ยาเสพติดประเภท 2 เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และผู้ป่วยมะเร็ง
ภายหลังจากที่มีราชกิจจานุเบกษา ได้ออกมาเผยแพร่กฎกระทรวง ที่ได้อนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (เช่น โคเคน-มอร์ฟีน-ฝิ่น ฯลฯ) เพื่อใช้ในการรักษา การศึกษา และประโยชน์ทางราชการ ( อ่านประกาศฉบับเต็ม คลิก ) ก็เกิดการตั้งคำถามในสังคมว่า ประกาศฉบับนี้จะส่งผลดีหรือร้ายต่อสังคมโดยรวมอย่างไร ใครคือผู้ได้รับประโยชน์ แล้วสุดท้าย จะยิ่งทำให้ยาเสพติดเกิดการแพร่กระจายไปในวงกว้างได้ง่ายกว่าเดิมหรือไม่ วันนี้เก็บข้อมูลมาฝากกันค่ะ
ทำความรู้จักกับยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2
“ยาเสพติด” หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรืออาจเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดผลทั้งต่อร่างกาย จิตใจ และเกิดการเสพติดได้ หากมีการใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แบ่งยาเสพติดออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่
1. ประเภท1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่มีใช้ในทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า
2. ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น มอร์ฟีน โคเคน
3. ประเภท 3 ยาเตรียมที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอผสมไอโอดีน
4. ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดประเภท 1 หรือ 2 เช่น สารที่ใช้ในการผลิตเฮโรอีน
5. ประเภท 5 ยาเสพติดที่ไม่จัดอยู่ในประเภท 1-4 เป็นพืช ได้แก่ กัญชา พืชฝิ่น พืชกระท่อม พืชเห็ดขี้ควาย
ยาเสพติดประเภทที่ 2 เอามาใช้ทางการแพทย์อย่างไรได้บ้าง?
ก่อนจะมาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 2 ยาเสพติดส่วนใหญ่จะได้รับการสกัดมาจากยางของผลฝิ่น ซึ่งมีส่วนประกอบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ไม่ว่าจะเป็น
1. ใช้เป็นยาระงับอาการปวดหลัง หรือการผ่าตัดกรณีกระดูกหัก อาการปวดจากแผลไฟไหม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ระงับปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรคมะเร็ง
2. ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสงบ ระงับปวด ง่วงซึมเซาและรู้สึกสบาย
3. ยับยั้งการทำงานของศูนย์ควบคุมการไอได้ จึงใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว
4. ทำให้รู้สึกตื่นตัว พูดมาก เมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้มึนงง นอนไม่หลับ สมองตื่นตัวตลอดเวลา
แม้จะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากได้รับสารเสพติดในปริมาณมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของสารเคมีในสมองและระบบประสาท จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมการใช้งานอย่างเคร่งครัด
ยาเสพติดประเภท 2 อนุญาตให้มีไว้ครอบครองและจำหน่าย กรณีใดบ้าง
เจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตจะพิจารณาออกใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขออนุญาตเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ได้ เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
1. เพื่อการรักษาหรือป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในทางการแพทย์
2. เพื่อการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
3. เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
นอกจากนี้ ผู้ขออนุญาตสามารถยื่นขอใบอนุญาตหากมีความประสงค์ที่จะครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
1. เพื่อการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 (ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติดประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย)
2. เพื่อเป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษา
3. เพื่อการวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
4. เพื่อประโยชน์ของทางราชการ
5. เพื่อใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือหรือเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร
เลือกเสริมความคุ้มครองสุขภาพด้วย “ประกันสุขภาพคุ้มค่า” หรือ “ประกันสุขภาพเอกซ์ตรา” ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จ่ายค่ารักษาตามจริง เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จำกัดจำนวนครั้งให้วุ่นวาย ด้วยวงเงินสูงสุด 500,000 บาท เบี้ยเริ่มต้นเพียง 5,000 บาท/ปี คลิก https://www.smk.co.th/prehealth
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้