ทักษะ Resilience ( rq ) ทักษะที่ทุกคนควรเรียนรู้ เพื่อพร้อมรับมือในทุกการเปลี่ยนแปลง

waanbotan_

ขีดเขียนเต็มตัว (206)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:255
เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 17.01 น.

ชีวิตของเราเมื่อโตขึ้นมาถึงจุดหนึ่งก็ต่างต้องเผชิญกับ อุปสรรค ความพ่ายแพ้ ความสูญเสีย ความโศกเศร้า ไม่ว่าจะจากการเรียน ความสัมพันธ์ ครอบครัว สุขภาพ การเงิน และการทำงาน ยิ่งเราต้องเจอกับการแข่งขันที่เกิดขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะแข่งกับเวลา กับความคาดหวัง กับคนอื่นหรือแม้แต่ตัวเราได้ ทำให้เราต้องฟื้นฟูสภาพจิตใจตัวเองเพื่อให้เราสามารถดำเนินชึวิตต่อได้ ทักษะที่เราควรมีไว้คือ ทักษะ Resilience ( rq ) จึงกลายเป็นทักษะที่จำเป็นของคนทุกเจเนอเรชันแห่งศตวรรษที่ 21 วันนี้เรามาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่าทักษะ Resilience นั้นคืออะไร

 

ทักษะ resilience คือ อะไร

Resilience เมื่อแปลตรงตัวนั้นคือ การคืนสภาพ หรือในเชิงจิตวิทยาหมายถึง การฟื้นฟูคืนสภาพได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่เลวร้าย ความสูญเสียที่เกิดกับร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ และทรัพย์สิน  โดยการที่เราจะสามารถคืนฟูสภาพจิตใจได้ จะต้องมี Resilience หรือทักษะ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ เพื่อให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ  ไม่จมปลักอยู่กับความผิดพลาด ความล้มเหลว และเรื่องเก่า ๆ ในอดีต มีความสามารถในการเอาตัวออกจากสถานการณ์ที่เลวร้ายได้ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข หรือลุกขึ้นได้หลังจากเรื่องราวเลวร้าย

 

วิธีสร้างทักษะ Resilience ( rq ) มีอะไรบ้าง

  1. การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และคนที่ไว้ใจได้ เพราะมิตรภาพคือแหล่งกำลังใจและแหล่งความรักที่จะคอยสนับสนุน  ให้คำปรึกษา และให้กำลังใจ
  2. ให้ยอมรับในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นแล้ว ตั้งสติและยอมรับว่ามันเกิดขึ้นจริง เพื่อจะได้เตรียมตัววางแผนรับมือและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
  3. หลีกเลี่ยงการมองว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขและรับมือไม่ได้ ขอเพียงมีความเชื่อว่าจะสามารถผ่านพ้นสถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ไปได้ และเชื่อว่าสามารถจัดการกับทุกวิกฤตที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยดี ซึ่งเป็นการสร้างกำลังใจให้ตัวเองมีแรงฮึดลุกขึ้นสู้อีกครั้ง
  4. ตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและลงมือทำเพื่อให้สำเร็จ 

resilience คือ การตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เกินไปสำหรับตัวเอง อาจจะบั่นทอนกำลังใจและทำให้รู้สึกอยากยอมแพ้ระหว่างทาง ดังนั้นควรตั้งเป้าหมายที่เหมาะกับความสามารถของตนเองแล้ววางแผนลงมือทำให้สำเร็จ แต่ถ้าหากมีเป้าหมายที่ใหญ่ขอให้ซอยเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายย่อย ๆ ให้แต่ละช่วงเวลาของเป้าหมายสั้นลง เหมือนกับการขึ้นบันไดไปสู่จุดสูงสุดของตึกที่ต้องก้าวไปทีละก้าว เมื่อก้าวถึงขั้นนี้สำเร็จค่อยก้าวในขั้นต่อ ๆ ไปจนถึงจุดสูงสุดของตึก

  1. มองหาโอกาสและทำความรู้จักตนเองภายหลังความสูญเสีย “ในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส” เป็นคำพูดคลาสสิกที่นำมาใช้ได้เสมอ มองหาให้เจอว่าในวิกฤตมีโอกาสอะไรแฝงตัวอยู่ ในความล้มเหลวสร้างประโยชน์อะไรให้กับตัวเองได้ ทักษะ resilience คือ เช่น ทำให้เข้มแข็งมากขึ้น ทำให้ได้เห็นความรักของครอบครัว เห็นมิตรภาพของเพื่อนที่คอยให้กำลังใจ ทำให้ได้รู้ว่าหนทางนี้ยังไม่เหมาะกับตัวเอง และควรมองหาช่องทางใหม่ ๆ ที่เหมาะกับตัวเอง


อันที่จริงแล้วความล้มเหลวนั้นไม่มีอยู่จริงเหมือนดั่งที่ โทมัส อัลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า “ผมไม่ได้ล้มเหลวหรอก แต่ผมได้ค้นพบวิธีที่ไม่ได้ผลถึง 10,000 วิธีต่างหาก”  ดังนั้น Milo หากความล้มเหลวไม่มีอยู่จริงขอแค่เพียงลุกขึ้นและเดินต่อไปข้างหน้าด้วยความเชื่อมั่นว่าทำได้ “ความสำเร็จ” จะรออยู่ข้างหน้าเสมอ

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา