รอบรู้เรื่องโรค ‘เบาหวาน’
โรคเบาหวาน(Diabetes) เป็นภาวะที่ระบบน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติถือว่าเป็นโรค 1 ใน 10 ที่คนไทยป่วยกันมากในปัจจุบัน ตรวจพบได้ในทุกเพศทุกวัยและมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี สาเหตุเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ ลักษณะการใช้ชีวิต อาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งหากป่วยเป็นโรคนี้แล้วย่อมส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาและส่งผลต่อสมอง เป็นต้น พบได้ 2 ประเภทดังนี้
เบาหวานประเภทที่ 1 (Diabetes type 1)
โรคเบาหวานประเภทนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย คือการขาดอินซูลินเนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ พบได้ประมาณ 10 % ของจำนวนผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบมากในเด็กถึงช่วงวัยรุ่น การบำบัดรักษาด้วยการใช้อินซูลินปั้มทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร เพื่อทำให้ระดับน้ำตาลเป็นปกติ ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภทนี้จะต้องฉีดอินซูลินจากอินซูลินปั้มตลอด ซึ่งจะทำการตั้งโปรแกรมให้ฉีดอินซูลินปริมาณต่ำเพื่อที่จะฉีดเข้าสู่ร่างกายได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะต้องพกอินซูลินปั้มตลอดเวลา อินซูลินปั๊มจึงจะมีขนาดเล็กพกพาสะดวก มีที่บรรจุอินซูลิน ต่อกับท่อพลาสติกขนาดเล็กและต่อด้วยเข็มฉีดยา
เบาหวานประเภทที่ 2 (Diabetes type 2)
โรคเบาหวานประเภทนี้เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอและเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นโรคเบาหวานประเภทนี้ พบได้มากกว่า 90% ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด โดยผู้ป่วยจะมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปและมีน้ำหนักค่อนข้างมาก การรักษาก็จะแตกต่างกับโรคเบาหวานประเภทแรก
โรคเบาหวานชนิดที่สองนี้อาการจะไม่แสดงอย่างชัดเจน หรืออาจแสดงอาการอย่างช้าๆจึงทำให้ผู้ป่วยไม่สังเกตถึงความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนี้มักจะมีอาการของโรคแทรกซ้อนตามมาอาทิเช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับระบบประสาทตา โรคหัวใจและหลอดเลือด และเป็นแผลที่ผิวหนัง นอกจากนี้แล้วหากผู้ป่วยได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถวิเคราะห์โรคได้อย่างชัดเจนถูกต้อง อีกทั้งแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังต้องอธิบายให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งก็คือการให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับความรู้และเข้าใจในโรคที่กำลังเผชิญอยู่นั่นเองก็เพื่อที่จะเป็นผลดีต่อการรักษาอย่างดีที่สุด
ที่มาของข้อมูล:
ถือว่าเป็นความรู้ที่ดีอย่างมากครับ ครั้งหน้า เอาความรู้ดีๆ แบบนี้มาบอกอีกนะครับ มาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้