3 โรคประหลาดเกี่ยวกับการทานอาหารที่หลายคนไม่เคยรู้จักมาก่อน
3 โรคประหลาดเกี่ยวกับการทานอาหารที่หลายคนไม่เคยรู้จักมาก่อน
โรคประหลาดแบบนี้จะทำให้คนบางคนมีพฤติกรรมการทานอาหารที่ผิดปกติ และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ , หัวใจวายและไตวายได้ หนึ่งในโรคที่มีคนรู้จักกันมากที่สุดคืออะนอเร็กเซียหรือโรคอยากผอมซึ่งจะทำให้คนอดอาหารอย่างหนักได้ แต่ก็ยังมีโรคแปลกๆอีกมากที่เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกันไปชมกันเลยจ้า
นำเสนอโดย : บาคาร่า
1.โรค Night eating syndrome (โรคหิวมื้อดึก)
เริ่มมีการวินิจฉัยโรคนี้กันมาตั้งแต่ช่วงยุค 50s โดยคนที่เป็นโรคนี้จะมีพฤติกรรมอยากทานอาหารในตอนกลางคืน โดยในแต่ละครั้งจะทานอาหารไม่เท่ากันจึงไม่มีการวัดปริมาณที่แน่นอนได้ คนที่เป็นโรคนี้อาจจะมีอาการของ Eating disorder พ่วงมาด้วย ผู้ป่วยอาจจะมีการซ่อนอาหารเอาไว้ทานคนเดียวในตอนดึก มีปัญหาเรื่องความอ้วนและอาจเคยมีประวัติการถูกทำร้ายมาก่อน คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความดันโลหิตสูง , มีระดับคอเรสเตอรอลที่อันตรายและเป็นเบาหวาน อาจมีอาการซึมเศร้าและปัญหาด้านการนอนอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการวิตกกังวลทำให้มีอาการหนักมากขึ้นไปอีก
คนบางคนอาจพัฒนาอาการโรคหิวมื้อดึกขึ้นมาจากการคุมอาหารที่มีความเข้มงวดเพื่อที่จะลดน้ำหนัก และเริ่มทานอาหารในตอนดึกเพราะว่าทนไม่ไหว
2.Sleepeating (ละเมอทานอาหารตอนกลางคืน)
เช่นเดียวกับโรคผิดปกติในการทานอาหารโรคอื่นๆ คือมันจะทำให้ผู้ป่วยทานอาหารโดยไม่จำเป็นต้องหิวก็ได้ คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะลุกขึ้นมาเปิดตู้เย็นกลางดึกแล้วก็ทานอาหารจำนวนมากและพอตื่นขึ้นมาก็จะจำไม่ได้ว่าตัวเองทำอะไรลงไป!! อาจจะมีคนบางคนที่จำได้ว่าตอนละเมอตัวเองทำอะไรไปบ้างแต่ว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย นี่เป็นปัญหาแบบเดียวกับการนอนละเมอจึงแก้ได้ยากมาก
วิธีทานอาหารของคนที่เป็นโรคนี้จะแตกต่างจากในตอนกลางวันมาก เช่นอาจมีการตักน้ำตาลเข้าปากเป็นช้อนเลยทีเดียว อาหารที่พวกเขาทานเข้าไปมักมีแคลอรี่และน้ำตาลสูงซึ่งจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากแน่นอน
3.โรคหลีกเลี่ยงหรือการจำกัดการกินอาหาร (ARFID)
ผู้ที่เป็นโรคนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหารบางประเภท โดยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่เด็กและอาจลามไปจนถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ซึ่งอาจมีสาเหตุที่หลากหลาย เด็กที่ได้รับแคลอรี่ไม่เพียงพอยังอาจพัฒนาโรคเกี่ยวกับการทานอาหารแบบอื่นๆขึ้นได้อีกด้วย ตรงกันข้ามกับโรคอื่นๆ คนที่มีอาการ ARFID จะมีการน้ำหนักลดลงจนสังเกตุได้ชัด
สนับสนุนบทความโดย : pussy888
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้