สังเกตอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ รู้ก่อนที่จะสายเกินแก้!
หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอาการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ โดยหลายคนอาจจะไม่ทันสังเกตหรือเข้าใจว่า อาการที่ไม่มีอันตรายอะไร แต่อันที่จริงแล้วภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ สามารถนำคุณไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสังเกตอาการที่อาจเข้าข่ายภาวะเสี่ยงและทำการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะสายเกินไป
อัตราการเต้นของหัวใจโดยปกตินั้นจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ซึ่งหากหัวใจเต้นเร็วมากกว่าหรือช้ากว่านี้ ก็เรียกได้ว่ามีการเต้นที่ผิดจังหวะ ซึ่งสาเหตุของการหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้มีดังนี้
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและผลังหัวใจห้องด้านซ้ายหนา
- ปัญหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ ที่อาจส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายในบางครั้ง
- การใช้ยาบางชนิดที่มีส่วนกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
- ผู้ที่มีปัญหาการหายใจ อาจจะเป็นการไปกระตุ้นของการทำงานหัวใจที่หนักมากขึ้น
- การดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ หรือการสูบบุหรี่ในปริมาณมาก จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่คุณสามารถสังเกตได้เอง
- มีอาการใจสั่นบ่อยครั้ง
- หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
- หัวใจเต้นช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
- มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก มักพบมากในวัยผู้ใหญ่
- หายใจหอบ แต่ติดขัดมากกว่าเดิม
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ
- เริ่มมีเหงื่อออกมากขึ้น
หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นนี้ ควรต้องเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนและทุเลาอาการโรคที่เป็นอยู่
ตรวจสอบอาการเบื้องต้นกันก่อน
หากคุณมีอาการดังข้างต้นเกิดขึ้น หรือเผลอดื่มกาแฟมากกว่าเดิม ให้เริ่มด้วยการเช็คอัตราการเต้นของหัวใจโดยจับชีพจรด้วยตัวเอง โดยการใช้นิ้วชี้แล้วนิ้วกลางไปเตะที่ข้อมือ จากนั้นก็ให้เริ่มนับการเต้นจังหวะหัวใจของคุณเต้นกี่ครั้งภายในเวลา 15 วินาที จากนั้นนำไปคูณกับ 4 ก็จะได้อัตราเต้นชีพจรของคุณนั่นเอง
ป้องกันการเกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แม้คุณไม่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะมาตั้งแต่กำเนิด แต่การเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพและป้องกันอาการนี้ก็ยังเป็นสำคัญ สามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาการและการออกกำลังกายดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสารอาหารที่สามารถบำรุงหัวใจของคุณได้ดี
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ทั้งนี้แล้วคุณก็ไม่ควรออกกำลังกายจนหักโหมจนเกินไป และควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเช่น การดื่มกาแฟเป็นปริมษณมาก การดื่มแอลกฮอล์ หรือใช้ยาบางอย่างเป็นต้น
- ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
การเฝ้าสังเกตอาการต่างๆ ของร่างกาย ไม่ได้แค่ดีต่อการป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรคอื่นๆ ด้วย หากคุณรู้สึกถึงอาการที่ผิดปกติไป อย่าได้นิ่งนอนใจและควรปรึกษาแพทย์ หรืออย่างน้อยที่สุดควรรับการตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อคุณจะได้ทำการรักษาได้แต่เนิ่นๆ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้