5 สิ่งที่ควรทำเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในโทรศัพท์
การใช้โทรศัพท์มือถือเดี๋ยวนี้ ต้องระวังให้มากขึ้นหลายเท่าตัวนะครับ เพราะดูจากหลายๆข่าวที่ออกมา ภาพหลุดจากมือถือเอย หลอกเอาข้อมูลส่วนตัวจากการใช้แอพเอย การเจาะเข้าข้อมูลในโทรศัพท์ของคนใกล้ตัวก็ดี มีมากมายหลายกรณี ซึ่งจริงบ้างเท็จบ้าง แต่ทางที่ดีเราก็ควรหาทางป้องกันไว้ เพราะถ้าวันนึงเหตุกาณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเรา ก็คงยิ้มไม่ออก ใช่ไหมละครับ
1. ตั้งค่า Lock หน้าจอให้ล็อคอัตโนมัติเร็วขึ้น
เป็นฟังก์ชั่นการป้องกันความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือขั้นพื้นฐานอยู่แล้วสำหรับ การล็อคหน้าจออัตโนมัติ เพื่อไม่ให้เข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากจะเพื่อความเป็นส่วนตัวแล้ว ก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลเข้ามาเอาข้อมูลของเราไปได้
ซึ่งระบบ Lock ในแต่ละเครื่อง แต่ละค่าย ก็จะมีหลายระดับการป้องกัน ทั้งสัมผัสหน้าจอ แบบรหัสผ่าน แบบลาก หรือบางรุ่นก็มีแบบสแกนลายนิ้วมือ
รวมถึงผู้ใช้สามารถตั้งค่าเวลาที่จะให้เครื่องทำการล็อคหน้าจอได้ เมื่อไม่ใช้งานภายในเวลานั้นๆที่ตั้งค่า ซึ่งโดยปกติแล้ว ควรตั้งไม่มากไปกว่า 1 นาที เพื่อป้องกันกรณีคนอื่นมาใช้เครื่องเรา
ถ้าเกิดเครื่องล็อค เวลาที่ผู้อื่นมาใช้งาน เครื่องก็จะถามรหัส Passcode หรือขอตรวจสอบลายนิ้วมือผ่าน Touch ID
2. เปิด แอพฯ เพื่อติดตามมือถือหาย หรือถูกขโมยไป
Find My iPhone และ Wheres my droid เป็นฟีเจอร์ในการติดตามือถือที่หาย ซึ่งฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องเปิด Location ในการติดตามสมาร์ทโหนที่หายไป
Find My iPhone จะใช้กับบรรดา ไอโฟน แท็บเล็ตตระกูล IOS การใช้ตั้งค่าให้เปิดพิกัดสำหรับการทำงานผ่านแอพ Find My iPhone ด้วย โดย ไปตั้งค่าที่ Settings > iCloud > Find My iPhone ให้เป็น On (ทันทีที่ ON คุณจะต้องใส่รหัส Apple ID ด้วย) และคุณสามารถตั้งค่าให้เครื่อง iPhone และ Pad ส่งพิกัดล่าสุดก่อนเครื่องดับเพราะแบตหมดได้ โดย เปิด Send Last Location เป็น ON ด้วย
ส่วนถ้าเป็นบรรดาสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Androidแล้วล่ะก็ ไม่ต้องห่วงมีแอพ Wheres my droid และแอพSeekDroid ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ไม่น้อยหน้า Find My iPhone ซึ่งผู้ใช้ก็ต้องเปิดใช้ Location เช่นกัน วิธีการคือ ไปที่ ตั้งค่า > ตำแหน่ง > เปิดใช้งาน
3. ระวังการเชื่อมต่อ wifi สาธารณะ
Wifi สาธารณะ นั้นใช่ว่าดีเสมอไป เพราะบางครั้งอาจหมายถึงการวางเงินไว้หน้าบ้านให้แฮคเกอร์แล้วก็ได้
หากคุณจำเป็นจริงๆต้องเชื่อมต่อ wifi สาธารณะที่มีให้บริการทั่วไป เช่น ตามร้านกาแฟ โรงแรมหรือห้องสมุด ให้ตรวจสอบเน็ตเวิร์คเพื่อมั่นใจว่า wifi ที่คุณจะเชื่อมต่อนั้นเป็นเน็ตเวิร์คของทางร้านและปลอดภัยจริงๆ ที่สำคัญ อย่าล็อกอิน account ที่เป็นข้อมูลส่วนตัว เช่น Internet Banking หรือ E-mail เพราะไม่เช่นนั้นอาจตกเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์เข้าให้นะ
4. ตั้งค่าปิดการเข้าถึง Location ของแอพต่างๆ บางแอพ
อย่างหนึ่งที่ต้องทำ นอกจากการตั้งรหัสแล้ว คือจำกัดแอพที่ต้องการพิกัดเข้าถึง Location ของเรา ซึ่งก็มีแอพจำนวนมากที่ต้องการ Location แน่นอนเป็นสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่หมดเร็ว และกระทบความเป็นส่วนตัวด้วย ที่ทำให้คนพัฒนารู้ว่าเราอยู่ที่ไหน ? ซึ่งแนะนำว่าให้เปิดใช้เฉพาะแอพสำคัญๆที่ต้องระบุพิกัดก็พอ
5. สังเกตุแอพฯปลอม
แอพลิเคชั่นฟรีบางแอพฯ ก็อาจจะไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก เพราะบางทีอาจเป็นแอพฯที่แฮคเกอร์จงใจสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเอาข้อมูลจากผู้ใช้โดยการฝังพวกมัลแวร์ ไวรัสเอาไว้ด้วย
เวลาที่เรา install แอพฯเหล่านี้ลงบนเครื่องก็จะได้มัลแวร์ เป็นของแถมที่เราไม่ต้องการอย่างไวรัสติดมาด้วย
ฉะนั้นก่อนดาวน์โหลดแอพฯใดๆมาใช้ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น แอพฯ Gmail ก็ควรมาจาก Google, Inc หรือแอพฯการเงินของธนาคาร ก็ควรมาจากธนาคารนั้นๆ
สมัยนี้มิจฉาชีพ มีเยอะจนไล่จับไม่ทัน ทางทีดีเราก็ต้องป้องกันตัวเองเอาไว้ ไม่ใช่เฉพาะร่างกาย แต่รวมถึงข้อมูลส่วนตัวบนโทรศัพท์มือถือของคุณด้วยนะเออ
บทความจาก www.asiashop.co.th
ผู้แทนจำหน่าย มือถือ | แทปเล็ต | อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ครบวงจร
โทร.082-0186000
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้