ต่อ พร บ รถยนต์ ไม่ทันทำอย่างไรดี ขับรถไม่มีพรบ. มีโทษอย่างไร
การ ต่อ พร บ รถยนต์ เป็นเรื่องสำคัญที่คนที่มีรถในครอบครองจะหลงลืมไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายบังคับให้รถทุกคันที่ขับบนถนนจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก มี พ.ร.บ. รถยนต์เป็นหลักประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทันที ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล ทรัพย์สินเสียหาย ไปจนถึงเสียชีวิต หาก พ.ร.บ.ขาด ประกันรถยนต์หมดอายุ ต้องทำอย่างไร หรือขับรถไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ มีโทษหรือผลเสียอย่างไร เรามีคำตอบมาฝากกันดังนี้
ก่อนอื่นจะอธิบายสั้นๆ ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมีเพื่อให้ผู้ที่ประสบภัยจากรถได้รับความคุ้มครองเงินค่ารักษาและค่าสินไหมทดแทน โดยพ.ร.บ. รถยนต์ เป็นการคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคล ไม่ได้ เคลมประกันรถ เจ้าของรถต้องต่ออายุเป็นประจำทุกปีจะปล่อยให้พ.ร.บ. ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว รถทุกชนิดเจ้าของรถต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก่อนจึง ต่อภาษีรถยนต์ และต่อทะเบียนรถได้ โดยเอกสารที่ใช้ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ประกอบด้วย สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนรถ, สำเนาใบขับขี่ และสำเนากรมธรรม์เดิม
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่ทัน มีโทษอย่างไร
การ ต่อ พร บ รถยนต์ ประจำปีเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของรถต้องรู้ แนะนำว่าควรต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าก่อนหมดอายุไม่เกิน 90 วัน หลังจากนั้นจึงนำหลักฐานไปยื่นเรื่อง ต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ในขั้นถัดไป ในกรณีที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่ทันจะเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา แม้ว่าไม่มีค่าปรับในการต่อ พ.ร.บ. อีกครั้ง แต่นำรถออกไปขับบนถนนไม่ได้ หากฝ่าฝืนนำรถไปขับและถูกตำรวจจราจรเรียกตรวจสอบหากพบว่าขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ มีโทษเป็นค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท
การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ อย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อให้รถยนต์วิ่งบนถนนได้อย่างถูกกฎหมาย อัตราเบี้ยประกันรถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 7 คนจ่ายปีละ 600 บาทเท่านั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นวงเงินคนละ 30,000 บาท การสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตวงเงินคนละ 35,000 บาท และวงเงินค่าเสียหายมากขึ้นในกรณีที่อุบัติเหตุเกิดจากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด
สำหรับการต่อประกันภัยภาคสมัครใจ หากต่อไม่ทันไม่มีค่าปรับอะไร แต่ถ้าขับรถบนถนนแล้วเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครอง องจ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมด ดังนั้น ควรเช็คให้แน่ใจว่า ประกันรถยนต์หมดอายุ หรือยัง ในเรื่องการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีก็เช่นกัน จ่ายช้ามีค่าปรับด้วยเพราะการเสียภาษีระบุวันที่ย้อนหลังไม่ได้ เจ้าของรถยนต์หลายคนหลงลืมขาดการต่อภาษีประจำปีเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถยนต์ของคุณจะถูกยกเลิก
เจ้าของรถสามารถ ต่อ พร บ รถยนต์ และซื้อประกันภัยรถยนต์ด้วยการยื่นเอกสารผ่านทางออนไลน์ ซึ่งนับว่าสะดวกรวดเร็วและมีขั้นตอนง่ายๆ ชำระเงินได้หลายช่องทาง รวมถึงชำระเงินทางออนไลน์ ยกเว้นกรณีค้างชำระภาษีเกิน 1 ปีต้องตรวจสภาพรถใหม่ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน นำเอกสารรับรองไปยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งเท่านั้น หลังจากทำความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานแล้วหวังว่าจะเกิดประโยชน์ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และทำประกันรถยนต์ครั้งต่อไป
ชมรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://online.scbprotect.co.th/content/detail?contentId=D9BDF643AA3440DCA8543AD251D928B5
https://online.scbprotect.co.th/motor
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้