ป้องกันกระดูกพรุน ควรทานแคลเซียมให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
โรคกระดูกพรุน ไม่ใช่โรคของคนแก่เสมอไป
ร่างกายของเราจะสะสมโครงสร้างกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนถึงช่วงหนุ่มสาว ทำให้เนื้อกระดูกมีความหนาแน่น แต่หลังจากอายุ 30 ปี ขึ้นไป ร่างกายจะเข้าสู่ช่วงถดถอย กระบวนการสร้างกระดูกลดลง ทำให้มวลกระดูกค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ในผู้หญิง ช่วงจังหวะที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จะเป็นช่วงที่เกิดการเสียมวลกระดูกมากกว่าปกติอีกประมาณ 5-10 ปี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในวัย 40 ปี พบว่า 19.6% กระดูกสันหลังยุบ และ 13.6% กระดูกสะโพกหัก อายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มวลกระดูกลดลง ผู้สูงอายุจึงมักจะเป็นโรคกระดูกพรุนกันมาก แต่สำหรับวัยหนุ่มสาว ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน เราสามารถป้องกันกระดูกพรุนได้ด้วยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับแสงแดดอ่อนๆ เป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราจัด เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาว
ปกติร่างกายของคนเราจะต้องการแคลเซียมในแต่ละวันไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ แล้วแต่ละวัยต้องทานแคลเซียมเท่าไหร่ ถึงจะพอดี ? มาดูกันเลยค่ะ
-วัยเด็ก ต้องการปริมาณแคลเซียมสุทธิวันละ 800 มิลลิกรัม
-วัยรุ่น ต้องการปริมาณแคลเซียมวันสุทธิละ 1000 มิลลิกรัม
-วัยผู้ใหญ่ ต้องการปริมาณแคลเซียมสุทธิวันละ 1000 มิลลิกรัม
-ผู้สูงอายุ ต้องการปริมาณแคลเซียมสุทธิวันละ 1200 มิลลิกรัม
ควรรับประทานแคลเซียมให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย อย่าทานมากไป หรือน้อยไป เพื่อสุขภาพที่ดีของกระดูก โรคกระดูกพรุนอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิดควรดูแลกระดูกให้แข็งแรงกันตั้งแต่เนิ่นๆ หากไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุนตอนแก่ ต้องเสริมด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกระดูก CAL-T เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกทั่วร่างกาย และสร้างกระดูกอ่อนในข้อกระดูก
แคลเซียมที่ดีนอกจากจะช่วยในการเสริมสร้างกระดูก เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ยังต้องไม่ก่อสารตกค้างให้กับร่างกายอีกด้วย ชนิดของแคลเซียมที่ดีนั้น ควรจะละลายน้ำได้ดีมาก และควรได้มาจากธรรมชาติ (ข้าวโพด) “ แคลเซียมแอลเทรเนต (แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต) ” เป็นชนิดของแคลเซียมที่สามารถละลายน้ำได้เกือบ 100 % ยิ่งมีการละลายน้ำแตกตัวของแคลเซียมได้ดีมากขึ้นเท่าไร การดูดซึมแคลเซียมสุทธิเข้าสู่ร่างกายก็ยิ่งดีตามไปด้วย เมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมจนหมดจะไม่เหลือสารที่ทำให้ตกตะกอนได้ เท่านี้ก็หมดห่วงเรื่อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือการเกิดนิ่วในไต นอกจากแคลเซียมแล้ว คอลลาเจน ก็มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง หากร่างกายไม่สามารถสร้างคอลลาเจนได้ ก็ไม่สามารถสร้างกระดูกที่แข็งแรงได้ เนื่องจากคอลลาเจนเป็นตัวช่วยในการสร้างกระดูกอ่อนนั่นเอง
สามารถติดตามความรู้เรื่องแคลเซียมกับเราได้ที่ http://www.cal-t.com/กระดูกพรุนป้องกันได้/
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้