อันตรายอะไรที่ควรต้องทำ ประกันอุบัติเหตุ
เชื่อว่าหลายคนคงคิดไปในแนวทางเดียวกันว่า การทำ ประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันpa เป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม ก็สามารถเคลมจ่ายค่ารักษาในส่วนของอุบัติเหตุได้ ถ้ามีรถยนต์และทำพรบ.รถ หรือประกันเกี่ยวกับรถแล้ว คงไม่ทำประกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่านี่เป็นหลักประกันให้การคุ้มครองมากกว่าที่ใครหลายคนคิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถชน เข้าโรงพยาบาลครอบคลุมไปถึงโรคเจ็บป่วยเล็กน้อย รวมไปถึงการเสียชีวิต ซึ่งเราควรศึกษาไว้ว่าอันตรายใดบ้างที่ ประกันอุบัติเหตุ SCB Protect คุ้มครอง เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ในชีวิตและทรัพย์สิน
ประกันอุบัติเหตุ หรือ ประกันpa “ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล” ปัจจุบันบริษัทประกันหลายเจ้า ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้ง 3 ช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ โดยความเสี่ยงส่วนใหญ่ที่คนภายนอกเข้าใจว่าบริษัทประกันคุ้มครอง มีไม่กี่อย่าง เช่น รถชน เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ เป็นต้น แต่จริง ๆ แล้วให้ความคุ้มครองครอบคลุมไปถึงในโรคที่น้อยคนเข้าใจด้วย เช่น อันตรายจากไฟฟ้า กระดูกหัก และ โรคบ้านหมุน ซึ่งโรคทั้ง 3 อย่าง เป็นอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน พบได้บ่อยและมีความเสี่ยง โดยโรคเหล่านี้ การรอรับการรักษาด้วยสถานพยาบาลของรัฐ อาจไม่ทันการณ์ มีบางกรณีที่ผู้ป่วย กระดูกหัก แต่เลือกเข้ารักษาโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษาค่อนข้างมาก กว่าจะได้รักษาก็เสียเวลาหลายชั่วโมงซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกว่าเดิม
อันตรายจากไฟฟ้า เป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังเช่นกัน เคยมีข่าวที่เกิดขึ้น คือ หม้อแปลงแห่งหนึ่งในกรุงเทพเกิดการระเบิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าระบบไฟฟ้าของประเทศไทยยังมีปัญหา ซึ่งเคสนี้เป็นปัจจัยภายนอกและอันตรายจากไฟฟ้า สามารถเกิดจากปัจจัยภายในบ้านได้อีก นั่นคือ “ไฟฟ้าช็อต” อันอาจเกิดจาก ฉนวนไฟฟ้าชำรุด หรือสายไฟฟ้าขาด รวมทั้งคนครอบครัวก็มีโอกาสเจอกับ “ไฟฟ้าดูด” ได้เช่นกัน หากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เกิดมีปัญหา
โรคบ้านหมุน โรคนี้หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แต่ถ้าพูดว่า โรค “น้ำในหูไม่เท่ากัน” หลายคนก็ต้องรู้จักทันที ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะ ปวดหัว คล้ายมีบ้านหมุน มีหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม หรือความผิดปกติในหู เป็นต้น โดยหากเปิดกรมธรรม์ออกมา จะพบว่า โรคบ้านหมุน อยู่ในกลุ่มโรค OPD และ IPD กล่าวคือหากอาการบ้านหมุนไม่รุนแรงมาก แพทย์วินิจฉัยออกมาว่าไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ก็อยู่กลุ่ม OPD หรือ “ผู้ป่วยนอก” ตรงกันข้ามหากรุนแรงมาก จนต้องนอนโรงพยาบาล จะเป็น IPD หรือ “ผู้ป่วยใน”และตอนนี้ประกันอุบัติเหตุที่ครอบคลุมอันตรายทั้งกระดูก ไฟฟ้าและบ้านหมุน ก็มี SCB protect ที่มีประกันจากหลายบริษัท รวบรวมไว้อยู่ในแอปพลิเคชันเดียว ซึ่งสามารถเลือกได้หลากหลาย ตามความต้องการของผู้ซื้อ มีราคาตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่นบาท
ประกันอุบัติเหตุที่ SCB มีหลากหลายให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้ง กระดูกหัก อันตรายจากไฟฟ้า และ โรคบ้านหมุน รวมทั้งคุ้มครองไปถึงกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ นับว่าครบถ้วนกว่าที่คิด แต่ก็มีบางประกันที่ไม่ครอบคลุมกรณีเสียชีวิตหรือคุ้มครองเพียงแค่อาการพื้นฐานเพียงอย่างเดียว ผู้ซื้อประกันควรอ่านละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อประกัน
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้