ลูกติดเกม แก้อย่างไร ปัญหาคาใจของพ่อแม่ยุคใหม่
เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 18.35 น.
ปัจจุบัน ปัญหาเด็กติดเกม นับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้น การเล่นที่มากเกินไปทำให้เด็กบางคนมีอาการก้าวร้าว ไม่รับผิดชอบ มีปัญหาส่งผลถึงการใช้ชีวิต และมีปัญหาในพัฒนาการทางการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและความก้าวหน้าของโลกออนไลน์ ทำให้เกมกลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับเด็ก แม้เกมจะมีข้อดีมากมายแต่หากเล่นมากเกินไปก็เกิดข้อเสียได้เช่นกัน
สาเหตุของการติดเกม
- การขาดความเอาใจใส่จากผู้ปกครอง พ่อแม่ยุคใหม่มักจะปล่อยให้เด็กอยู่กับโทรศัพท์มือถือมากจนเกินไป ด้วยคิดว่าจะได้เบาแรงในการดูแลลูก เพราะเมื่อเห็นว่าอยู่กับมือถือแล้วเด็กไม่เรียกร้องอะไรทำให้ไม่มีการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เป็นสาเหตุทำให้เด็กขาดที่พึ่งและไร้วินัยในตนเอง
- การเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ง่ายและกว้างขวาง ทำให้เด็กเข้าถึงเกมต่าง ๆ ได้ง่ายเช่นกัน และยังมีชุมชนของเกมออนไลน์ต่าง ๆ ให้เด็กเข้าร่วมได้ง่าย เป็นคอมมูนิตี้ที่ตอบสนองความต้องการของเด็ก
- ความแตกต่างของเด็กแต่ละคน เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการเข้าสังคม หรือมีปัญหาทางการเรียน มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาติดเกมมากกว่าเด็กทั่วไป และเด็กกลุ่มเหล่านี้เสี่ยงต่อการแสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว
วิธีสังเกตว่าลูกมี อาการติดเกม หรือไม่
- ไม่สามารถควบคุมเวลาในการเล่นเกมได้ เล่นเกมต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก ไม่ฟังหรือไม่สนใจทำสิ่งอื่นๆ
- 2. มีพฤติกรรมก้าวร้าว มีอาการโวยวายหรือโมโหขณะเล่นเกม เมื่อถูกสั่งให้เลิกเล่นก็จะแสดงอาการหงุดหงิด ด่าทอ หรือร้ายแรงที่สุดคือทำร้ายร่างกาย ทำลายสิ่งของ
- กระทบต่อหน้าที่ เช่น ไม่สนใจเรียน ผลการเรียนตกต่ำ ไม่ช่วยงานบ้านที่ได้รับมอบหมาย
- มีพฤติกรรมเก็บตัว เด็กเริ่มตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว สนใจเพียงแต่เกมเท่านั้น
การแก้ ปัญหาเด็กติดเกม
หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกมีความเสี่ยงติดเกม Milo แนะควรเร่งป้องกันแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นก่อนที่จะสายเกินไป แต่การแก้ปัญหาก็ต้องมีวิธีการที่เหมาะสม
- สร้างข้อตกลงให้ชัดเจน จำกัดเวลาเล่นเกม โดยต้องกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ลูกสามารถเล่นเกมได้ในแต่ละวัน และต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากลูกทำผิดข้อตกลงต้องมีการตักเตือน และต้องให้ลูกปฏิบัติภารกิจประจำวันให้เสร็จสิ้นก่อนเล่นเกม
- หากิจกรรมที่สามารถทำด้วยกันในครอบครัวได้ จะช่วยให้เด็กออกห่างจากเกมได้ เช่น ไปออกกำลังกาย เล่นกีฬา ทำงานบ้านด้วยกัน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เด็กให้ความสนใจ
- พาลูกไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา หาก ลูกติดเกมก้าวร้าวมาก พ่อแม่ต้องยอมรับว่าลูกมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางจิตใจ และต้องได้รับการบำบัดรักษา การพาลูกไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาไม่ใช่สิ่งที่ผิด ตรงกันข้ามพ่อแม่จะได้ทราบวิธีดูแลลูกให้กลับมามีภาวะจิตใจที่ปกติได้ เพื่อให้เขาเติบโตอย่างมี สุขภาพกายและใจที่ดี Milo เอาใจช่วย ดูเพิ่มเติมที่ https://www.milo.co.th/blog/ปัญหาเด็กติดเกม-วิธีรับมืออย่างสร้างสรรค์
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้