แปรรูป ปตท สรุปข้อเท็จจริง ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน
แปรรูป ปตท ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน การที่ ปตท. ได้เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศ ทำให้ปตท.นั้นมีอำนาจในการควบคุมบริหารโรงงานกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมด ทำให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมัน และการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศ เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันในไทยมีราคาสูง และมีหลายฝ่ายออกมาเปิดโปงถึงเรื่องนี้ และยังได้เข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะของตัวแทนรัฐบาล จึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ
แต่เมื่อมีการแปรรูป ปตท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และได้ขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชน ปตท. จึงเห็นว่าควรลดการผูกขาดลง โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะมีการเปิดเสรีมากขึ้น โดยเริ่มในกิจการท่อก๊าซ และการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อน แต่ส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดย ปตท. มากถึง 83% ของการกลั่นทั้งหมด (คิดง่ายๆ ปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น) นั่นอาจจะเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลรับรองอย่างเพียงพอ
จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่น ทำให้ ปตท. ถือหุ้นโรงกลั่นต่างๆ ดังนี้
ไทยออยล์ 49.1%
PTTGC 48.9%
IRPC 38.5%
SPRC 36.0%
BCP 27.2%
จะเห็นว่าโดยนิตินัยไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน 50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้ คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร (CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์ (TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCP นั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการที่มีผู้ออกมาพูดว่าปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นถึง 5 ใน 6 แห่ง แสดงว่ามีการผูกขาดธุรกิจและสามารถครอบงำกิจการโรงกลั่นน้ำมันของประเทศได้นั้นเป็นการตีความที่เกินจริงเพราะยังมีโรงกลั่นฯอีกสามแห่งที่ปตท.ไม่สามารถเข้าไปบริหารสั่งการอะไรได้นั่นคือโรงกลั่น Esso, SPRC และ BCP อีกทั้งที่ระบุว่าการที่ปตท.เข้าไปถือหุ้นโรงกลั่น 5 ใน 6 แห่งทำให้ปตท.ผูกขาดการสั่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่นในประเทศได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นความจริงอีก เพราะโรงกลั่นทั้งสามแห่งที่ปตท.ไม่ได้เป็นผู้บริหารเขาก็สั่งน้ำมันดิบของเขาเอง ปตท.จะมีสิทธิ์นำน้ำมันดิบเข้ามากลั่นได้ก็เฉพาะในสัดส่วนที่ไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ ตาม Supply and off take Agreement เท่านั้นอีกทั้งยังต้องมีการตรวจสอบราคาและหรือประมูลผ่านขั้นตอนการจัดซื้อตามระเบียบของโรงกลั่นนั้นๆอีกด้วยอนึ่ง การที่ปตท.เข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 6 แห่งนั้นจะเป็นการผูกขาด ตัดตอนหรือทำให้น้ำมันมีราคาแพงเกินจริงหรือไม่คงต้องดูข้อมูลหรือพฤติกรรมอย่างอื่นประกอบด้วยจะเหมาเอาง่ายๆจากการถือหุ้นว่า ถ้าถือหุ้นมากก็แสดงว่าครอบงำได้เมื่อครอบงำได้ย่อมมีพฤติกรรมผูกขาดตัดตอนเอาเปรียบประชาชน
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เปิดโปง-ปตทการผูกขาดธุร/
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้