รู้จัก โรค มือ เท้า ปาก ของโรคที่มากับหน้าฝน
โรค มือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมักพบในเด็กทารก และเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ส่วนใหญ่จะเริ่มจากอาการไข้ก่อน หลังจากนั้นก็เกิดแผลบริเวณปาก ผื่นขึ้นบริเวณมือและเท้า อันเป็นที่มาของชื่อโรค มือ เท้า ปาก นั่นเอง
สาเหตุของโรค มือ เท้า ปาก
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Enterovirus ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ตุ่มน้ำใส หรือผื่น ของผู้ป่วย มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก
เด็กที่ป่วยเป็นโรค มือ เท้า ปาก เริ่มต้นจะเกิดอาการไข้ทั้งสูงและต่ำ มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ และจะมีแผลในปาก มีผื่นที่มือที่เท้า โดยส่วนใหญ่แผลในปากจะพบได้หลายตำแหน่ง พบได้ที่บริเวณกระพุ้งแก้ม เพดานแข็ง เพดานอ่อน และบริเวณลิ้น หรือกับผู้ป่วยบางรายแผลอาจจะลามมาขึ้นบริเวณรอบ ๆ ปากด้านนอก ส่วนผื่นที่เกิดขึ้นตามมือและเท้า มักจะเกิดเป็นตุ่มแดง ๆ หรือตุ่มน้ำใส
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นได้หลายที่ ได้แก่
- ระบบประสาทส่วนกลาง เยื่อบุสมองอักเสบ สมองอักเสบ ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ 1-5 รายต่อปี และมีความเสี่ยงสูงในการเสียชีวิต
- ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเป็นต้น
พ่อแม่ต้องคอยสังเกตอาหารของลูกอย่างใกล้ชิดว่ามีอาการอะไรน่าเป็นห่วงหรือไม่ อย่างเช่น อ่อนเพลีย นั่งซึม หายใจหอบ ชักเกร็ง หมดสติ ให้รีบเข้าพบแพทย์ในทันที
ผู้ป่วยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่ม opd คือ กลุ่มผู้ป่วยนอก สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน โดยกินยาตามที่แพทย์สั่ง
- กลุ่ม ipd คือ กลุ่มผู้ป่วยใน เป็นผู้ที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล มีอาการหนัก อยู่ใกล้ชิดแพทย์
ผู้ป่วยที่มีอาการหนักต้องรีบมาพบแพทย์
สำหรับคนที่มีอาการหนัก พ่อแม่หรือญาติต้องรีบพามาพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาเพื่อลดความรุนแรงของโรค หรือแอดมิทเป็นผู้ป่วย ipd คือ ผู้ป่วยในที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ ได้แก่
- ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 48 ชั่วโมง
- กระสับกระส่าย ร้องกวนตลอดเวลา
- รับประทานอาหารได้น้อยมาก และอาเจียน
- มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น ซึม กล้ามเนื้อกระตุก การกรอกตาที่ผิดปกติ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ชักเกร็ง แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
- ตัวซีด ตัวลาย
ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วจะหายเองได้ภายใน 5-7 วัน เป็นผู้ป่วยในกลุ่ม opd คือ ผู้ป่วยนอก กินยาตามที่แพทย์สั่ง รักษาตามอาการได้ที่บ้าน แต่ถ้าไม่หายและมีอาการหนักตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
การป้องกันการแพร่เชื้อ และการดูแล
บ้านที่มีผู้ป่วยเป็นโรค มือ เท้า ปาก รักษาอยู่ที่บ้าน พ่อแม่ควรแยกเด็กและหยุดเรียนก่อน พยายามให้เด็กอยู่ห่างจากคนอื่นและหลีกเลี่ยงพาเด็กไปในที่สาธารณะจนกว่าจะรักษาหาย และผื่นหรือตุ่มแห้งสนิทประมาณ 7-10 วัน
การดูแลเด็กป่วย ให้เช็ดตัวบ่อย ๆ กินยาลดไข้และยาอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง ทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด สามารถรับประทานของเย็นได้ และควรแยกภาชนะสำหรับผู้ป่วย ไม่ใช้ร่วมกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
ใช้ผ้าหรือกระดาษชำระปิดปากเวลาไอ จาม ทิ้งขยะติดเชื้อให้มิดชิดในถังขยะที่มีฝาปิด ผู้ดูแลเด็กป่วยควรล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสกับผู้ป่วย สังเกตอาการเด็กอย่างใกล้ชิดว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่นหรือไม่
โรคอื่น ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในเด็ก
มีอีกหนึ่งโรคที่มาในช่วงหน้าหนาว หรือหน้าฝนคือ โรค RSV ที่มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจในเด็ก อาการ rsv จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหนักกว่าไข้หวัด อาจเป็นเพราะมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย
หากพบว่าลูกป่วยเป็นโรค มือ เท้า ปาก ทางที่ดีที่สุดคือ การหยุดการแพร่เชื้อ หลีกเลี่ยงการพบปะกับเด็กคนอื่น ๆ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ รักษาสุขอนามัย และรักษาอาการตามคำแนะนำของแพทย์
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้