fmcg marketing กลยุทธ์การทำธุรกิจในวันที่ทุกสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป

haileyb

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (93)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:137
เมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 10.30 น.

ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว 'FMCG Marketing' หรือการตลาดที่ย่อมาจาก Fast Moving Consumer Goods ใช้ในกลุ่มธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีอัตราการซื้อมาขายไปอย่างคล่องตัวเนื่องจากเป็นสินค้าปัจจัยขั้นพื้นฐาน ต้นทุนการผลิตต่ำและสามารถจำหน่ายได้เรื่อยๆ โดยไม่จำกัดกลุ่มเป้าหมาย หากเป็นไปตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ภายใต้สถานการณ์รอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดโรคระบาด (Pandemic) จนทำให้กลยุทธ์ของการทำ 'FMCG Marketing' จะไม่มีวันกลับไปเหมือนเดิมอีกต่อไปเช่นกัน บรรดาผู้ประกอบการจะมีวิธีการเอาตัวรอดให้ธุรกิจก้าวข้ามผ่านสถานการณ์วิกฤติแบบนี้ไปได้อย่างไร บทความนี้มีข้อมูลมาฝาก

กระจายสินค้าให้ถูกช่องทาง

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าช่องทางการกระจายสินค้านั้นมีมากมาย คู่แข่งก็เกิดขึ้นใหม่ในทุกๆ วันเช่นกัน ดังนั้นกลยุทธ์การทำ 'FMCG Marketing' ที่ดีและได้ผลนั้นไม่จำเป็นต้องนำสินค้าไปกระจายอยู่ในหลายๆ ร้านจนมากเกินความจำเป็น แนะนำให้ผู้ประกอบการวางแผนและคิดวิเคราะห์ให้ดีก่อนกระจายสินค้า แม้ว่าจะเป็น fmcg สินค้าอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐานที่เป็นที่ต้องการแทบจะทุกกลุ่มผู้บริโภคแต่การเลือกโลเคชันหรือตำแหน่งก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยจะต้องเป็นการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ที่มีประชากรมากประมาณหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งยอดขายที่ดีและคุ้มทุนแก่ต้นทุนการขนส่งมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

ราคาและโปรโมชันก็สำคัญ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่จะดึงดูดและทำให้ FMCG Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จ สามารถเรียกยอดขายได้คุ้มค่าแก่การลงทุนมากที่สุดนั่นก็คือการรู้จักวางแผนในเรื่องของราคาและการจัดทำโปรโมชัน ดึงดูดความน่าสนใจให้แก่สินค้าชนิดนั้นๆ รวมไปถึงทำให้การตัดสินใจซื้อเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้การจัดทำโปรโมชันอย่างไรไม่ให้ขาดทุนก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการและผู้วางแผนโปรโมชันต้องกลับไปทำการบ้านด้วยเช่นกัน

 

สินค้า FMCG ที่มีความโดดเด่นมากเพียงพอ

ตามที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น สถานการณ์ตลาดโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงไป แน่นอนว่าย่อมมีแบรนด์สินค้าเกิดใหม่มากขึ้นตามไปด้วย ในฐานะผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ที่ประกอบธุรกิจและการตลาดประเภท FMCG Marketing ต้องรู้จักที่จะเรียนรู้และทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์กลายเป็นที่จดจำ ยังคงอยู่ในกระแสตลาดและความสนใจของผู้บริโภคให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อาจจะไม่จำเป็นต้องคิดค้นหรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่หันมาใช้หลักการบริหารจัดการสินค้าแทน อย่างเช่นการรีแบรนด์ ปรับโฉมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยทำยอดขายดีอยู่แล้วด้วยการดึงจุดเด่นออกมาให้อยู่ในจุดสนใจของผู้บริโภค ฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่กระทบกับคุณสมบัติเดิมของตัวผลิตภัณฑ์ มิเช่นนั้นภาพจำของผู้บริโภคที่มีต่อตัวแบรนด์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแง่ลบก็เป็นได้

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา