เลือก ประกันเหมาจ่าย อย่างไรให้คุ้มครองอุบัติเหตุ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสำหรับคนทุกวัย

nemophilanie

ขีดเขียนดีเด่น (330)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:440
เมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 23.52 น.

อย่างที่ทราบกันว่าอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย วัยเด็กนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีความซุกซน อยากรู้อยากเห็น สนุกไปกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แต่ยังขาดประสบการณ์ในการป้องกันตนเองจึงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายทั้งภายในและนอกบ้าน เช่น การพลัดตกหกล้ม ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟดูด โดนของมีคมบาด ถูกสัตว์เลี้ยงกัดข่วน ตกน้ำ อุบัติเหตุบนท้องถนน และอุบัติเหตุในโรงเรียน สำหรับวัยทำงานมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากท้องถนนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอุบัติเหตุจากที่ทำงานและการใช้ชีวิตประ จำวัน ในขณะที่ผู้สูงวัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุด้วยความเสื่อมของร่างกายจึงพลัดตกหกล้มได้บ่อย ตามด้วยอุบัติเหตุทางถนน ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สำลักอาหาร เป็นต้น

เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก โดยผู้ป่วยนอก ( Out Patient Department ) หรือ opd คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วไม่ต้องนอนพักรักษาตัว หรือใช้วิธีในการรักษาไม่เกิน 6 ชั่วโมง  ส่วนใหญ่มีอาการไม่ค่อยรุนแรง เช่น หกล้ม มีดบาด เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัย ทำแผล จ่ายยา เสร็จเรียบร้อยก็สามารถกลับบ้านได้ทันที สำหรับผู้ป่วยใน ( In Patient Department ) หรือ ipd คือ ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง หรือหลังจากตรวจวินิจฉัยแล้วแพทย์ลงความเห็นว่ายังกลับบ้านไม่ได้ใน ทันที หรืออาจจะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ต้องพักในโรงพยาบาลนานเกินกว่า 6 ชั่วโมง รวมทั้งกรณีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ป่วยด้วยการนอนโรงพยาบาลก่อนการรักษา เช่น การผ่าตัด เป็นต้น

ปัจจุบันมีทั้งประกัน IPD และ OPD เป็นทางเลือก ซึ่งสิทธิประโยชน์ในการคุ้มครองขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ เช่น หากเป็นประกัน OPD จะให้ความคุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยนอก นั่นคือ ค่าปรึกษาแพทย์ ค่ายาทุกประเภท ( ยาฉีด ยาทา ยาทาน ) ค่าทำแผล และค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการนอนโรงพยาบาล ใน ขณะที่ประกัน IPD จะดูแลคุ้มครองเมื่อผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ครอบคลุมค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขกำหนดไม่ว่าจะเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าแพทย์ ค่าพยาบาล ค่าผ่าตัด หรืออื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าต้องจ่าย เบี้ยประกันสุขภาพ สูงกว่าแบบ OPD

การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าความรุนแรงจะมีมากหรือน้อยเพียงใด บางครั้งอาจจะแค่ทำแผลเล็ก ๆ บางคราวก็อาจจะต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานาน หรือรุนแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิต ดังนั้นการทำประกัน IPD หรือ OPD เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ครอบคลุมการดูแลทั้งหมด แต่หากทำทั้ง 2 ฉบับ ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเพราะต้องจ่าย เบี้ยประกันสุขภาพ มากกว่าทำแค่ฉบับเดียว

ประกันเหมาจ่าย เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคนทุกวัยเนื่องจากได้เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลไว้แล้วทั้งค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าแพทย์ ค่ารักษา ค่าห้องพัก หรือจะเป็นค่าผ่าตัด ครอบคลุมทั้งกรณีเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยบริษัทประกันจะดูแลค่าใช้จ่ายตามจริงภายใต้เงื่อนไขและวงเงินกำหนดต่อปี ซึ่งภายใน 1 ปีนั้นสามารถเลือกเข้ารับการรักษาได้ตามต้องการ จะกี่ครั้งก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินกำหนด นอกจากให้วงเงินสูงแล้วยังไม่แยกค่าใช้จ่ายจึงเบิกง่าย ไม่ซับซ้อน 

ประกัน OPD คุ้มครบ จบหายห่วง เป็น ประกันเหมาจ่าย สุดคุ้มจาก SCB PROTECT ที่ให้ความคุ้มครองผู้ป่วย OPD แบบเหมาจ่ายครอบคลุมไปจนถึงการเป็นผู้ป่วย IPD ด้วยการให้ค่าห้องสูง ไม่แยกค่าใช้จ่าย แถมยังคุ้มครองโรคร้ายแรง และการแพ้วัคซีนโควิด-19 SCB PROTECT บริการดีๆ การันตีความมั่นใจจากไทยพาณิชย์

 

ชมรายละเอียดเพิ่ม

https://online.scbprotect.co.th/e-health 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา