เพราะแพ็คเกจจิ้งที่ดูสวยจึงช่วยเพิ่มยอดขาย

mindset888

ขีดเขียนชั้นมอปลาย (131)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:177
เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 14.06 น.

ยากที่จะปฏิเสธสิ่งของที่สวยงามใช่หรือไม่ แน่นอนว่า เกือบทุกคนจะต้องตอบว่าใช่ ยิ่งสิ่งของนั้นตกแต่งด้วยความสวยงามและน่าดึงดูดใจอย่างมาก โดยเฉพาะของที่เราต้องการที่จะมอบให้เป็นของขวัญ เราก็อยากมอบสิ่งที่พิเศษให้กับคนที่เรารัก ดังนั้นแล้ว แพคเกจจิ้งจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลของหลายคนๆในการเลือกซื้อสิ่งของ และเป็นสิ่งที่พ่อค้าแม่ค้านำมาเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย ถึงจะขายของที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันกับผู้ประกอบการอื่น แต่ของเรามีแพ็คเกจจิ้งที่ดึงดูดใจมากกว่า ก็สามารถเรียกลูกค้าให้มาจับจ่ายซื้อของร้านเราได้มากขึ้น ภาชนะต่างๆก็สามารถนำเครื่องติดสติ๊กเกอร์ ติดรอบภาชนะ เครื่องติดฉลากขวดมาช่วยในเรื่องนี้ได้ เพิ่มความสะดวกสบายและความสวยงามลงบนแพ็คเกจจิ้งได้มากยิ่งขึ้น

เราจึงไม่แปลกใจว่า ทำไมประเทศที่ใส่ใจลูกค้าตั้งแต่แพ็คเกจจิ้งจนถึงคุณภาพของสินค้าอย่างประเทศญี่ปุ่นจึงถูกมองว่าเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ สินค้าให้ “ความรู้สึก” เป็นแบบไหน ดูว่าจุดเด่นของสินค้าคืออะไร จุดเด่นในที่นี้อาจเป็นคุณสมบัติของสินค้า เช่น รสอร่อย หอม นุ่ม สีสันสวยสดใส เป็นสินค้า Handmade หรือเป็นปณิธานอันแรงกล้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์ ประวัติศาสตร์อันยาวนานของแบรนด์ก็ได้เช่นกัน สิ่งสำคัญ คือ เมื่อเห็นจุดเด่นแล้ว ต้องแปลงเป็นความรู้สึก เช่น ข้าว “ชิโระคุมะ” ข้างต้น เป็นข้าวออร์แกนิค ปราศจากยาฆ่าแมลง ดีไซเนอร์ญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นข้าวที่ปลูกจากความรัก ความใส่ใจต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม นั่นทำให้เขาได้ไอเดียหมี เหมือนตัวเอกในหนังสือภาพที่เป็นมิตรกับนก แมลง และคน เขาจึงวาดหมีที่ดูอ่อนโยน ใจดี และเลือกหมีสีขาว เพราะข้าวแบรนด์นี้ เมื่อหุงแล้วจะเป็นข้าวสีขาวประกาย ลูกค้าซื้อไปบริโภคอย่างไร ขั้นนี้ต้องอาศัยความละเอียดใส่ใจ จินตนาการให้ได้ว่า ลูกค้าซื้อไปบริโภคในสถานการณ์แบบใด โดยคิดตั้งแต่ตอนที่สินค้าถูกจัดส่ง ถูกนำไปวางที่ร้าน และผู้บริโภคซื้อไปบริโภค ยกตัวอย่าง แบรนด์ Fukusaya ที่เปลี่ยนขนมเค้กไข่ก้อนยาวที่ต้องตัดแบ่งทานและเก็บไว้ไม่ได้นาน ให้กลายเป็นขนมเค้กเก๋ ๆ ที่อยากนำไปฝากทุกคนได้ เรียกได้ว่า คิดถึงพฤติกรรมลูกค้ามาแล้ว ตั้งแต่การวางดิสเพลย์ (ต้องโดดเด่น) การซื้อ (ต้องน่าดึงดูด สวยงาม) การถือ (ต้องหิ้วง่าย) การแกะ (ต้องแกะง่าย) การบริโภค (ต้องทานง่าย ซื้อแล้วอยากทานเลย) การฝากคน (ต้องดูดีมีราคา) แล้วจึงพยายามดีไซน์บรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองพฤติกรรมเหล่านั้นของลูกค้า ดีไซน์รายละเอียดอย่างไรให้โดดเด่น รายละเอียดในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่ความสวยงามของแพ็กเกจจิ้ง แต่รวมถึงรูปแบบและขนาดฟอนต์ สีที่ใช้ ประโยคสโลแกน (Copy) และลูกเล่นอื่น ๆ เช่น แพ็กเกจจิ้งปลาหมึกต้มซีอิ๊วที่ต้องการสื่อความสด นุ่ม อร่อย ของภาคโทโฮขุ ซึ่งเป็นต่างจังหวัดของญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นแพ็กเกจจิ้งไม่ควรดูหรู ไฮโซ แต่ควรดูง่าย ๆ เป็นกันเอง ดีไซเนอร์จึงเลือกใช้ถุงกระดาษพิมพ์ลาย ใส่ฟอนท์ที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง และเพิ่ม “หางปลาหมึก” เข้าไปเพื่อบอกเล่าถึงความสด เห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นปลาหมึกต้มซีอิ๊ว

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา