ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กินอยู่อย่างไทย ใกล้ชิดชุมชน

tawann8

ขีดเขียนชั้นมอปลาย (128)
เด็กใหม่ (2)
เด็กใหม่ (0)
POST:132
เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 15.08 น.

ในยุคที่เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 ทำให้การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวต้องพลอยหยุดชะงักตามลงไปด้วย สาเหตุมาจากในต่างประเทศยังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดจำนวนลง การท่องเที่ยวภายในประเทศจึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบสำหรับทางรอดของผู้ประกอบการ โดยหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจคือ "การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์" หรือ "การท่องเที่ยวแบบ Creative Tourism" วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับการท่องเที่ยววิถีใหม่ที่อาจช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยให้กลับคืนมาดีดังเดิม

 

ททท. ร่วมเติมเต็มคุณค่าประสบการณ์ใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำ โครงการพัฒนาย่านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างและกระตุ้นการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยให้เติบโต โดยโครงการ Creative Tourism District จะสร้างต้นแบบทางการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมทางความคิดของคนในท้องถิ่น นักการตลาด และนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวจะได้ “เติมเต็มคุณค่าประสบการณ์ใหม่" ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันกับคนในท้องถิ่น ได้รับความรู้ที่สนุก ได้ลงมือทำในสิ่งที่อาจไม่เคยได้ทำมาก่อน และได้เรียนรู้เข้าใจถึงความหมายของความสุขที่ยั่งยืน

 

สุขทุกวันที่จันทบุรี สัมผัสประสบการณ์ให้ครบทุกด้านของเมืองแห่งอัญมณีล้ำค่า

หนึ่งตัวอย่างของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากโครงการของ ททท. คือ จังหวัด “จันทบุรี” เมืองแห่งอัญมณีล้ำค่า ดินแดนเลื่องชื่อของนานาผลไม้ในภาคตะวันออกของไทย จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่หลายคนเลือกใช้เวลามาพักผ่อน เพราะนอกจากจะเต็มไปด้วยของกินอร่อยถูกปากแล้ว ที่นี่ยังครบครันไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย วิถีชุมชนที่มีเอกลักษณ์และมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ รวมถึงความมีน้ำใจและความน่ารักของผู้คนในท้องถิ่น


1. ชุมชนบ้านปัถวี - ชุมชนที่ชาวบ้านในพื้นที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจทำสวนผลไม้แบบเกษตรอินทรีย์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเกิดจากการรวมตัวกันของ 9 สวนผลไม้โดยรอบ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยากทดลองเรียนรู้วิธีการทำเกษตรปลอดสารพิษแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ


2. ชุมชนรักษ์เขาบายศรี - ชุมชนที่โอบล้อมไปด้วยสวนผลไม้ เป็นแหล่งผลิต “ระกำ” ผลไม้หารับประทานยากแต่ที่นี่สามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปี เพราะชาวบ้านทุกหมู่บ้านต่างแบ่งหน้าที่และพึ่งพากันในทุกขั้นตอนที่จำเป็นของการทำสวน


3. ชุมชนบ้านเสม็ดงาม - ชุมชนที่มีทะเลล้อมรอบทำให้บริเวณนี้เป็นน้ำกร่อย เหมาะสำหรับการทำนากก บวกกับฝีมือ ประสบการณ์ และความประณีตของคนในพื้นที่ในการทอเสื่อ จึงทำให้ “เสื่อจันทบูร” ซึ่งทอจากต้นกกกลายเป็นงานหัตถกรรมขึ้นชื่อของคนในชุมชนแห่งนี้


4. ชุมชนบางสระเก้า - ชุมชนสามน้ำ ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำประมงเรือเล็ก คนที่นี่รวมตัวกันอย่างจริงจัง และเลือกทำประมงแบบยั่งยืนเพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำของชุมชนให้สมบูรณ์ จึงถือเป็นชุมชนเข้มแข็งที่ยืนหยัด สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างแท้จริง


5. ชุมชนท่าแฉลบ - ชุมชนริมแม่น้ำที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นหลัก ทำฟาร์มหอยนางรมบนแพกลางปากแม่น้ำจันทบุรี เพลิดเพลินกับการล่องเรือชมฟาร์มหอยนางรมและป่าโกงกาง เรียนรู้วิธีการทำฟาร์มหอยนางรมสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์ “ตะโกรม” หอยนางรมรสชาติดี ไม่มีกลิ่นคาว ที่มีขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ


6. ชุมชนขนมแปลก - ตลาดโบราณที่ยังคงเอกลักษณ์ของชุมชนได้อย่างยาวนานกว่า 100 ปี ภายในชุมชนหนองบัวมีบ้านเรือนไม้เก่าแก่อายุนับร้อยปีให้เดินเล่นชมบรรยากาศคลาสสิก รวมถึงมีขนมโบราณชื่อแปลกให้เลือกชิมมากมาย


7. ชุมชนริมน้ำจันทบูร - ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรี ที่เคยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด เหมาะกับการเดินเล่นถ่ายรูปเพลิน ๆ กับมุมเก๋ภาพเพนต์สุดชิคของชุมชน


8. บ่อพลอยเหล็กเพชร - แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่นักท่องเที่ยวจะได้ลองและได้เรียนรู้กันแบบลึกซึ้งถึงตำนานพลอยจันท์ ที่รักษาไว้รอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัส ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากการขุดพลอย การร่อนพลอยแบบโบราณที่ไม่มีให้เห็นแล้วในปัจจุบัน ไปจนถึงการเจียระไน


อย่างไรก็ตาม การมีประกันภัยการเดินทางติดตัวไว้ จะช่วยให้รู้สึกอุ่นใจมากขึ้นทุกครั้งเมื่อต้องเดินทางไกล ใกล้ไกลเเค่ไหนเดินทางปลอดภัย อุ่นใจเเน่นอน

 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย tawann8 เมื่อ29 ตุลาคม พ.ศ. 2563 15.11 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา