่งที่ได้รับรู้ผ่านประสาทรับรู้ทั้ง 5 แปลความหมาย ใช้ความเข้าใจภาษา เชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมในความทรงสะท้อนกลับผ่านการพูดและทำงาน ซึ่งแบ่งองค์ประกอบเป็น
1. Input (รับข้อมูลผ่านการเห็นและการฟัง)
2. Integration (sequencing, abstraction, and organization)
3. Memory (ความจำระยะสั้นและยาว)
4. Output (แสดงออกผ่านการพูดและการกระทำด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือ/และมัดเล็ก)
การส่งเสริมความเข็งแรงของร่างกาย จะช่วยให้อวัยวะต่างๆทำงานประสานเชื่อมโยงกันได้ดีขึ้น ฝึกฝนการรับรู้หลายรูปแบบ เปิดโอกาสให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้คิด เลือก ตัดสินใจและแก้ปัญหา สร้างวินัย ฝึกให้มีลักษณะสำคัญของการเป็นนักเรียนรู้ (อยากรู้อยากเห็น อดทน รับผิดชอบ เชื่อฟังฯลฯ) รวมทั้งส่งเข้าโรงเรียนที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก โดยใช้วิธีการสอนหลายหลายรูปแบบ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามทักษะสำคัญด้านหนึ่งในการเรียนรู้ที่โรงเรียน คือ การอ่าน เขียนหนังสือ และการคิดคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะที่ใช้ตลอดเวลาในห้องเรียน ทักษะจำเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระบบการเรียนการสอนตามปกติต้องใช้ทักษะด้านการอ่านหนังสือ เขียน และการคิดคำนวณ การที่เด็กขาดทักษะด้านใดด้านหนึ่งใน 3 ด้านจะส่งผลกระทบต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2561: ออนไลน์)
ประเภทของความบกพร่องด้านการเรียนรู้
“ความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง” เป็นคำศัพท์ที่สามารถอธิบายประเด็นการเรียนรู้ที่หลากหลาย การประเมินผลทางการศึกษาอาจแสดงว่าลูกของคุณมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชาเฉพาะ (Churchill center&school, มปป.: ออนไลน์) ได้แก่
1. ความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงในด้านการอ่าน หรือที่เรียกว่า dyslexia เกี่ยวข้องกับอุปสรรคในด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ หรือความเข้าใจ Dyslexia เป็น SLD ที่พบมากที่สุดซึ่งมีผลต่อคนประมาณ 80% ที่มีโรค SLD (Lee, 2008; Mather and Wendling, 2012; Kalanje, 2011; International Dyslexia Association, 2012)
2. ความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงในด้านการเขียน หรือที่เรียกว่า dysgraphia เกี่ยวข้องกับอุปสรรคในการทำความเข้าใจตัวเลข และแนวคิดทางคณิตศาสตร์ จะเกิดขึ้นใน 3% ของประชากร
3. ความบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะทางในด้านคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า dyscalculia เกี่ยวข้องกับข้อจำกัด ในงานเขียนด้วยลายมือ อาจส่งผลต่อทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจับปากกาหรือดินสอ เช่น รูปร่างการเขียนตัวเลข หรือตัวอักษร adcet, มปป.: ออนไลน์)
สาเหตุ
1. พันธุกรรม คนในครอบครัวมีความบกพร่อง ในขั้นแรกๆ เด็กจะมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านหรือการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมากต่อการพัฒนา
2. ปัญหาทางด้านประสาทสัมผัสที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยินอาจดูเหมือน SLD ในทำนองเดียวกันความวิตกกังวล (Anxiety disorders) ที่ไม่ได้รับการรักษา และสมาธิสั้น (ADHD) อาจมีลักษณะเหมือนการขาดการเรียนรู้ นอกจากนี้หาก SLD ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เด็กรู้สึกหงุดหงิดจนทำให้เขามีปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรมที่สามารถทำให้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็น Anxiety depression, opposition defiant disorder หรือ ADHD ได้ (childmind, มปป.: ออนไลน์)
อาการแสดง
อาการผิดปกติที่เด็กแสดงออกในด้านต่างๆ 4 แบบ คือ
1. ด้านการเรียน คือ เรียนรู้ช้า สมาธิสั้น ความจำไม่ดี จำตัวหนังสือไม่ค่อยได้ อ่าน เขียนหนังสือลำบากหรือทำไม่ได้ คิดเลขไม่ได้ ผลการเรียนต่ำกว่าเด็กทั่วไปชัดเจน โดยเห็นปัญหาบางอย่างมาตั้งแต่ชั้นอนุบาลว่าเด็กสับสน จำพยัญชนะได้น้อย ไม่เข้าใจหลักการคิดเลขง่ายๆ เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ไม่ยอมไปโรงเรียน หนีเรียน ไม่สนใจ ไม่ทำตาม ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง บางรายครูคิดว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นเพราะเวลาเรียน คือ ไม่สนใจเรียน เหม่อ
3. ด้านอารมณ์ เช่น เงียบ แยกตัว ไม่มั่นใจตนเอง ประหม่า กลัว วิตกกังวล ซึมเศร้า เป็นต้น
4. ด้านอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง Peptic Ulcer คลื่นไส้ ตาพร่า เป็นต้น (แพทย์ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ) (ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, 2558: ออนไลน์)
การรักษาและการช่วยเหลือ
ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และมีความผิดปกติสามารถเรียนรู้กลยุทธ์ในการรับมือกับความบกพร่องนั้น การได้รับความช่วยเหลือจะเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในโรงเรียน และในชีวิต หากความบกพร่องทางการเรียนรู้ยังไม่ได้รับการรักษาเด็กอาจเริ่มรู้สึกหงุดหงิดกับการเรียนซึ่งอาจนำไปสู่การไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ความซึมเศร้า และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะโดยการสร้างจุดแข็งของตนเอง และพัฒนาเพื่อชดเชยจุดอ่อน การช่วยเหลือจะแตกต่างกันไปตามลักษณะและขอบเขตของความบกพร่อง
1. การได้รับการศึกษาแบบพิเศษ เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการเรียนรู้และความพิการอื่น ๆ มีสิทธิ์ได้รับบริการการศึกษาพิเศษ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายการศึกษากำหนดให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เฉพาะด้านมีสิทธิ์ได้รับโอกาสทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติ
2. การช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง เช่น
2.1 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่าน
เทคนิคการสอนพิเศษ สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงการช่วยให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสบการณ์หลากหลาย โดยการให้ข้อเสนอแนะทันทีเพื่อเสริมสร้างความสามารถของเด็กในการจดจำคำศัพท์
การดัดแปลงห้องเรียน ตัวอย่างเช่น ครูสามารถยืดหยุ่นให้เวลาพิเศษเพื่อให้เด็กสามารถทำงานได้เสร็จ และจัดทำแบบทดสอบและบันทึกสียงไว้ เพื่อให้เด็กได้ยินคำถามแทนที่จะอ่าน
การใช้เทคโนโลยี เด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่านอาจได้รับประโยชน์จากการฟังหนังสือบนเทป หรือใช้โปรแกรมประมวลผลคำพร้อมคุณสมบัติตรวจการสะกดคำ
2.2 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเขียน
เครื่องมือพิเศษ ครูสามารถใช้การสอบปากเปล่า การให้เด็กจดบันทึกและ / หรืออนุญาตให้เด็กรายงานเป็นวีดิโอเทปแทนการเขียน
การใช้เทคโนโลยี เด็กสามารถถูกสอนให้ใช้โปรแกรมประมวลผลคำหรือเครื่องบันทึกเสียงแทนการเขียนด้วยมือ
วิธีอื่นในการลดความจำเป็นในการเขียน ครูสามารถจัดเตรียมบันทึกย่อโครงร่าง และเอกสารการศึกษาที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า
2.3 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเขียน
เทคนิคการมองเห็นตัวอย่าง เช่น ครูสามารถวาดภาพของปัญหาคำศัพท์ และแสดงให้นักเรียนเห็นวิธีการใช้ดินสอสีเพื่อแยกความแตกต่างของปัญหา
การใช้เครื่องช่วยจำ เพลงและดนตรีเป็นเทคนิคที่สามารถใช้เพื่อช่วยให้เด็กจำแนวคิดทางคณิตศาสตร์ได้
การใช้คอมพิวเตอร์ เด็กสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฝึกซ้อมและฝึกหัดคณิตศาสตร์ได้
2.4 สำหรับการรักษาในแบบอื่นๆ
เด็กที่มีความผิดปกติของการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงอาจมีการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ สิ้นหวัง และปัญหาอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต รวมถึงที่ปรึกษาโรงเรียนหรือนักจิตวิทยาสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกเหล่านี้ พัฒนาเครื่องมือสำหรับSLD และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เด็กที่มีความผิดปกติของการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงบางครั้งมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น (ADHD) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety Disorders) ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาเฉพาะอาจรวมถึงจิตบำบัดและยา (Patricelli Kathryn, มปป.: ออนไลน์)
Cr. https://www.brainandlifecenter.com/braintraining-learningdisorder/
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้