แรงงานไทย อ่านไว้ได้ประโยชน์ ตอนที่ 2

pongpam

ขีดเขียนหน้าใหม่ (39)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:66
เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 16.55 น.

http://www.keedkean.com

 

หลังจากที่ครั้งที่แล้วบอกเล่าในส่วนที่ลูกจ้างได้ประโยชน์กันไปแล้ว วันนี้ขอบอกเล่าต่อในส่วนที่นายจ้างจะได้ประโยชน์บ้างคะ เพราะว่ามิใช่เมื่อนายจ้างเลิกจ้างแล้วจะต้องจ่ายค่าชดเชยเสมอไปนะคะ มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างในเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้

1. ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง นั่นเท่ากับลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยไปเลย

2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือเจตนาทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง เช่นนี้ต้องไล่ออกและจับเข้าคุก

3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถ้าความประมาทของลูกจ้างนั้นทำให้นายจ้างเสียหายเล็กน้อยไม่ร้ายแรง ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นนี้

5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้ทำผิด

6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ในกรณีประมาทหรือลหุโทษหากนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย

8. การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น สำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานใดงานหนึ่ง คือ การจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรืองานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น

นอกเหนือจากค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว กฎหมายคุ้มครองแรงงานยังได้กำหนดให้มีค่าชดเชยพิเศษไว้อีกด้วย ในกรณีต่อไปนี้

1. ถ้านายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งท้องที่อื่นซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีพตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่า 50 % ของอัตราค่าชดเชยปกติ ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

2. ถ้านายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง ให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างต่อลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง ถ้านายจ้างไม่แจ้งแก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นอกจากต้องจ่าค่าชดเชยปกติแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน  และในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานนี้นะครับ ถ้าลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วันต่อการทำงานครบ 1 ปี แต่ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน

เมื่อคนเราเลือกเกิดไม่ได้  และจุดเริ่มแรกของชีวิตเราไม่สามารถกำหนดได้เองว่า จะได้เป็นเจ้านายหรือลูกน้องคนอื่น  แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปเราสามารถที่จะปั้นตัวเองจากการเป็นลูกจ้างคนอื่น  ให้เป็นเจ้านายคนอื่นได้  อยู่ที่ความพยายามของเรา เราเท่านั้นที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง  ไม่ใช่ชาติกำเนิดที่เป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของเรา 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา