เรื่องน่ารู้ที่ต้องศึกษา! หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้น
ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
ภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น ที่ผู้ป่วยนิยมพูดกันบ่อยๆ คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพจะเกี่ยวข้องกับการใช้งาน การยกของหนัก ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น พบว่ามีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังด้านหลัง (ข้อต่อฟาเซ็ท) ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้าง กระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทำให้ปวดขาชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นก็จะทำ ให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายผู้ป่วยก็พบว่าทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน
อาการภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเบื้องต้นที่พบบ่อยๆ มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำ ให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี พบว่ามี 1-2 % ของผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง มีอาการ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vejthani.com/TH/Article/12/ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้